บริการให้คำปรึกษารับยื่นวีซ่าประเทศออสเตรเลีย
Australia Visa Service in Thailand
Australia Visa Service in Thailand
NYC Visa Service มีประสบการณ์ในการทำวีซ่าประเทศออสเตรเลีย มาเป็นเวลามากกว่ากว่าสิบปี โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการคำปรึกษาท่านตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย วีซ่าเยี่ยมญาติประเทศออสเตรเลีย วีซ่าเยี่ยมเพื่อนประเทศออสเตรเลีย วีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย วีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย วีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย วีซ่าคู่หมั้นประเทศออสเตรเลีย วีซ่าย้ายถิ่นฐานประเทศออสเตรเลีย วีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย วีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย วีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย วีซ่าฝึกงานประเทศออสเตรเลีย วีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีบริการแปลเอกสารต่างๆ ทุกประเภท นอกจากนี้เรามีบริการให้คำปรึกษาในการยื่นขอวีซ่า วิเคราะห์ปัญหาของผู้ต้องการยื่นวีซ่า ประเมินโอกาสในการยื่นขอวีซ่าของท่านให้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องและเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของผู้ขอยื่นวีซ่า และเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการเราได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เรายังมีบริการเป็นตัวแทนยื่นขอวีซ่าให้กับท่าน เป็นตัวแทนไปรับวีซ่าแทนท่าน และบริการจัดส่งเอกสารสำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัดอีกด้วย
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ NYC Visa Service ซึ่งเป็นเชี่ยวชาญให้บริการทางด้านรับทำวีซ่าและกฎหมายการตรวจคนเข้าเมืองโดยตรงของประเทศออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) เราเปิดให้บริการ รับปรึกษา รับยื่น รับทำ รับยื่นแก้วีซ่าไม่ผ่านทุกประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือทุกท่านให้ได้รับวีซ่าได้ตามต้องการการ กับประเทศที่ต้องการจะเดินทาง จน NYC Visa Service ได้รับความสำเร็จอย่างสูงในการได้รับอนุมัติวีซ่าของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากทางเรามีบริการหลากหลายรูปแบบไว้อำนวยความสะดวกแก่ท่าน มีทีมงานมืออาชีพ เราเปิดให้บริการมายาวนานมากกว่า12 ปี และมีศูนย์บริการอยู่ทั่วประเทศมากถึง 12 ศูนย์ และยังมีการขยายงานเปิดศูนย์เพิ่มเติมทั่วประเทศเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ เราเป็นตัวกลางในการยื่นของวีซ่ากับสถานทูตแต่ล่ะประเทศ สำหรับทุกท่านที่พบปัญหา เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจรูปแบบปัญหาที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด จึงทำให้ท่านประหยัดเวลา รวมไปถึงความแน่นอนในการได้รับวีซ่า
จากการที่ NYC Visa Service มีความชำนาญในเรื่องกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองของประเทศออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) จึงทำให้ได้รับการอนุมัติวีซ่าเร็วและง่ายขึ้น จึงพร้อมดำเนินการให้แก่ท่าน ตั้งแต่จัดเตรียมเอกสาร ประเมินแนะนำขั้นตอน พร้อมแก้ปัญหาที่จะเกิด การเตรียมตัว รวมไปถึงดูแลยื่นเอกสารที่สถานทูตในแต่ล่ะประเทศ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เราสามารถให้คำปรึกษา และบริการยื่นวีซ่าให้คุณได้
NYC Visa Service เป็นบริษัทที่รับทำวีซ่าทุกประเภท อาทิ เชงเก้นวีซ่า (Schengen visa), วีซ่าประเทศอเมริกา วีซ่าประเทศอังกฤษ วีซ่าประเทศออสเตรเลีย วีซ่าประเทศฝรั่งเศส วีซ่าประเทศสวีเดน วีซ่าประเทศเยอรมัน วีซ่าประเทศอิตาลี วีซ่าประเทศนิวซีแลนด์ วีซ่าประเทศนอร์เวย์ วีซ่าประเทศฟินแลนด์ วีซ่าประเทศออสเตรีย วีซ่าสเปน วีซ่าประเทศเดนมาร์ วีซ่าประเทศเนเธอร์แลนด์ วีซ่าประเทศโปแลนด์ วีซ่าประเทศฟินแลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศนอร์เวย์ รับยื่นวีซ่าประเทศเบลเยียม รับยื่นวีซ่าประเทศโปรตุเกส รับยื่นวีซ่าประเทศกรีซ รับยื่นวีซ่าประเทศโครเอเชีย รับยื่นวีซ่าประเทศเช็ก รับยื่นวีซ่าประเทศฟินแลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศมอลโดวา รับยื่นวีซ่าประเทศมอลตา รับยื่นวีซ่าประเทศมาซิโดเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศยูเครน รับยื่นวีซ่าประเทศรัสเซีย รับยื่นวีซ่าประเทศโรมาเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศลักเซมเบิร์กรับยื่นวีซ่าประเทศลัตเวีย รับยื่นวีซ่าประเทศลิทัวเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศสวีเดน รับยื่นวีซ่าประเทศออสเตรีย รับยื่นวีซ่าประเทศอิตาลี รับยื่นวีซ่าประเทศไอซ์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศไอร์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศฮังการี วีซ่าออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) เป็นต้น นอกจากนี้เรายังมีบริการรับแปลเอกสาร บริการรับรองเอกสารภาษาอื่น ๆ บริการประกันการเดินทาง และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย
NYC Visa Service มีประสบการณ์ในการทำวีซ่ามาเป็นเวลามากกว่ากว่าสิบปี โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการคำปรึกษาท่านตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าเยี่ยมญาติ วีซ่าเยี่ยมเพื่อน วีซ่านักเรียน วีซ่าถาวร วีซ่าแต่งงาน วีซ่าคู่หมั้น วีซ่าย้ายถิ่นฐาน วีซ่าติดตาม วีซ่าทำงาน วีซ่าดูงาน วีซ่าฝึกงาน วีซ่าธุรกิจ ประเทศออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) นอกจากนี้ยังมีบริการแปลเอกสารต่าง ๆ ทุกประเภท นอกจากนี้เรามีบริการให้คำปรึกษาในการยื่นขอวีซ่า วิเคราะห์ปัญหาของผู้ต้องการยื่นวีซ่า ประเมินโอกาสในการยื่นขอวีซ่าของท่านให้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องและเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของผู้ขอยื่นวีซ่า และเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการเราได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เรายังมีบริการเป็นตัวแทนยื่นขอวีซ่าให้กับท่าน เป็นตัวแทนไปรับวีซ่าแทนท่าน และบริการจัดส่งเอกสารสำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัดอีกด้วย ให้ NYC Visa Service ของเราเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลการดำเนินการขอยื่นวีซ่าออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) ของท่าน ทีมงานของเราจะดูแลตั้งแต่ปัญหาพื้นฐาน การจัดเตรียมเอกสาร เป็นตัวแทนเพื่อยื่นขอวีซ่าของคุณ เราจะดูแลและติดตามผลหลังการให้บริการอย่างดีที่สุด
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ NYC Visa Service ซึ่งเป็นเชี่ยวชาญให้บริการทางด้านรับทำวีซ่าและกฎหมายการตรวจคนเข้าเมืองโดยตรงของประเทศออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) เราเปิดให้บริการ รับปรึกษา รับยื่น รับทำ รับยื่นแก้วีซ่าไม่ผ่านทุกประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือทุกท่านให้ได้รับวีซ่าได้ตามต้องการการ กับประเทศที่ต้องการจะเดินทาง จน NYC Visa Service ได้รับความสำเร็จอย่างสูงในการได้รับอนุมัติวีซ่าของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากทางเรามีบริการหลากหลายรูปแบบไว้อำนวยความสะดวกแก่ท่าน มีทีมงานมืออาชีพ เราเปิดให้บริการมายาวนานมากกว่า12 ปี และมีศูนย์บริการอยู่ทั่วประเทศมากถึง 12 ศูนย์ และยังมีการขยายงานเปิดศูนย์เพิ่มเติมทั่วประเทศเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ เราเป็นตัวกลางในการยื่นของวีซ่ากับสถานทูตแต่ล่ะประเทศ สำหรับทุกท่านที่พบปัญหา เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจรูปแบบปัญหาที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด จึงทำให้ท่านประหยัดเวลา รวมไปถึงความแน่นอนในการได้รับวีซ่า
จากการที่ NYC Visa Service มีความชำนาญในเรื่องกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองของประเทศออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) จึงทำให้ได้รับการอนุมัติวีซ่าเร็วและง่ายขึ้น จึงพร้อมดำเนินการให้แก่ท่าน ตั้งแต่จัดเตรียมเอกสาร ประเมินแนะนำขั้นตอน พร้อมแก้ปัญหาที่จะเกิด การเตรียมตัว รวมไปถึงดูแลยื่นเอกสารที่สถานทูตในแต่ล่ะประเทศ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เราสามารถให้คำปรึกษา และบริการยื่นวีซ่าให้คุณได้
NYC Visa Service เป็นบริษัทที่รับทำวีซ่าทุกประเภท อาทิ เชงเก้นวีซ่า (Schengen visa), วีซ่าประเทศอเมริกา วีซ่าประเทศอังกฤษ วีซ่าประเทศออสเตรเลีย วีซ่าประเทศฝรั่งเศส วีซ่าประเทศสวีเดน วีซ่าประเทศเยอรมัน วีซ่าประเทศอิตาลี วีซ่าประเทศนิวซีแลนด์ วีซ่าประเทศนอร์เวย์ วีซ่าประเทศฟินแลนด์ วีซ่าประเทศออสเตรีย วีซ่าสเปน วีซ่าประเทศเดนมาร์ วีซ่าประเทศเนเธอร์แลนด์ วีซ่าประเทศโปแลนด์ วีซ่าประเทศฟินแลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศนอร์เวย์ รับยื่นวีซ่าประเทศเบลเยียม รับยื่นวีซ่าประเทศโปรตุเกส รับยื่นวีซ่าประเทศกรีซ รับยื่นวีซ่าประเทศโครเอเชีย รับยื่นวีซ่าประเทศเช็ก รับยื่นวีซ่าประเทศฟินแลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศมอลโดวา รับยื่นวีซ่าประเทศมอลตา รับยื่นวีซ่าประเทศมาซิโดเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศยูเครน รับยื่นวีซ่าประเทศรัสเซีย รับยื่นวีซ่าประเทศโรมาเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศลักเซมเบิร์กรับยื่นวีซ่าประเทศลัตเวีย รับยื่นวีซ่าประเทศลิทัวเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศสวีเดน รับยื่นวีซ่าประเทศออสเตรีย รับยื่นวีซ่าประเทศอิตาลี รับยื่นวีซ่าประเทศไอซ์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศไอร์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศฮังการี วีซ่าออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) เป็นต้น นอกจากนี้เรายังมีบริการรับแปลเอกสาร บริการรับรองเอกสารภาษาอื่น ๆ บริการประกันการเดินทาง และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย
NYC Visa Service มีประสบการณ์ในการทำวีซ่ามาเป็นเวลามากกว่ากว่าสิบปี โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการคำปรึกษาท่านตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าเยี่ยมญาติ วีซ่าเยี่ยมเพื่อน วีซ่านักเรียน วีซ่าถาวร วีซ่าแต่งงาน วีซ่าคู่หมั้น วีซ่าย้ายถิ่นฐาน วีซ่าติดตาม วีซ่าทำงาน วีซ่าดูงาน วีซ่าฝึกงาน วีซ่าธุรกิจ ประเทศออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) นอกจากนี้ยังมีบริการแปลเอกสารต่าง ๆ ทุกประเภท นอกจากนี้เรามีบริการให้คำปรึกษาในการยื่นขอวีซ่า วิเคราะห์ปัญหาของผู้ต้องการยื่นวีซ่า ประเมินโอกาสในการยื่นขอวีซ่าของท่านให้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องและเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของผู้ขอยื่นวีซ่า และเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการเราได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เรายังมีบริการเป็นตัวแทนยื่นขอวีซ่าให้กับท่าน เป็นตัวแทนไปรับวีซ่าแทนท่าน และบริการจัดส่งเอกสารสำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัดอีกด้วย ให้ NYC Visa Service ของเราเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลการดำเนินการขอยื่นวีซ่าออสเตรเลีย (Australia Visa Service in Thailand) ของท่าน ทีมงานของเราจะดูแลตั้งแต่ปัญหาพื้นฐาน การจัดเตรียมเอกสาร เป็นตัวแทนเพื่อยื่นขอวีซ่าของคุณ เราจะดูแลและติดตามผลหลังการให้บริการอย่างดีที่สุด
ประเทศออสเตรเลียจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia)[5] เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้
เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี[6] ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,[7][8] ประเทศออสเตรเลียเป็นที่อยู่อาศัยของชาวออสเตรเลียพื้นเมือง[9] ที่พูดภาษาที่แบ่งออกได้เป็นกลุ่มประมาณ 250 ภาษา.[10][11] หลังจากการค้นพบของทวีปโดยนักสำรวจชาวดัตช์ในปี ค.ศ. 1606, ครึ่งหนึ่งของฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียถูกอ้างว่าเป็นของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1770 และตั้งรกรากในขั้นต้นโดยการขนส่งนักโทษมายังอาณานิคมของนิวเซาธ์เวลส์จากวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1788 จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ผ่านมา ทวีปถูกสำรวจ และอีกห้าอาณานิคมปกครองตนเองของพระมหากษัตริย์ถูกจัดตั้งขึ้น
เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1901 หกอาณานิคมถูกตั้งขึ้นเป็นสหพันธ์, รวมตัวกันเป็นเครือรัฐออสเตรเลีย. ตั้งแต่นั้นมา ออสเตรเลียยังคงรักษาระบบการเมืองเสรีนิยมประชาธิปไตยที่มั่นคง ที่ ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาประชาธิปไตยของรัฐบาลกลางและพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ สหพันธ์ประกอบด้วยหกรัฐ และอีกหลายพื้นที่ ประชากร 23.1 ล้านคน[12] อยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่และมีความหนาแน่นอย่างมากในรัฐทางตะวันออก[13]
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกที่มีเศรษฐกิจ ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ในปี ค.ศ. 2012 ออสเตรเลียมีรายได้ต่อหัวที่สูงที่สุดอันดับห้าของโลก[14] ค่าใช้จ่ายทางทหารของออสเตรเลียมากที่สุดเป็นอันดับที่ 13 ของโลก ด้วยดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่สูงที่สุดอันดับที่สองทั่วโลก, ออสเตรเลียถูกจัดอันดับที่สูงในการเปรียบเทียบระหว่างประเทศจำนวนมากของประสิทธิภาพการทำงานในระดับชาติ เช่น คุณภาพชีวิต, สุขภาพ, การศึกษา, เสรีภาพทางเศรษฐกิจ, และการปกป้องเสรีภาพของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง.[15] ออสเตรเลียเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ, G20, เครือจักรภพแห่งชาติ, ANZUS, องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD), องค์การการค้าโลก, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกและหมู่เกาะแปซิฟิกฟอรั่ม
เนื้อหา
เขตภูมิอากาศในประเทศออสเตรเลีย ตามการแบ่งประเภทภูมิอากาศ Köppenประเทศออสเตรเลียขนาด 7,617,930 ตารางกิโลเมตร (2,941,300 ตารางไมล์)[16] ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลก อินโด-ออสเตรเลีย ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดียทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันออก[N 1] มัน ถูกแยกออกจากเอเชียโดยทะเลอาราฟูรา และทะเลติมอร์ ที่มีแนวปะการังทะเล นอนอยู่นอกชายฝั่งรัฐควีนส์แลนด์, และทะเลแทสมันนอนอยู่ระหว่างประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จัดเป็นทวีปเล็กที่สุดในโลก[18] และอันดับหกของประเทศที่ใหญ่ที่สุดโดยพื้นที่ทั้งหมด,[19] ออสเตรเลีย เนื่องจากขนาดและโดดเดี่ยว มักจะถูกขนานนามว่า "ทวีปเกาะ"[20] และบางครั้งถือว่าเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก[21] ประเทศออสเตรเลียมีชายฝั่งยาว 34,218 กิโลเมตร (21,262 ไมล์) (ไม่รวมเกาะนอกชายฝั่งทั้งหมด)[22] และอ้างสิทธิเหนือเขตเศรษฐกิจพิเศษขนาด 8,148,250 ตารางกิโลเมตร (3,146,060 ตารางไมล์) เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ไม่รวมถึงดินแดนขั้วโลกใต้ของออสเตรเลีย[23] และไม่รวม Macquarie Island ออสเตรเลียอยู่ระหว่างละติจูด 9° และ 44°S, และ ลองจิจูด 112° และ 154°E
Great Barrier Reef แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก[24] อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือและขยายไปยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร (1,240 ไมล์). ภูเขาออกัสตัส, อ้างว่าเป็นหินใหญ่ก้อนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก[25] ตั้งอยู่ในออสเตรเลียตะวันตก. ที่ความสูง 2,228 เมตร (7,310 ฟุต) ภูเขา Kosciuszko บน Great Dividing Range เป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย แม้ว่าที่สูงกว่าคือ Mawson Peak (ที่ 2,745 เมตรหรือ 9,006 ฟุต), บนดินแดนที่ห่างไกลของออสเตรเลียที่เรียกว่า Heard Island, และใน Australian Antarctic Territory, ภูเขา McClintock และภูเขา Menzies ที่ความสูง 3,492 เมตร (11,457 ฟุต) และ 3,355 เมตร (11,007 ฟุต) ตามลำดับ.[26]
Everlastings บนภูเขา Hotham ตั้งอยู่ในรัฐวิกตอเรียเนื่องด้วยขนาดที่กว้างขวางของประเทศออสเตรเลียส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางภูมิประเทศ, ที่มีป่าฝนเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูเขาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันออก และทะเลทรายแห้งในภาคกลาง.[27] มันเป็นทวีปที่ราบเรียบ[28] ที่มีผืนดินที่เก่าแก่ที่สุดและดินอุดมสมบูรณ์นัอยที่สุด[29][30] ทะเลทรายหรือที่ดินกึ่งแห้งแล้งที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นชนบททำให้เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของที่ดิน[31] ทวีปที่มีอาศัยอยู่ที่แห้งที่สุด เฉพาะทางตะวันออกเฉียงใต้และมุมทางตะวันตกเฉียงใต้เท่านั้นที่มีอากาศเย็น.[32]ความหนาแน่นของประชากร, ที่ 2.8 ประชากรต่อตารางกิโลเมตร, อยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก[33] ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของประชากรจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอุณหภูมิดีพอสมควร[34]
ภาคตะวันออกของออสเตรเลียถูกทำเครื่องหมายโดย Great Dividing Range ที่วิ่งขนานไปกับ ชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์, นิวเซาธ์เวลส์และบริเวณกว้างใหญ่ของวิกตอเรีย ชื่อ Great Dividing Range นี้ไม่ถูกต้องเท่าไร เพราะหลายส่วนของแนวเขา ประกอบด้วยเนินเขาเตี้ย ๆ และที่ราบสูงมักจะสูงไม่เกิน 1,600 เมตร (5,249 ฟุต).[35] บริเวณที่สูงชายฝั่งและเข็มขัดของทุ่งหญ้า Brigalow อยู่ระหว่างชายฝั่งและภูเขา ในขณะที่แผ่นดินด้านในของ dividing range เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ของทุ่งหญ้า.[35][36] เหล่านี้รวมถึงที่ราบทางตะวันตกของนิวเซาธ์เวลส์ และ Einasleigh Uplands, Barkly Tableland และ Mulga Lands ของรัฐควีนส์แลนด์ จุด เหนือสุดของชายฝั่งตะวันออกเป็นคาบสมุทร Cape York ที่เป็นเขตป่าฝนเขตร้อน.[37][38][39][40]
แผนที่แสดงภูมิประเทศของออสเตรเลีย แสดงให้เห็นระดับความสูงบางระดับในภาคตะวันตกและระดับความสูงมากในกลุ่มภูเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ภูมิทัศน์ทางตอนเหนือของประเทศที่เรียกว่า the Top End และ the Gulf Country ด้านหลัง the Gulf of Carpentaria ที่มีภูมิอากาศเขตร้อน ประกอบด้วย ป่าไม้, ทุ่งหญ้า และทะเลทราย.[41][42][43] ที่มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปมีหน้าผาหินทราย และ ซอกเขา ของ คิมเบอร์ลีและ ด้านล่างเป็น Pilbara ไปทางใต้ของบริเวณเหล่านี้และเข้าไปในแผ่นดิน จะมีพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้ามากขึ้น ที่มีชื่อว่า the Ord Victoria Plain และ the Western Australian Mulga shrublands.[44][45][46] ที่ใจกลางของประเทศ มี พื้นที่สูงของภาคกลางออสเตรเลีย; ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นของภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศรวมถึงในแผ่นดินซิมป์สัน, Tirari และ Sturt Stony, กิบสัน, Great Sandy, Tanami และทะเลทราย Great Victoria ที่มีที่ราบ Nullarbor ที่มีชื่อเสียงบนชายฝั่งตอนใต้.[47][48][49][50]
สภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียได้รับอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจากกระแสน้ำในมหาสมุทร รวมทั้ง Dipole และ El Niño–Southern Oscillation จากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ ความแห้งแล้งตามฤดู และ ระบบความดันต่ำในเขตร้อนตามฤดูกาลที่ผลิตพายุไซโคลนในภาคเหนือของออสเตรเลีย.[51][52] ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนที่จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดจากปีต่อปี พื้นที่จำนวนมากทางตอนเหนือของประเทศมีสภาพภูมิอากาศเขตร้อน, ส่วนใหญ่เป็นฝนฤดูร้อน (มรสุม).[53] มุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมีภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียน.[54] พื้นที่จำนวนมากของตะวันออกเฉียงใต้(รวมทั้ง แทสเมเนีย) เป็นเมืองหนาว.[53]
ประวัติศาสตร์ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย
แผนที่ประเทศออสเตรเลียที่มีลูกศรเป็นสีต่างๆแสดงเส้นทางของนักสำรวจตอนต้นรอบๆชายฝั่งของออสเตรเลียและเกาะรอบๆ การสำรวจของบริเวณที่แต่ก่อนเรียกว่า New Holland โดยชาวยุโรปจนถึงปี 1812
1606 Willem Janszoon
1606 Luis Váez de Torres
1616 Dirk Hartog
1619 Frederick de Houtman
≥≥≈≈≈
1644 Abel Tasman
1696 Willem de Vlamingh
1699 William Dampier
1770 James Cook
1797–1799 George Bass
1801–1803 Matthew Flinders
ภาพเขียนของกัปตัน James Cook, ชาวยุโรปคนแรกที่ทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1770ชนพื้นเมืองในออสเตรเลียก่อนการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป คือชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอร์เรสสเทรต ซึ่งชนเหล่านี้มีภาษาแตกต่างกันนับร้อยภาษา[55] ประมาณการว่า มีชาวอะบอริจินมากกว่า 780,000 คนอยู่ในออสเตรเลียในปีพ.ศ. 2331[56]
การตั้งถิ่นฐาน
ซิดนีย์ 1894การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1606 เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน Willem Janszoon ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย ระหว่างปี ค.ศ. 1606 และ ค.ศ. 1770 มีเรือของชาวยุโรปประมาณ 54 ลำจากหลายชาติเดินทางมาที่ออสเตรเลีย ซึ่งรู้จักในขณะนั้นว่านิวฮอลแลนด์[57] ในปีค.ศ. 1770 เจมส์ คุก เดินทางมาสำรวจออสเตรเลียและทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย และได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรให้ชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ต่อมาสหราชอาณาจักรใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคม[57] กองเรือชุดแรกเดินทางมาถึงออสเตรเลียที่อ่าวซิดนีย์ในปี ค.ศ. 1787 ในวันที่ 26 มกราคม (ค.ศ. 1788) ซึ่งต่อมาเป็นวันออสเตรเลีย ผู้ตั้งถิ่นฐานยุคแรกส่วนใหญ่เป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร โดยมีผู้อพยพเสรีเริ่มเข้ามาในปี ค.ศ. 1793 มีการตั้งถิ่นฐานบนเกาะแทสเมเนีย หรือชื่อในขณะนั้นคือฟานไดเมนส์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1803 และตั้งเป็นอาณานิคมแยกอีกแห่งหนึ่งในปี ค.ศ. 1825 สหราชอาณาจักรประกาศสิทธิในฝั่งตะวันตกในปี ค.ศ. 1829 และเริ่มมีการตั้งอาณานิคมแยกขึ้นมาอีกหลายแห่ง ได้แก่เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ โดยแยกออกมาจากนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลียไม่เคยเป็นอาณานิคมนักโทษ[57] ในขณะที่วิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลียยอมรับการขนส่งนักโทษภายหลัง[58][59] เรือนักโทษลำสุดท้ายมาถึงนิวเซาท์เวลส์ในปี 1848 หลังจากการรณรงค์ยกเลิกโดยกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐาน[60] การขนส่งนักโทษยุติอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2396 ในนิวเซาท์เวลส์และแทสเมเนีย และปี ค.ศ. 1868 ในเวสเทิร์นออสเตรเลีย[58]
ปี ค.ศ. 1851 เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ค้นพบสายแร่ทอง ในที่ ๆ เขาตั้งชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir) ในนิวเซาท์เวลส์ ทำให้เกิดยุคตื่นทอง นำคนจำนวนมากเดินทางมาออสเตรเลีย[61] ในปีค.ศ. 1901 หกอาณานิคมในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐในชื่อเครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) ประกอบด้วยรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย รวมหกรัฐเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งเดียว เฟเดอรัลแคพิทัลเทร์ริทอรีก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1911 เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐ จากส่วนหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ บริเวณแยส-แคนเบอร์รา และเริ่มดำเนินงานรัฐสภาในแคนเบอร์ราในปี ค.ศ. 1927[62] ในปี ค.ศ. 1911 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี แยกตัวออกมาจากเซาท์ออสเตรเลีย และเข้าเป็นดินแดนในกำกับของสหพันธ์ ออสเตรเลียสมัครใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมถึง 60,000 คนจากประชากรชายน้อยกว่าสามล้านคน[55]
การปกครองตนเอง
พิธีเปิดรัฐสภาแห่งออสเตรเลียออสเตรเลียประกาศใช้บทกฎหมายเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 ในปี ค.ศ. 1942 โดยมีผลบังคับใช้ย้อนไปตั้งแต่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939[63] ซึ่งเป็นการยุติบทบาทนิติบัญญัติของสหราชอาณาจักรในออสเตรเลียเกือบทั้งหมด ในสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียประกาศสงครามกับเยอรมนีพร้อมกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส หลังจากเยอรมนีบุกโปแลนด์[64] ออสเตรเลียส่งทหารเข้าร่วมสมรภูมิในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ แผ่นดินออสเตรเลียโดนโจมตีโดยตรงครั้งแรกจากการเข้าตีโฉบฉวยทางอากาศของญี่ปุ่นที่ดาร์วิน[65] ออสเตรเลียยุตินโยบายออสเตรเลียขาว โดยดำเนินการขั้นสุดท้ายในปีค.ศ. 1973[66] พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) ยกเลิกบทบาทของสหราชอาณาจักรในอำนาจนิติบัญญัติและตุลาการของออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ในปี ค.ศ. 1999 ออสเตรเลียจัดการลงประชามติ ว่าจะให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งคะแนนเสียงเกือบ 55% ลงคะแนนปฏิเสธ[67]
การเมืองการปกครองออสเตรเลียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประมุขแห่งรัฐของออสเตรเลียคือพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 พระอิสริยยศในออสเตรเลียคือ Elizabeth the Second, by the Grace of God Queen of Australia and Her other Realms and Territories, Head of the Commonwealth[68]
ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า "อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินีนาถ และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถ"[69] อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย[69] ในทางธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของรัฐมนตรี[70] สภาบริหารสหพันธรัฐ (Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธานการประชุม และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติจะเรียกประชุมเฉพาะรัฐมนตรีคณะปัจจุบัน[71] รัฐบาลจะมาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
บริหารกระทรวง
ลำดับที่ชื่อกระทรวงภาษาไทยชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ
1กระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำDepartment of Agriculture and Water Resources
2สำนักอัยการสูงสุดAttorney-General's Department
3กระทรวงการสื่อสารและศิลปกรรมDepartment of Communications and the Arts
4กระทรวงกลาโหมDepartment of Defence
5กระทรวงศึกษาธิการและการฝึกอบรมDepartment of Education and Training
6กระทรวงการจัดหางานDepartment of Employment
7กระทรวงสิ่งแวดล้อมDepartment of the Environment
8กระทรวงการคลังDepartment of Finance
9กระทรวงการต่างประเทศและการค้าDepartment of Foreign Affairs and Trade
10กระทรวงสาธารณสุขDepartment of Health
11กระทรวงบริการมนุษย์Department of Human Services
12กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและป้องกันชายแดนDepartment of Immigration and Border Protection
13กระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาภูมิภาคDepartment of Infrastructure and Regional Development
14กระทรวงอุตสาหกรรม นวัตกรรม และวิทยาศาสตร์Department of Industry, Innovation and Science
15สำนักนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีDepartment of the Prime Minister and Cabinet
16กระทรวงประชาสงเคราะห์Department of Social Services
17กระทรวงธนารักษ์Department of the Treasury
18กระทรวงกิจการทหารผ่านศึกDepartment of Veterans' Affairsนิติบัญญัติ
อาคารรัฐสภาในแคนเบอร์รา เปิดใช้แทนอาคารหลังเดิมในปี พ.ศ. 2531
ดูบทความหลักที่: รัฐสภาออสเตรเลีย
ดูหน้าหลักที่: หมวดหมู่:การเลือกตั้งในออสเตรเลียออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง หนึ่งสภาของสหพันธ์ หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของแต่ละดินแดน รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี) ละสองคน[72] ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด
ออสเตรเลียมีพรรคการเมืองหลักสามพรรค ได้แก่พรรคแรงงานออสเตรเลีย พรรคเสรีนิยม และพรรคชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 รัฐบาลของสหพันธ์มาจากพรรคแรงงานหรือเป็นรัฐบาลผสมของพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ[73] ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีแมลคัม เทิร์นบุลล์ มาจากพรรคเสรีนิยม พรรคอื่น ๆ ที่มีบทบาทได้แก่ออสเตรเลียนเดโมแครต และออสเตรเลียนกรีนส์ โดยมักได้ที่นั่งในวุฒิสภา
ตุลาการดูบทความหลักที่: ระบบกฎหมายออสเตรเลียการบังคับใช้กฎหมายส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้สถานการณ์การเมืองส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้รัฐและดินแดนดูบทความหลักที่: รัฐและดินแดนของออสเตรเลีย
แผนที่รัฐและดินแดนของออสเตรเลียออสเตรเลียแบ่งออกเป็น 6 รัฐ ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีดินแดนหลัก ๆ บนแผ่นดินใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (เขตเมืองหลวง) และดินแดนเล็กน้อยอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว ดินแดนนั้นมีลักษณะเดียวกับรัฐ แต่รัฐสภากลางสามารถค้านกฎหมายใดก็ได้จากสภาของดินแดน [74]ในขณะที่ในระดับรัฐ กฎหมายสหพันธ์จะค้านกับกฎหมายรัฐได้เพียงในบางด้านตามมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติอื่น ๆ นั้นเป็นของรัฐสภาของแต่ละรัฐ
แต่ละรัฐและดินแดนมีสภานิติบัญญัติของตัวเอง โดยในควีนสแลนด์และดินแดนทั้งสองแห่งเป็นลักษณะสภาเดี่ยว ในขณะที่ในรัฐที่เหลือเป็นแบบสภาคู่ สมเด็จพระราชินีมีผู้แทนพระองค์ในแต่ละรัฐ เรียกว่า "governor" และในนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรี administrator ส่วนในเขตเมืองหลวง ใช้ผู้แทนพระองค์ของเครือรัฐ (governor-general)
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทหารดูบทความหลักที่: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรเลีย และ กองทัพออสเตรเลียกว่าทศวรรษที่ผ่านมา, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรเลียได้รับการผลักดันจากการใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาผ่านข้อตกลง ANZUS, และความปรารถนาที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับ เอเชียและแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่าน ASEAN และ หมู่เกาะแปซิฟิกฟอรั่ม. ในปี ค.ศ. 2005 ออสเตรเลียมีนั่งในการเปิดประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ต่อจากการเข้าร่วมกับ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, และในปี ค.ศ. 2011 เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งที่หกในอินโดนีเซีย. ออสเตรเลียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติในที่ซึ่งการประชุมของห้วหน้ารัฐบาลของกลุ่มเครือจักรภพได้กำหนดฟอรั่มหลักสำหรับการทำงานร่วมกัน.[75]
กลุ่มของทหารออสเตรเลียพร้อมปืนไรเฟิลส์เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางในพื้นที่ป่า, ทหารกองทัพออสเตรเลียดำเนินการลาดตระเวนเดินเท้าระหว่างการฝึกซ้อมร่วมกับกองกำลังสหรัฐใน Shoalwater เบย์ (2007)ออสเตรเลียได้ติดตามสาเหตุของการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ.[76][77][78] มันได้นำการก่อตัวของกลุ่มแครนส์ และ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก.[79][80] ออสเตรเลียเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และองค์การการค้าโลก[81][82] และมีการดำเนินการที่สำคัญหลายอย่างตาม ข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี, ได้แก่ออสเตรเลีย กับ ข้อตกลงการค้าเสรีของสหรัฐ[83] และ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับนิวซีแลนด์[84] ข้อตกลงการค้าเสรีอื่น ๆ ที่กำลังเจรจาต่อรองกับจีน ได้แก่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-จีน และ กับญี่ปุ่น[85] กับเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 2011[86][87] ข้อตกลงเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-ชิลี, เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์, และหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจทรานส์-แปซิฟิก
พร้อมกับนิวซีแลนด์, สหราชอาณาจักร, มาเลเซียและสิงคโปร์, ออสเตรเลียเป็นภาคี การเตรียมการห้ากำลังป้องกัน ซึ่งเป็นข้อตกลงในระดับภูมิภาค ประเทศสมาชิกที่จัดตั้งของสหประชาชาติ, ออสเตรเลียมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะเป็นพหุภาคี[88] และรักษาโปรแกรมความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ภายใต้โปรแกรมซึ่งมี 60 ประเทศได้รับความช่วยเหลือ งบประมาณปี ค.ศ. 2005-06 จัดให้ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อความช่วยเหลือการพัฒนา[89]. ออสเตรเลียอยู่ในอันดับเจ็ดโดยรวมด้านดัชนีความมุ่งมั่นในการพัฒนาปี 2008ของศูนย์การพัฒนาทั่วโลก.[90]
กองกำลังติดอาวุธของออสเตรเลียชื่อ the Australian Defence Force (ADF) ประกอบด้วยราชนาวีออสเตรเลีย (RAN), กองทัพออสเตรเลียและกองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF), รวม จำนวน 80,561 นาย (รวม 55,068 ประจำการ และ 25,493 กองหนุน).[91]บทบาทในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดตกเป็นของข้าหลวงใหญ่, ผู้แต่งตั้งหัวหน้ากองกำลังป้องกัน จากหนึ่งในบริการที่ติดอาวุธ ตามคำแนะนำของรัฐบาล.[92] การดำเนินการของกองกำลังวันต่อวันอยู่ภายใต้คำสั่งของผู้บัญชากสรทหารสูงสุด ในขณะที่ การบริหารงานในวงกว้าง และการกำหนดนโยบายการป้องกันมีการดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและกรมกลาโหม
ในงบประมาณปี ค.ศ. 2010-11, การใช้จ่ายด้านการป้องกันมีจำนวน A$ 25.7 พันล้าน[93] เป็นอันดับที่ 13 ของงบประมาณกลาโหมที่ใหญ่ที่สุด[94] ออสเตรเลียได้มีส่วนร่วมในการรักษาสันติภาพ, การบรรเทาภัยพิบัติและความขัดแย้งที่ใช้อาวุธของสหประชาชาติและของภูมิภาค ปัจจุบันได้มีการวางกำลังประมาณ 3,330 บุคลากรกองกำลังการป้องกันที่แตกต่างกันในด้านความจุไปที่ 12 การดำเนินงานระหว่างประเทศในพื้นที่รวมทั้งติมอร์-เลสเต, หมู่เกาะโซโลมอน และอัฟกานิสถาน[95]
สิ่งแวดล้อมบทความหลัก: สิ่งแวดล้อมของออสเตรเลีย
ดูเพิ่มเติม: สัตว์ของออสเตรเลีย, ฟลอราของออสเตรเลียและ เชื้อราของออสเตรเลีย
แม้ว่าส่วนใหญ่ของออสเตรเลียเป็นกึ่งแห้งแล้ง หรือทะเลทราย, มันจะมีความหลากหลายของ แหล่งที่อยู่อาศัยตั้งแต่ต้นไม้เตี้ยเป็นพุ่มที่ขึ้นตามทุ่งแบบอัลไพน์จนถึงป่าฝนเขตร้อน และได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นประเทศ megadiverse. เชื้อราเป็นสัญลักษณ์ความหลากหลายนั้น จำนวนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย รวมถึงพวกที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบ มีการคาดการณ์ ที่ประมาณ 250,000 ชนิด, ในจำนวนนั้นมีประมาณ 5% ที่สามารถอธิบายได้.[96] เพราะความเก่าแก่ของทวีป รูปแบบสภาพอากาศแปรเปลี่ยนอย่างสุดขั้วและการอยู่โดดเดียวทางภูมิศาสตร์ในระยะยาว, สิ่งมีชีวิตในออสเตรเลียจำนวนมากจึงเป็นเอกลักษณ์และมีความหลากหลาย. ประมาณ 85% ของพืชดอก, 84% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, กว่า 45% ของนกและ 89% ของสัตว์บก, ปลาโซนเย็น เป็นของประจำถิ่น.[97] ออสเตรเลียมีสัตว์เลื้อยคลานจำนวนมากที่สุดของประเทศใด ๆ, มีถึง 755 สายพันธุ์.[98]
หมีโคอาลาที่เกาะอยู่บนต้นยูคาลิปตัส ที่หัวของมันหันไปข้างหลังทำให้เราสามารถมองเห็นดวงตาทั้งสองข้างได้, หมีโคอาลาและยูคาลิปตัสอยู่ในรูปแบบสัญลักษณ์คู่ของออสเตรเลียป่าออสเตรเลียส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากสายพันธุ์ที่เขียวชอุ่มตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นยูคาลิปตัสในดินแดนแห้งแล้งน้อย ไม้สานต่าง ๆ จะแทนที่พวกเขาในพื้นที่แห้งและทะเลทรายในฐานะที่เป็นสายพันธุ์ที่โดดเด่นมากที่สุด.[99] ท่ามกลางสัตว์ในออสเตรเลียที่รู้จักกันดี คือสัตว์ประเภท monotremes (ตัวตุ่นและตุ่นปากเป็ด); สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องเลี้ยงลูก รวมถึง จิงโจ้, โคอาล่า และ wombat และนก เช่น นกอีมูและ Kookaburra.[99] ออสเตรเลียเป็นบ้านของสัตว์ที่เป็นอันตรายจำนวนมากรวมทั้งบางส่วนของงูที่มีพิษรุนแรงที่สุดในโลก.[100] ดิงโกได้รับการแนะน โดยคน Austronesian ที่ค้าขายกับชาวออสเตรเลียพื้นเมืองประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[101] พืชและสัตว์หลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไปในไม่ช้าหลังจาก การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์คนแรก[102] รวมทั้งพันธ์สัตว์ท้องถิ่นออสเตรเลีย, พวกอื่น ๆ ได้หายไปตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานชาวยุโรป, ในหมู่พวกมันคือ Thylacine.[103][104]
หลายภูมิภาคนิเวศน์ของออสเตรเลียและสายพันธุ์ทั้งหลายภายในภูมิภาคเหล่านั้น กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่มนุษย์นำมาด้วย, chromistan, เชื้อราและพันธุ์พืช.[105] พระราชบัญญัติการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของรัฐบาลกลางปี ค.ศ. 1999 เป็นกรอบกฎหมายสำหรับการป้องกันภัยคุกคามของพืชพันธ์.[106] พื้นที่ทั่ได้รับการป้องกันจำนวนมากถูกจัดทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ของความหลากหลายทางชีวภาพของออสเตรเลียเพื่อป้องกันและอนุรักษ์ระบบนิเวศที่เป็นหนึ่งเดียว[107][108] 65 พื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ภายใต้อนุสัญญาแรมซาร์,[109] และ 16 แหล่งมรดกโลกธรรมชาติได้รับการจัดตั้งขึ้น.[110]ออสเตรเลียเป็นอันดับที่ 51 จาก 163 ประเทศทั่วโลกในดัชนีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมปี ค.ศ. 2010.[111]
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นความกังวลที่เพิ่มขึ้นในประเทศออสเตรเลียในปีที่ผ่านมา และการป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นปัญหาทางการเมืองที่สำคัญ.[112][113] ในปี ค.ศ. 2007 รัฐบาลนายรัดด์ครั้งแรกได้ลงนามในตราสาร ของการให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของออสเตรเลียต่อหัวอยู่ในกลุ่มที่สูงที่สุดในโลกที่ ต่ำกว่าเพียงไม่กี่ประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ.[114] ปริมาณฝนที่ตกในประเทศออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา, ทั้งทั่วประเทศและสำหรับสองในสี่ส่วนของประเทศ[115] อ้างอิงถึงข้อความสภาพภูมิอากาศออสเตรเลียปี ค.ศ. 2011 ของสำนักอุตุนิยมวิทยา, ออสเตรเลีย มีอุณหภูมิในปี ค.ศ. 2011 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เป็นผลมาจากรูปแบบของสภาพอากาศ La Niña อย่างไรก็ตาม " ค่าเฉลี่ย 10 ปีของประเทศยังคงแสดงให้เห็นถึง แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ, ที่ในปี ค.ศ. 2002-2011 มีแนวโน้มที่จะมีอันดับในยอดสูงสุดของสองรอบ 10 ปีที่อบอุ่นที่สุดในบันทึกของ ออสเตรเลีย, ที่ 0.52°C สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว ".[116] การจำกัดเรื่องน้ำมักจะมีในหลายภูมิภาคและหลายเมืองของออสเตรเลียในการตอบสนองต่อการขาดแคลนเรื้อรัง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในเมืองและภัยแล้งในท้องถิ่น.[117][118] ทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีป น้ำท่วมใหญ่ เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลาที่ขยายออกไปของฤดูแล้ง, ไหลบ่าลงสู่ระบบแม่น้ำในแผ่นดิน, ล้นเขื่อนและรวบรวมจนท่วมบนที่ราบขนาดใหญ่, อย่างที่เกิดขึ้นทั่วภาคตะวันออกของออสเตรเลียในปี ค.ศ. 2010, 2011 และ 2012 หลังจากยุคภัยแล้ง 2000s ของออสเตรเลีย
เศรษฐกิจดูบทความหลักที่: เศรษฐกิจของออสเตรเลียดูเพิ่มเติม: ประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจของออสเตรเลีย รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และ การขนส่งในประเทศออสเตรเลีย
หลุมเหมืองทองขนาดใหญ่ใน Kalgoorlie เป็นเหมืองแบบเปิดหน้าดินที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย.[119]ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ร่ำรวยประเทศหนึ่ง[120][121][122] ที่มีเศรษฐกิจแบบตลาด, จีดีพีต่อหัวของประชากรที่ค่อนข้างสูง และอัตราของความยากจนที่ค่อนข้างต่ำ ในแง่ของความมั่งคั่งเฉลี่ย, ออสเตรเลียเป็นอันดับสองในโลกตามหลังสวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 2013, ถึงแม้ว่า อัตราความยากจนของประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 10.2 เปอร์เซนต์ในปี 2000 เป็น 11.8 เปอร์เซนต์ในปี ค.ศ. 2013.[123][124] มันได้รับการระบุโดย สถาบันวิจัยเครดิตสวิส ว่าเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก และความมั่งคั่งเฉลี่ยสูงสุดต่อผู้ใหญ่เป็นอันดับสองใน ค.ศ. 2013.[123]
เงินดอลลาร์ออสเตรเลียเป็นสกุลเงินของประเทศ, รวมทั้งของเกาะคริสมาสต์, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) และ เกาะนอร์โฟล์ค เช่นเดียวกับรัฐอิสระเกาะแปซิฟิกของประเทศคิริบาติ, นาอูรู และ ตูวาลู. ด้วยการควบรวมกิจการของ ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียและตลาดอนาคตซิดนีย์ในปี ค.ศ. 2006, ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียได้กลายเป็นอันดับเก้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก.[125]
อันดับสามในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (ค.ศ. 2010),[126] ออสเตรเลียเป็น เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่สิบสองของโลกและ มี GDP ต่อหัว(ประมาณ)ที่สูงที่สุดเป็นอันดับห้า ที่ $ 66,984. ประเทศเป็นอันดับที่สองใน ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติปี ค.ศ. 2011 และเป็นที่หนึ่ง ใน ดัชนีเจริญรุ่งเรืองของ Legatum ปี ค.ศ. 2008[127] เมืองใหญ่ทั้งหมดของออสเตรเลียมีอันดับที่ดีใน การสำรวจความน่าอยู่เปรียบเทียบระดับโลก.[128] เมลเบิร์นเป็นเมืองอันดับหนึ่งในหนังสือ The Economist ในปี ค.ศ. 2011,[129] 2012[130] และ 2013 ของรายชื่อเมืองที่น่าอยู่ที่สุดของโลก ตามด้วย แอดิเลด, ซิดนีย์ และ เพิร์ธ ในอันดับที่ห้า, เจ็ด และเก้าตามลำดับ[131] หนี้ภาครัฐรวมในประเทศออสเตรเลียอยู่ที่ประมาณ $190 พันล้าน[132] - 20% ของ GDP ในปี ค.ศ. 2010.[133] ออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีราคาบ้านสูงที่สุด และบางส่วนของระดับหนี้ในครัวเรือนสูงสุดในโลก.[134]
ปลายทางและมูลค่าการส่งออกของออสเตรเลียในปี 2006[135]การให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้า มากกว่าสินค้าที่ผลิตได้ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในแง่ของการค้าของออสเตรเลีย ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ออสเตรเลียมีความสมดุลของการชำระเงิน ที่มีมากขึ้นกว่า 7% ของ GDP ลบและ มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีขนาดใหญ่เสมอนานกว่า 50 ปี.[136]ออสเตรเลียมีการเติบโตในอัตราเฉลี่ย 3.6% ต่อปีนานกว่า 15 ปีที่ผ่านมา, ในการเปรียบเทียบกับ ค่าเฉลี่ยประจำปีของ OECD ที่ 2.5%.[136] ออสเตรเลียเป็นประเทศเศรษฐกิจขั้นสูงประเทศเดียวที่ไม่ได้มีประสพการณ์กับภาวะถดถอยเนื่องจากการชะลอตัวทางการเงินระดับโลกในปี 2008-2009.[137] อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของหกประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ของออสเตรเลียอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศออสเตรเลียอย่างมีนัยสำคัญที่ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา.[138][139] จาก ปี ค.ศ. 2012 ถึงต้นปี ค.ศ. 2013 เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลียเติบโต แต่บางรัฐที่ไม่ได้ทำเหมืองแร่และ เศรษฐกิจที่ไม่ใช่การทำเหมืองแร่ของออสเตรเลียประสบกับภาวะถดถอย.[140][141][142]
รัฐบาลของนายกฯ Hawke ได้ลอยค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียในปี ค.ศ.1983 และ deregulated ระบบการเงินบางส่วน.[143] รัฐบาลของนายกฯ ฮาวเวิร์ด ทำตามด้วยการ deregulated บางส่วนของตลาดแรงงานและตามด้วยการแปรรูปธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของอย่างยอดเยี่ยมที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม.[144] ระบบภาษีทางอ้อมที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2000 ที่มีการเปิดตัวของภาษีสินค้าและบริการ (GST) ที่ 10%.[145] ในระบบภาษีของออสเตรเลีย ภาษี รายได้ส่วนบุคคลและบริษัทเป็นแหล่งที่มาหลักของรายได้ของรัฐบาล.[146]
ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2012 มีลูกจ้าง 11,537,900 คน (ทั้งแบบเต็มเวลาและไม่เต็มเวลา) และมี อัตราการว่างงานที่ 5.1%.[147] การว่างงานเยาวชน (อายุ 15-24) อยู่ที่ 11.2%.[147] ข้อมูลที่ปล่อยออกมาในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้รับสวัสดิการได้เติบโตขึ้นถึง 55%. ในปี ค.ศ. 2007, 228,621 ผู้รับค่าเผื่อการว่างงานของ Newstart ได้รับการจดทะเบียน ทำให้ยอดรวมเพิ่มขึ้นเป็น 646,414 คน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013.[148]
กว่าทศวรรษที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อมักจะอยู่ที่ 2-3% และอัตราดอกเบี้ยฐานที่ 5-6% ภาคบริการของเศรษฐกิจรวมทั้ง การท่องเที่ยว, การศึกษาและการบริการทางการเงิน มีประมาณ 70% ของ จีดีพี.[149] อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ, ออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวสาลีและขนสัตว์, แร่ธาตุ เช่นเหล็กและทอง และพลังงานในรูปแบบของก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหิน แม้ว่า การเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติมีมูลค่า 3% และ 5% ของ GDP ตามลำดับ พวกมันมีส่วนร่วมอย่างมากกับประสิทธิภาพการส่งออก ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน, สหรัฐ, เกาหลีใต้และ นิวซีแลนด์.[150] ออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกไวน์และอุตสาหกรรมไวน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก สร้างรายได้ 5.5 พันล้านเหรียญต่อปีให้กับเศรษฐกิจของประเทศ.[151]
การท่องเที่ยวส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้คมนาคม และ โทรคมนาคมส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ประชากรดูบทความหลักที่: ประชากรของออสเตรเลีย, การอพยพเข้าเมืองไปยังประเทศออสเตรเลีย และ รายชื่อของเมืองในประเทศออสเตรเลียแบ่งตามจำนวนประชากร
ชายหาดที่ลาดลงจากพื้นหญ้าด้านซ้ายไปยังทะเลที่อยู่ด้านขวา, เมืองที่สามารถมองเห็นได้ในเส้นขอบฟ้า, เกือบสามในสี่ของชาวออสเตรเลียอาศัยอยู่ในเขตเมืองและพื้นที่ชายฝั่งทะเล ชายหาดเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของชาวออสเตรเลีย.[152]เป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ ส่วนใหญ่ของผู้ตั้งถิ่นฐาน, และผู้อพยพเข้ามาภายหลัง, ได้มาจากเกาะอังกฤษ เป็นผลให้ ผู้คนในประเทศออสเตรเลียเป็นชาวอังกฤษและ/หรือชาติกำเนิดไอริชเป็นหลัก การสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011 ได้ถามผู้ตอบแบบสอบถามที่จะให้สองบรรพบุรุษของพวกเขาสามารถระบุตัวตนของตัวเองได้ใกล้ที่สุด บรรพบุรุษส่วนใหญ่จะเป็นชาวอังกฤษ (36.1%) ตามด้วยออสเตรเลีย (35.4%),[153] ไอริช (10.4%), สก็อต (8.9%), อิตาลี (4.6%), เยอรมัน (4.5%), จีน (4.3%), อินเดีย (2.0%), กรีก (1.9%) และ เนเธอร์แลนด์ (1.7%).[154] ชาวออสเตรเลียเชื้อสายเอเซียจะเป็น 12% ของประชากรทั้งหมด.[155]
ประชากรของออสเตรเลีย ได้เพิ่มเป็นสี่เท่าตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[156] แต่อย่างไรก็ตาม ความหนาแน่นของประชากร, ที่ 2.8 ประชากรต่อตารางกิโลเมตร, ยังคงอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก.[33] ประชากรที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก มาจากการอพยพเข้าเมือง หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี ค.ศ. 2000 เกือบ 5.9 ล้านคนเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศโดยเป็น ผู้อพยพใหม่ ซึ่งหมายความว่า เกือบสองในเจ็ดของชาวออสเตรเลียได้เกิดในประเทศอื่น.[157] ผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีฝีมือ[158] แต่โควต้าคนเข้าเมืองรวมถึง หมวดหมู่สำหรับสมาชิกในครอบครัวและผู้ลี้ภัย.[158] ในปี ค.ศ. 2050 ประชากรของออสเตรเลีย เป็นที่คาดการณ์ว่าจะมีถึงประมาณ 42 ล้านคน.[159]
ในปี ค.ศ. 2011, 24.6% ของชาวออสเตรเลียเกิดจากที่อื่น และ 43.1% ของประชาชนมีอย่างน้อย หนึ่งผู้ปกครองเกิดในต่างประเทศ,[160] กลุ่มผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดเป็นผู้ที่มาจากสหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์, จีน, อินเดีย, อิตาลี, เวียดนามและฟิลิปปินส์.[161]
กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของออสเตรเลียมีเชื้อสายยุโรป และส่วนใหญ่ของส่วนที่เหลือเป็นคนเอเชียเก่าแก่ ที่มีชนกลุ่มน้อยขนาดเล็กของพื้นหลังของชนพื้นเมือง หลังจากการยกเลิกนโยบายออสเตรเลียขาวในปี ค.ศ. 1973, โครงการของรัฐบาลจำนวนมากได้รับการจัดตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมความสามัคคีเชื้อชาติที่ขึ้นอยู่กับนโยบายของวัฒนธรรมหลากหลาย.[162] ในปี ค.ศ. 2005-2006 มากกว่า 131,000 คน อพยพไปอยู่ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่มาจากเอเชียและโอเชียเนีย.[163]เป้าหมายสำหรับการย้ายถิ่นปี ค.ศ. 2012-13 อยู่ที่ 190,000[164] เมื่อเทียบกับ 67,900 ในปี ค.ศ. 1998-99.[165]
มุมมองทางอากาศของท้องทุ่งทำการเกษตรสลับกับถนน, ป่าขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ด้านหน้าของภาพ. Barossa Valley เป็นภูมิภาคที่ผลิตในไวน์ในออสเตรเลียใต้ประชากรในชนบทของออสเตรเลียในปี ค.ศ. 2012 มีอยู่ 2,420,731 คน (10.66% ของประชากรทั้งหมด)[166] ประชากรชาวพื้นเมือง ได้แก่พวกอะบอริจินส์ และชาวเกาะช่องแคบทอร์เร ถูกนับได้ที่ 548,370 คน (2.5% ของประชากรทั้งหมด) ในปี ค.ศ. 2011,[167] เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 115,953 คนในการสำรวจสำมะโนประชากร 1976.[168] การเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเนื่องจาก หลายคนที่มีมรดกทางวัฒนธรรมพื้นเมืองก่อนหน้านี้ได้ถูกมองข้ามโดยการสำรวจสำมะโนประชากร เนื่องจากมีการนับขาดไปและหลายกรณีที่สถานะทางพื้นเมืองของพวกเขาไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในแบบฟอร์ม
ชาวออสเตรเลียพื้นเมืองมีประสบการณ์การถูกจำคุกและการว่างงาน สูงกว่าอัตราเฉลี่ย, การศึกษาอยู่ในระดับต่ำ, และอายุขัยต่ำกว่า 11-17 ปีเทียบกับผู้ที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง.[150][169][170] ชุมชนท้องถิ่นที่ห่างไกลบางแห่งได้รับการอธิบายว่ามีสภาพเหมือน "รัฐล้มเหลว"[171][172][173][174][175]
ในการมีสิ่งเหมือนกันกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ, ออสเตรเลียกำลังประสบการเปลี่ยนแปลงประชากรไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ, ที่มีผู้เกษียณอายุมากขึ้นและคนในวัยทำงานน้อยลง ในปี ค.ศ. 2004 อายุเฉลี่ยของประชากรพลเรือนอยู่ที่ 38.8 ปี[176] ชาวออสเตรเลียจำนวนมาก (759,849 คนระหว่างปี ค.ศ. 2002-03;[177] 1 ล้านคนหรือ 5% ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2005[178]) อาศัยอยู่นอกประเทศบ้านเกิดของพวกเขา
ศาสนาออสเตรเลียไม่มีศาสนาประจำชาติ จากการสำรวจสำมะโนครัวในปี พ.ศ. 2549 ประชากรประมาณ 12.6 ล้านคน (64%) ประกาศตัวเป็นคริสเตียน ในจำนวนนี้ 5.1 ล้านคน (26%) เป็นคาทอลิก และ 3.7 ล้านคน (19%) เป็นแองกลิกัน ประชากร 3.7 ล้านคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่นับถือศาสนา ซึ่งรวมถึงแนวความเชื่อแบบมนุษยนิยม อเทวนิยม อไญยนิยม และ เหตุผลนิยม ประชากรเกือบหนึ่งล้านคน (5%) นับถือศาสนาอื่น ๆ ซึ่งรวมศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน[179] อย่างไรก็ตาม มีประชากรเพียง 1.5 ล้านคน (7.5%) ที่เข้าโบสถ์เป็นประจำทุกสัปดาห์[180]
ภาษาดูบทความหลักที่: ภาษาของออสเตรเลียแม้ว่าออสเตรเลียจะไม่มีภาษาราชการ แต่ภาษาอังกฤษได้ยึดที่มั่นเป็นภาษาประจำชาติโดย พฤตินัยเสมอ.[181] ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียเป็นความหลากหลายหลักของภาษาด้วยสำเนียงและคำศัพท์ที่โดดเด่น,[182] และ แตกต่างเล็กน้อยจากความหลากหลายอื่น ๆ ของภาษาอังกฤษด้านไวยากรณ์และการสะกดคำ.[183] ภาษาออสเตรเลียทั่วไปทำหน้าที่เป็นภาษามาตรฐาน จากผลของการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011, ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเดียวที่พูดในบ้านเกือบ 81% ของประชากร ภาษาที่พบพูดที่บ้านมากที่สุดต่อไปเป็น ภาษาจีนกลาง (1.7%), อิตาลี (1.5%), อาหรับ (1.4%), กวางตุ้ง (1.3%), กรีก (1.3%) และ เวียดนาม (1.2%);[161] สัดส่วนของผู้อพยพรุ่นที่หนึ่งและรุ่นที่สองใช้สองภาษา การศึกษาระหว่างปี ค.ศ. 2010-2011 โดย Australia Early Development Index พบว่า ภาษาที่พูดโดยเด็กพบมากที่สุดหลังจากอังกฤษ เป็นภาษาอาหรับ ตามด้วยเวียดนาม, กรีก, จีนและภาษาฮินดี.[184][185]
ระหว่าง 200 ถึง 300 ภาษาออสเตรเลียพื้นเมืองถูกคิดว่าน่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการติดต่อกับยุโรปครั้งแรก, ซึ่งมีเพียงประมาณ 70 ภาษาเท่านั้นที่มีชีวิตรอด หลายภาษาเหล่านี้จะถูกพูดเฉพาะผู้สูงอายุ; มีเพียง 18 ภาษาพื้นเมืองเท่านั้นที่ยังคงถูกพูดโดยทุกกลุ่มอายุ.[186] ในช่วงเวลาของการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2006, 52,000 ชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย, คิดเป็น 12% ของประชากรพื้นเมือง, ที่รายงานว่าพวกเขาพูดภาษาพื้นเมืองที่บ้าน.[187] ออสเตรเลียมีภาษามือที่เป็นที่รู้จักกันคือ Auslan, ซึ่งเป็นภาษาหลักของคนหูหนวกประมาณ 5,500 คน.[188]
ศาสนาบทความหลัก: ศาสนาในประเทศออสเตรเลีย
แม่แบบ:Bar percentโปรเตสแตนท์ แม่แบบ:Bar percentโรมันคาทอลิก
ศาสนาในประเทศออสเตรเลีย[161]
ศาสนาเปอร์เซนต์
แองกลิคันและคริสเตียนอื่นๆ 18.7%
อิสลาม 2.6%
พุทธ 2.5%
ฮินดู 1.3%
ยิว 0.5%
อื่นๆ 0.8%
ไม่มีศาสนา 22.3%
ไม่ตอบ 9.4%ออสเตรเลียไม่มีศาสนาแห่งรัฐ; มาตรา 116 ของรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย ห้ามไม่ให้รัฐบาลกลางออกกฎหมายใด ๆ ที่จะสร้างศาสนาใด ๆ, กำหนดพิธีทางศาสนาใด ๆ, หรือห้ามกิจกรรมอิสระ ของศาสนาใด ๆ.[189] ในการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2011, 61.1% ของชาวออสเตรเลียถูกนับเป็นคริสเตียน, รวมทั้ง 25.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 17.1% เป็นแองกลิกัน; 22.3% ของประชากรมีการรายงานว่า "ไม่มีศาสนา"; 7.2% ระบุศาสนาที่ไม่ใช่คริสเตียน, ที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มเหล่านี้ เป็นอิสลาม (2.6%) ตามด้วย พุทธ (2.5%), ศาสนาฮินดู (1.3%) และ ยูดาย (0.5%) ส่วนที่เหลืออีก 9.4 % ของประชากรไม่ได้ให้คำตอบที่เพียงพอ.[161]
W R โทมัส ผู้สนับสนุนแห่งออสเตรเลียใต้, ปี 1864, หอศิลป์แห่งรัฐออสเตรเลียใต้ ชาวออสเตรเลียอะบอริจินได้พัฒนาศาสนาของนักวิญญาณนิยมแห่ง'ดรีมไทม์'ก่อนที่จะมีการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปในออสเตรเลีย, ความเชื่อของนักวิญญาณนิยมในคนพื้นเมืองของออสเตรเลียได้รับการปฏิบัติมานานนับพันปี ในกรณีของชาวออสเตรเลียอะบอริจินแผ่นดินใหญ่, จิตวิญญาณของพวกเขาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น ดรีมไทม์และมันเน้นหนักในการเป็นเจ้าของแผ่นดิน คอลเลกชันของเรื่องราวต่าง ๆ ที่มันเก็บไว้เป็นตัวสร้างรูปแบบของกฎหมายและประเพณีแบบอะบอริจิน ศิลปะ, เรื่องราวและการเต้นรำแบบอะบอริจิน ยังคงวาดลงในประเพณีทางจิตวิญญาณเหล่านี้ ในกรณีของชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะระหว่าง ออสเตรเลียและนิวกินี, จิตวิญญาณและประเพณีได้สะท้อนให้เห็นต้นกำเนิดของ Melanesian และการพึ่งพาทะเลของพวกเขา การสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 1996 ออสเตรเลีย นับผู้ตอบแบบสอบถามได้มากกว่า 7,000 คนที่เป็นสาวกของศาสนาอะบอริจินแบบดั้งเดิม.[190]
วิหารคาทอลิกเซนต์แมรี่ส์ในซิดนีย์, สร้างขึ้นจากการออกแบบของวิลเลียม Wardell. ประมาณหนึ่งในสี่ของชาวออสเตรเลียนับถือศาสนาโรมันคาทอลิกตั้งแต่การมาถึงของกองเรือแรกของกองทัพเรืออังกฤษในปี ค.ศ. 1788, ศาสนาคริสต์ได้เติบโตขึ้นเป็นศาสนาหลัก ผลตามมาก็คือ เทศกาลของศาสนาคริสต์เข่น คริสมาสต์ และวันอีสเตอร์จึงเป็น วันหยุดราชการ, ขอบฟ้าของเมืองใหญ่และเมืองเล็กของออสเตรเลียถูกประดับด้วยยอดแหลมของโบสถ์และวิหาร, และโบสถ์คริสต์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษา, สุขภาพและ บริการสวัสดิการในประเทศออสเตรเลีย ระบบการศึกษาคาทอลิกดำเนินการเป็นผู้ให้การศึกษาที่ไม่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด, ประมาณ 21% ของการสมัครเรียนขั้นมัธยมเมิ่อปี ค.ศ. 2010, กับ คาทอลิก สุขภาพออสเตรเลียก็คล้ายกันที่เป็นผู้ให้บริการที่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด. องค์กรสวัสดิการคริสเตียนยังมีบทบาทที่โดดเด่นในชีวิตของชาติ, กับองค์กรเช่นหน่วยบรรเทาทุกข์ทหารบก, สมาคมวินเซนต์ เดอพอล และ Anglicare มีการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง การมีส่วนร่วมดังกล่าวได้รับการยอมรับกับธนบัตรของออสเตรเลีย ที่มีการปรากฏตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคริสเตียน เช่นนักเขียนอะบอริจิน เดวิด Unaipon ($50); ผู้ก่อตั้งบริการหมอกองบิน จอห์น ฟลินน์ ($ 20 ); และ แคทเธอรี เฮเลน Spence ($5) ผู้สมัครหญิงคนแรกของออสเตรเลียสำหรับสำนักงานทางการเมือง บุคคลสำคัญทางศาสนาชาวออสเตรเลียอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญได้รวมถึง แมรี่ MacKillop ผู้ที่ในปี ค.ศ. 2010 กลายเป็นชาวออสเตรเลียคนแรกที่ได้รับการยอมรับเป็นนักบุญโดยคริสตจักรโรมันคาทอลิก และบาทหลวงเซอร์ ดักลาส คอลส์แห่งคริสตจักรของพระคริสต์, ผู้ซึ่งเหมือน มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ในสหรัฐอเมริกา, นำการเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติในประเทศออสเตรเลียและยังเป็นชาวออสเตรเลียพื้นเมืองคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐ
สำหรับบทบาทอย่างมากในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย, คริสตจักรแห่งอังกฤษ (ตอนนี้เป็นที่รู้จัก ว่าเป็นคริสตจักรแองกลิกันของออสเตรเลีย) เป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุด แต่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนอพยพเข้าเมืองได้มีส่วนร่วมที่ทำให้ตำแหน่งที่สัมพันธ์ของมันลดลง ทำให้ คริสตจักรโรมันคาทอลิคได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศหลังสงครามให้กับการเข้าเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และกลายเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ในทำนองเดียวกัน อิสลาม, พุทธ, ศาสนาฮินดู, และศาสนายิว ทุกคนได้รับการขยายตัวในทศวรรษที่ผ่านมาหลังสงคราม.[191] เป็นขอบเขตน้อย, ศาสนาขนาดเล็ก รวมทั้งศรัทธาบาไฮ, ศาสนาซิกข์, Wicca และ Paganism ยังได้เห็นการเพิ่มขึ้นในจำนวนอย่างมาก ในการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2001 มี, 17,381 ซิกข์, 11,037 บาไฮ, 10,632 Pagans และ 8,755 Wiccans ในประเทศออสเตรเลีย.[192]
การสำรวจระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน และนักวิชาการเยอรมันที่ไม่แสวงหาผลกำไร, มูลนิธิ Bertelsmann, พบว่า " ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศเคร่งศาสนาน้อย ในโลกตะวันตก, เข้ามาอันดับที่ 17 ใน 21 ประเทศที่สำรวจ " และว่า "เกือบสามในสี่ของออสเตรเลีย กล่าวว่าพวกเขามีทั้งที่ไม่ได้เคร่งศาสนาเลยหรือศาสนาไม่ได้มีบทบาทสำคัญในชีวิตของพวกเขา."[193] ในขณะที่ การเข้าร่วมปฏิบัติศาสนกิจประจำสัปดาห์ในปี ค.ศ. 2001 มีประมาณ 1.5 ล้าน[194] (ประมาณ 7.8% ของประชากร),[195] การสำรวจความคิดเห็นของชาวออสเตรเลีย 1,718 คนโดย สมาคมวิจัยคริสเตียน ตอนปลายปี ค.ศ. 2009 ชี้ให้เห็นว่า จำนวนของคนที่เข้าร่วมบริการทางศาสนาต่อเดือนในประเทศออสเตรเลีย ได้ลดลงจาก 23% ในปี ค.ศ. 1993 เป็น 16% ในปี ค.ศ. 2009 และในขณะที่ 60% ของผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 15 ถึง 29 ปี ในปี ค.ศ. 1993 ระบุว่าเป็นคริสเตียน, 33% ได้เข้าร่วมในปี ค.ศ. 2009.[196]
การศึกษาบทความหลัก : การศึกษาในประเทศออสเตรเลีย
การเข้าเรียนที่โรงเรียนหรือการลงทะเบียนการศึกษาที่บ้าน[197][198] เป็นภาคบังคับทั่วประเทศออสเตรเลีย การศึกษาเป็นความรับผิดชอบของแต่ละรัฐและดินแดน[199] ดังนั้น กฎระเบียบจึงแตกต่างกันในแต่ละรัฐ, แต่โดยทั่วไป เด็กจะต้องเข้าโรงเรียนตั้งแต่อายุประมาณ 5 ขึ้นไปจนถึงอายุ 16.[200][201] ในบางรัฐ (เช่น WA}[202] NT,[203] และ NS,[204][205]) เด็กอายุ 16-17 จะต้องไปโรงเรียน หรือมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมวิชาชีพ เช่นการฝึกงาน
ออสเตรเลียมีอัตราการรู้หนังสือสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นที่คาดกันว่าจะเป็น 99% ในปี 2003.[206] อย่างไรก็ตามการ รายงานสำหรับสำนักงานสถิติออสเตรเลียของปี 2011-12 รายงานว่า ทัสมาเนีย มีอัตราการรู้หนังสือและการคำนวณเพียง 50%.[207] ในโปรแกรมสำหรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ, ออสเตรเลียได้คะแนนอย่างสม่ำเสมออยู่ในกลุ่มสูงสุดห้าในสามสิบประเทศที่พัฒนาแล้วที่สำคัญ (ประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) การศึกษาคาทอลิกนับว่าเป็นภาคที่ไม่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด
ออสเตรเลียมี 37 มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และสองมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น เดียวกับสถาบันผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ จำนวนมาก ที่จัดให้หลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติในระดับการศึกษา ที่สูงขึ้น.[208] มหาวิทยาลัยซิดนีย์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1850 ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในสามปีต่อมา มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ รวมถึงบรรดาของกลุ่มแปดสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแอดิเลด (ซึ่งมีความสัมพันธ์กับห้ารางวัลโนเบล), มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของ Canberra, มหาวิทยาลัย Monash และมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาเวลส์
OECD ได้วางตำแหน่งออสเตรเลียอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศที่มีราคาแพงที่สุดในการเข้ามหาวิทยาลัย.[209] มีระบบของรัฐที่ใช้ในการฝึกอบรมวิชาชีพ หรือที่เรียกว่า TAFE, และธุรกิจการค้าจำนวนมากได้ ดำเนินการฝึกอบรมและฝึกงานให้กับพ่อค้าใหม่.[210] ประมาณ 58% ของชาวออสเตรเลียวัย 25-64 มีคุณสมบัติทางอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษา[150] และอัตราการสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 49%, สูงที่สุดในกลุ่มประเทศโออีซีดี อัตราส่วนของนักศึกษาต่างประเทศต่อนักศึกษาท้องถิ่น ในการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศออสเตรเลีย สูงที่สุดในกลุ่มประเทศ OECD.[211]
สุขภาพดูเพิ่มเติม: การดูแลสุขภาพในประเทศออสเตรเลีย
ออสเตรเลียมีอายุขัยเป็นที่สี่ที่สูงที่สุดในโลกรองจาก ไอซ์แลนด์, ญี่ปุ่น และฮ่องกง.[212] อายุขัยในประเทศออสเตรเลียในปี ค.ศ. 2010 อยู่ที่ 79.5 ปีสำหรับผู้ชาย และ 84.0 ปีสำหรับผู้หญิง.[213] ออสเตรเลียมีอัตราโรคมะเร็งผิวหนังที่สูงที่สุดในโลก[214] ในขณะที่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการตายและโรคที่ป้องกันได้ที่ใหญ่ที่สุด, รับผิดชอบได้ 7.8% ของการเสียชีวิตและโรคโดยรวม. อยู่ในอันดับที่สองในสาเหตุที่ป้องกันได้คือความดันโลหิตสูงที่ 7.6% กับโรคอ้วนที่สามที่ 7.5%.[215][216] ออสเตรเลียอยู่ในอันดับ 35 ในโลก[217] และอยู่ใกล้กับอันดับสูงสุดของประเทศพัฒนาแล้วสำหรับสัดส่วนของผู้ใหญ่อ้วน.[218]
ค่าใช้จ่ายรวมสำหรับสุขภาพ (รวมถึงการใช้จ่ายภาคเอกชน) อยู่ที่ประมาณ 9.8% ของ GDP.[219] ออสเตรเลียแนะนำการดูแลสุขภาพถ้วนหน้าในปี ค.ศ. 1975.[220] รู้จักกันในชื่อ เมดิแคร์, ตอนนี้ได้รับทุนสนับสนุนโดยคิดค่าใช้จ่ายภาษีรายได้ หรือที่เรียกว่า การจัดเก็บเมดิแคร์ ปัจจุบันคิดที่ 1.5%.[221] รัฐเป็นฝ่ายจัดการด้านโรงพยาบาลและบริการผู้ป่วยนอก ในขณะที่รัฐบาลกลางจ่ายเงินอุดหนุนแผนสวัสดิการเภสัชกรรม (อุดหนุนค่าใช้จ่ายของยา) และการปฏิบัติทั่วไป.[220]
เมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย
เมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย
June 2012 Australian Bureau of Statistics estimates[222]
ที่เมืองรัฐประชากรที่เมืองรัฐประชากร
ซิดนีย์
เมลเบิร์น1ซิดนีย์นิวเซาท์เวลส์4,667,28311โฮบาร์ตทัสเมเนีย216,959
บริสเบน
เพิร์ท
2เมลเบิร์นวิกตอเรีย4,246,34512กีลองวิกตอเรีย179,042
3บริสเบนควีนส์แลนด์2,189,87813ทาว์นวิลล์ควีนส์แลนด์171,971
4เพิร์ทเวสเทิร์นออสเตรเลีย1,897,54814แคนส์ควีนส์แลนด์142,528
5แอดิเลดเซาท์ออสเตรเลีย1,277,17415ดาร์วินนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี131,678
6โกลโคสต์–ทวีด เฮดส์ควีนส์แลนด์/นิวเซาท์เวลส์590,88916ทูวูมบาควีนส์แลนด์110,472
7นิวคาสเซิล–มาอิตแลนด์นิวเซาท์เวลส์418,95817บัลลาราตวิกตอเรีย95,007
8แคนเบอร์รา–ควีนเบยันแคพิทอลเทร์ริทอรี/นิวเซาท์เวลส์411,60918เบนดิโกวิกตอเรีย89,666
9ซันไชน์โคสต์ควีนส์แลนด์285,16919ลูนเคสทันทัสเมเนีย86,109
10วอลลอนกองนิวเซาท์เวลส์282,09920อัลเบอร์รี่–โวดองกานิวเซาท์เวลส์/วิกตอเรีย84,982
กีฬาดูบทความหลักที่: ออสเตรเลียในกีฬาเครือจักรภพ, ออสเตรเลียในกีฬาโอลิมปิก และ ออสเตรเลียในกีฬาพาราลิมปิกวัฒนธรรมดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมออสเตรเลียวัฒนธรรมของออสเตรเลียมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะแบบอังกฤษหรือแองโกล-เคลติก แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งพัฒนามาจากสภาพแวดล้อมและชนพื้นเมืองในระยะหลัง วัฒนธรรมของออสเตรเลียยังได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกัน
วรรณกรรมส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้อาหารส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ดนตรีส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้สื่อสารมวลชนดูบทความหลักที่: สื่อสารมวลชนประเทศออสเตรเลีย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้วันหยุดดูบทความหลักที่: รายชื่อวันสำคัญของออสเตรเลีย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้วันชาติออสเตรเลีย วันอังคารที่ 28 มกราคม วัน Good Friday วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม วัน Easter Sunday วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม วัน Easter Monday วันจันทร์ที่ 1 เมษายน วัน ANZAC Day วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน
อ้างอิง
ออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia)[5] เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้
เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี[6] ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,[7][8] ประเทศออสเตรเลียเป็นที่อยู่อาศัยของชาวออสเตรเลียพื้นเมือง[9] ที่พูดภาษาที่แบ่งออกได้เป็นกลุ่มประมาณ 250 ภาษา.[10][11] หลังจากการค้นพบของทวีปโดยนักสำรวจชาวดัตช์ในปี ค.ศ. 1606, ครึ่งหนึ่งของฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียถูกอ้างว่าเป็นของสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1770 และตั้งรกรากในขั้นต้นโดยการขนส่งนักโทษมายังอาณานิคมของนิวเซาธ์เวลส์จากวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1788 จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ผ่านมา ทวีปถูกสำรวจ และอีกห้าอาณานิคมปกครองตนเองของพระมหากษัตริย์ถูกจัดตั้งขึ้น
เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1901 หกอาณานิคมถูกตั้งขึ้นเป็นสหพันธ์, รวมตัวกันเป็นเครือรัฐออสเตรเลีย. ตั้งแต่นั้นมา ออสเตรเลียยังคงรักษาระบบการเมืองเสรีนิยมประชาธิปไตยที่มั่นคง ที่ ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาประชาธิปไตยของรัฐบาลกลางและพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ สหพันธ์ประกอบด้วยหกรัฐ และอีกหลายพื้นที่ ประชากร 23.1 ล้านคน[12] อยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่และมีความหนาแน่นอย่างมากในรัฐทางตะวันออก[13]
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกที่มีเศรษฐกิจ ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ในปี ค.ศ. 2012 ออสเตรเลียมีรายได้ต่อหัวที่สูงที่สุดอันดับห้าของโลก[14] ค่าใช้จ่ายทางทหารของออสเตรเลียมากที่สุดเป็นอันดับที่ 13 ของโลก ด้วยดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่สูงที่สุดอันดับที่สองทั่วโลก, ออสเตรเลียถูกจัดอันดับที่สูงในการเปรียบเทียบระหว่างประเทศจำนวนมากของประสิทธิภาพการทำงานในระดับชาติ เช่น คุณภาพชีวิต, สุขภาพ, การศึกษา, เสรีภาพทางเศรษฐกิจ, และการปกป้องเสรีภาพของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง.[15] ออสเตรเลียเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ, G20, เครือจักรภพแห่งชาติ, ANZUS, องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD), องค์การการค้าโลก, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกและหมู่เกาะแปซิฟิกฟอรั่ม
เนื้อหา
- 1ภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศ
- 2ประวัติศาสตร์
- 3การเมืองการปกครอง
- 4รัฐและดินแดน
- 5ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทหาร
- 6สิ่งแวดล้อม
- 7เศรษฐกิจ
- 8โครงสร้างพื้นฐาน
- 9ประชากร
- 10วัฒนธรรม
- 11อ้างอิง
- 12แหล่งข้อมูลอื่น
เขตภูมิอากาศในประเทศออสเตรเลีย ตามการแบ่งประเภทภูมิอากาศ Köppenประเทศออสเตรเลียขนาด 7,617,930 ตารางกิโลเมตร (2,941,300 ตารางไมล์)[16] ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลก อินโด-ออสเตรเลีย ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดียทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันออก[N 1] มัน ถูกแยกออกจากเอเชียโดยทะเลอาราฟูรา และทะเลติมอร์ ที่มีแนวปะการังทะเล นอนอยู่นอกชายฝั่งรัฐควีนส์แลนด์, และทะเลแทสมันนอนอยู่ระหว่างประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จัดเป็นทวีปเล็กที่สุดในโลก[18] และอันดับหกของประเทศที่ใหญ่ที่สุดโดยพื้นที่ทั้งหมด,[19] ออสเตรเลีย เนื่องจากขนาดและโดดเดี่ยว มักจะถูกขนานนามว่า "ทวีปเกาะ"[20] และบางครั้งถือว่าเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก[21] ประเทศออสเตรเลียมีชายฝั่งยาว 34,218 กิโลเมตร (21,262 ไมล์) (ไม่รวมเกาะนอกชายฝั่งทั้งหมด)[22] และอ้างสิทธิเหนือเขตเศรษฐกิจพิเศษขนาด 8,148,250 ตารางกิโลเมตร (3,146,060 ตารางไมล์) เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ไม่รวมถึงดินแดนขั้วโลกใต้ของออสเตรเลีย[23] และไม่รวม Macquarie Island ออสเตรเลียอยู่ระหว่างละติจูด 9° และ 44°S, และ ลองจิจูด 112° และ 154°E
Great Barrier Reef แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก[24] อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือและขยายไปยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร (1,240 ไมล์). ภูเขาออกัสตัส, อ้างว่าเป็นหินใหญ่ก้อนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก[25] ตั้งอยู่ในออสเตรเลียตะวันตก. ที่ความสูง 2,228 เมตร (7,310 ฟุต) ภูเขา Kosciuszko บน Great Dividing Range เป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย แม้ว่าที่สูงกว่าคือ Mawson Peak (ที่ 2,745 เมตรหรือ 9,006 ฟุต), บนดินแดนที่ห่างไกลของออสเตรเลียที่เรียกว่า Heard Island, และใน Australian Antarctic Territory, ภูเขา McClintock และภูเขา Menzies ที่ความสูง 3,492 เมตร (11,457 ฟุต) และ 3,355 เมตร (11,007 ฟุต) ตามลำดับ.[26]
Everlastings บนภูเขา Hotham ตั้งอยู่ในรัฐวิกตอเรียเนื่องด้วยขนาดที่กว้างขวางของประเทศออสเตรเลียส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางภูมิประเทศ, ที่มีป่าฝนเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูเขาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันออก และทะเลทรายแห้งในภาคกลาง.[27] มันเป็นทวีปที่ราบเรียบ[28] ที่มีผืนดินที่เก่าแก่ที่สุดและดินอุดมสมบูรณ์นัอยที่สุด[29][30] ทะเลทรายหรือที่ดินกึ่งแห้งแล้งที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นชนบททำให้เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของที่ดิน[31] ทวีปที่มีอาศัยอยู่ที่แห้งที่สุด เฉพาะทางตะวันออกเฉียงใต้และมุมทางตะวันตกเฉียงใต้เท่านั้นที่มีอากาศเย็น.[32]ความหนาแน่นของประชากร, ที่ 2.8 ประชากรต่อตารางกิโลเมตร, อยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก[33] ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของประชากรจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอุณหภูมิดีพอสมควร[34]
ภาคตะวันออกของออสเตรเลียถูกทำเครื่องหมายโดย Great Dividing Range ที่วิ่งขนานไปกับ ชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์, นิวเซาธ์เวลส์และบริเวณกว้างใหญ่ของวิกตอเรีย ชื่อ Great Dividing Range นี้ไม่ถูกต้องเท่าไร เพราะหลายส่วนของแนวเขา ประกอบด้วยเนินเขาเตี้ย ๆ และที่ราบสูงมักจะสูงไม่เกิน 1,600 เมตร (5,249 ฟุต).[35] บริเวณที่สูงชายฝั่งและเข็มขัดของทุ่งหญ้า Brigalow อยู่ระหว่างชายฝั่งและภูเขา ในขณะที่แผ่นดินด้านในของ dividing range เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ของทุ่งหญ้า.[35][36] เหล่านี้รวมถึงที่ราบทางตะวันตกของนิวเซาธ์เวลส์ และ Einasleigh Uplands, Barkly Tableland และ Mulga Lands ของรัฐควีนส์แลนด์ จุด เหนือสุดของชายฝั่งตะวันออกเป็นคาบสมุทร Cape York ที่เป็นเขตป่าฝนเขตร้อน.[37][38][39][40]
แผนที่แสดงภูมิประเทศของออสเตรเลีย แสดงให้เห็นระดับความสูงบางระดับในภาคตะวันตกและระดับความสูงมากในกลุ่มภูเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ภูมิทัศน์ทางตอนเหนือของประเทศที่เรียกว่า the Top End และ the Gulf Country ด้านหลัง the Gulf of Carpentaria ที่มีภูมิอากาศเขตร้อน ประกอบด้วย ป่าไม้, ทุ่งหญ้า และทะเลทราย.[41][42][43] ที่มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปมีหน้าผาหินทราย และ ซอกเขา ของ คิมเบอร์ลีและ ด้านล่างเป็น Pilbara ไปทางใต้ของบริเวณเหล่านี้และเข้าไปในแผ่นดิน จะมีพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้ามากขึ้น ที่มีชื่อว่า the Ord Victoria Plain และ the Western Australian Mulga shrublands.[44][45][46] ที่ใจกลางของประเทศ มี พื้นที่สูงของภาคกลางออสเตรเลีย; ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นของภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศรวมถึงในแผ่นดินซิมป์สัน, Tirari และ Sturt Stony, กิบสัน, Great Sandy, Tanami และทะเลทราย Great Victoria ที่มีที่ราบ Nullarbor ที่มีชื่อเสียงบนชายฝั่งตอนใต้.[47][48][49][50]
สภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียได้รับอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจากกระแสน้ำในมหาสมุทร รวมทั้ง Dipole และ El Niño–Southern Oscillation จากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ ความแห้งแล้งตามฤดู และ ระบบความดันต่ำในเขตร้อนตามฤดูกาลที่ผลิตพายุไซโคลนในภาคเหนือของออสเตรเลีย.[51][52] ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนที่จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดจากปีต่อปี พื้นที่จำนวนมากทางตอนเหนือของประเทศมีสภาพภูมิอากาศเขตร้อน, ส่วนใหญ่เป็นฝนฤดูร้อน (มรสุม).[53] มุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมีภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียน.[54] พื้นที่จำนวนมากของตะวันออกเฉียงใต้(รวมทั้ง แทสเมเนีย) เป็นเมืองหนาว.[53]
ประวัติศาสตร์ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย
แผนที่ประเทศออสเตรเลียที่มีลูกศรเป็นสีต่างๆแสดงเส้นทางของนักสำรวจตอนต้นรอบๆชายฝั่งของออสเตรเลียและเกาะรอบๆ การสำรวจของบริเวณที่แต่ก่อนเรียกว่า New Holland โดยชาวยุโรปจนถึงปี 1812
1606 Willem Janszoon
1606 Luis Váez de Torres
1616 Dirk Hartog
1619 Frederick de Houtman
≥≥≈≈≈
1644 Abel Tasman
1696 Willem de Vlamingh
1699 William Dampier
1770 James Cook
1797–1799 George Bass
1801–1803 Matthew Flinders
ภาพเขียนของกัปตัน James Cook, ชาวยุโรปคนแรกที่ทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1770ชนพื้นเมืองในออสเตรเลียก่อนการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป คือชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอร์เรสสเทรต ซึ่งชนเหล่านี้มีภาษาแตกต่างกันนับร้อยภาษา[55] ประมาณการว่า มีชาวอะบอริจินมากกว่า 780,000 คนอยู่ในออสเตรเลียในปีพ.ศ. 2331[56]
การตั้งถิ่นฐาน
ซิดนีย์ 1894การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1606 เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน Willem Janszoon ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย ระหว่างปี ค.ศ. 1606 และ ค.ศ. 1770 มีเรือของชาวยุโรปประมาณ 54 ลำจากหลายชาติเดินทางมาที่ออสเตรเลีย ซึ่งรู้จักในขณะนั้นว่านิวฮอลแลนด์[57] ในปีค.ศ. 1770 เจมส์ คุก เดินทางมาสำรวจออสเตรเลียและทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย และได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรให้ชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ต่อมาสหราชอาณาจักรใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคม[57] กองเรือชุดแรกเดินทางมาถึงออสเตรเลียที่อ่าวซิดนีย์ในปี ค.ศ. 1787 ในวันที่ 26 มกราคม (ค.ศ. 1788) ซึ่งต่อมาเป็นวันออสเตรเลีย ผู้ตั้งถิ่นฐานยุคแรกส่วนใหญ่เป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร โดยมีผู้อพยพเสรีเริ่มเข้ามาในปี ค.ศ. 1793 มีการตั้งถิ่นฐานบนเกาะแทสเมเนีย หรือชื่อในขณะนั้นคือฟานไดเมนส์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1803 และตั้งเป็นอาณานิคมแยกอีกแห่งหนึ่งในปี ค.ศ. 1825 สหราชอาณาจักรประกาศสิทธิในฝั่งตะวันตกในปี ค.ศ. 1829 และเริ่มมีการตั้งอาณานิคมแยกขึ้นมาอีกหลายแห่ง ได้แก่เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ โดยแยกออกมาจากนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลียไม่เคยเป็นอาณานิคมนักโทษ[57] ในขณะที่วิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลียยอมรับการขนส่งนักโทษภายหลัง[58][59] เรือนักโทษลำสุดท้ายมาถึงนิวเซาท์เวลส์ในปี 1848 หลังจากการรณรงค์ยกเลิกโดยกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐาน[60] การขนส่งนักโทษยุติอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2396 ในนิวเซาท์เวลส์และแทสเมเนีย และปี ค.ศ. 1868 ในเวสเทิร์นออสเตรเลีย[58]
ปี ค.ศ. 1851 เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ค้นพบสายแร่ทอง ในที่ ๆ เขาตั้งชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir) ในนิวเซาท์เวลส์ ทำให้เกิดยุคตื่นทอง นำคนจำนวนมากเดินทางมาออสเตรเลีย[61] ในปีค.ศ. 1901 หกอาณานิคมในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐในชื่อเครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) ประกอบด้วยรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย รวมหกรัฐเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งเดียว เฟเดอรัลแคพิทัลเทร์ริทอรีก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1911 เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐ จากส่วนหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ บริเวณแยส-แคนเบอร์รา และเริ่มดำเนินงานรัฐสภาในแคนเบอร์ราในปี ค.ศ. 1927[62] ในปี ค.ศ. 1911 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี แยกตัวออกมาจากเซาท์ออสเตรเลีย และเข้าเป็นดินแดนในกำกับของสหพันธ์ ออสเตรเลียสมัครใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมถึง 60,000 คนจากประชากรชายน้อยกว่าสามล้านคน[55]
การปกครองตนเอง
พิธีเปิดรัฐสภาแห่งออสเตรเลียออสเตรเลียประกาศใช้บทกฎหมายเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 ในปี ค.ศ. 1942 โดยมีผลบังคับใช้ย้อนไปตั้งแต่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939[63] ซึ่งเป็นการยุติบทบาทนิติบัญญัติของสหราชอาณาจักรในออสเตรเลียเกือบทั้งหมด ในสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียประกาศสงครามกับเยอรมนีพร้อมกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส หลังจากเยอรมนีบุกโปแลนด์[64] ออสเตรเลียส่งทหารเข้าร่วมสมรภูมิในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ แผ่นดินออสเตรเลียโดนโจมตีโดยตรงครั้งแรกจากการเข้าตีโฉบฉวยทางอากาศของญี่ปุ่นที่ดาร์วิน[65] ออสเตรเลียยุตินโยบายออสเตรเลียขาว โดยดำเนินการขั้นสุดท้ายในปีค.ศ. 1973[66] พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) ยกเลิกบทบาทของสหราชอาณาจักรในอำนาจนิติบัญญัติและตุลาการของออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ในปี ค.ศ. 1999 ออสเตรเลียจัดการลงประชามติ ว่าจะให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งคะแนนเสียงเกือบ 55% ลงคะแนนปฏิเสธ[67]
การเมืองการปกครองออสเตรเลียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประมุขแห่งรัฐของออสเตรเลียคือพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 พระอิสริยยศในออสเตรเลียคือ Elizabeth the Second, by the Grace of God Queen of Australia and Her other Realms and Territories, Head of the Commonwealth[68]
ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า "อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินีนาถ และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถ"[69] อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย[69] ในทางธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของรัฐมนตรี[70] สภาบริหารสหพันธรัฐ (Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธานการประชุม และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติจะเรียกประชุมเฉพาะรัฐมนตรีคณะปัจจุบัน[71] รัฐบาลจะมาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
บริหารกระทรวง
ลำดับที่ชื่อกระทรวงภาษาไทยชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ
1กระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำDepartment of Agriculture and Water Resources
2สำนักอัยการสูงสุดAttorney-General's Department
3กระทรวงการสื่อสารและศิลปกรรมDepartment of Communications and the Arts
4กระทรวงกลาโหมDepartment of Defence
5กระทรวงศึกษาธิการและการฝึกอบรมDepartment of Education and Training
6กระทรวงการจัดหางานDepartment of Employment
7กระทรวงสิ่งแวดล้อมDepartment of the Environment
8กระทรวงการคลังDepartment of Finance
9กระทรวงการต่างประเทศและการค้าDepartment of Foreign Affairs and Trade
10กระทรวงสาธารณสุขDepartment of Health
11กระทรวงบริการมนุษย์Department of Human Services
12กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและป้องกันชายแดนDepartment of Immigration and Border Protection
13กระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาภูมิภาคDepartment of Infrastructure and Regional Development
14กระทรวงอุตสาหกรรม นวัตกรรม และวิทยาศาสตร์Department of Industry, Innovation and Science
15สำนักนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีDepartment of the Prime Minister and Cabinet
16กระทรวงประชาสงเคราะห์Department of Social Services
17กระทรวงธนารักษ์Department of the Treasury
18กระทรวงกิจการทหารผ่านศึกDepartment of Veterans' Affairsนิติบัญญัติ
อาคารรัฐสภาในแคนเบอร์รา เปิดใช้แทนอาคารหลังเดิมในปี พ.ศ. 2531
ดูบทความหลักที่: รัฐสภาออสเตรเลีย
ดูหน้าหลักที่: หมวดหมู่:การเลือกตั้งในออสเตรเลียออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง หนึ่งสภาของสหพันธ์ หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของแต่ละดินแดน รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี) ละสองคน[72] ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด
ออสเตรเลียมีพรรคการเมืองหลักสามพรรค ได้แก่พรรคแรงงานออสเตรเลีย พรรคเสรีนิยม และพรรคชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 รัฐบาลของสหพันธ์มาจากพรรคแรงงานหรือเป็นรัฐบาลผสมของพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ[73] ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีแมลคัม เทิร์นบุลล์ มาจากพรรคเสรีนิยม พรรคอื่น ๆ ที่มีบทบาทได้แก่ออสเตรเลียนเดโมแครต และออสเตรเลียนกรีนส์ โดยมักได้ที่นั่งในวุฒิสภา
ตุลาการดูบทความหลักที่: ระบบกฎหมายออสเตรเลียการบังคับใช้กฎหมายส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้สถานการณ์การเมืองส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้รัฐและดินแดนดูบทความหลักที่: รัฐและดินแดนของออสเตรเลีย
แผนที่รัฐและดินแดนของออสเตรเลียออสเตรเลียแบ่งออกเป็น 6 รัฐ ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีดินแดนหลัก ๆ บนแผ่นดินใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (เขตเมืองหลวง) และดินแดนเล็กน้อยอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว ดินแดนนั้นมีลักษณะเดียวกับรัฐ แต่รัฐสภากลางสามารถค้านกฎหมายใดก็ได้จากสภาของดินแดน [74]ในขณะที่ในระดับรัฐ กฎหมายสหพันธ์จะค้านกับกฎหมายรัฐได้เพียงในบางด้านตามมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติอื่น ๆ นั้นเป็นของรัฐสภาของแต่ละรัฐ
แต่ละรัฐและดินแดนมีสภานิติบัญญัติของตัวเอง โดยในควีนสแลนด์และดินแดนทั้งสองแห่งเป็นลักษณะสภาเดี่ยว ในขณะที่ในรัฐที่เหลือเป็นแบบสภาคู่ สมเด็จพระราชินีมีผู้แทนพระองค์ในแต่ละรัฐ เรียกว่า "governor" และในนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรี administrator ส่วนในเขตเมืองหลวง ใช้ผู้แทนพระองค์ของเครือรัฐ (governor-general)
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทหารดูบทความหลักที่: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรเลีย และ กองทัพออสเตรเลียกว่าทศวรรษที่ผ่านมา, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรเลียได้รับการผลักดันจากการใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาผ่านข้อตกลง ANZUS, และความปรารถนาที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับ เอเชียและแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่าน ASEAN และ หมู่เกาะแปซิฟิกฟอรั่ม. ในปี ค.ศ. 2005 ออสเตรเลียมีนั่งในการเปิดประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ต่อจากการเข้าร่วมกับ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, และในปี ค.ศ. 2011 เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งที่หกในอินโดนีเซีย. ออสเตรเลียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติในที่ซึ่งการประชุมของห้วหน้ารัฐบาลของกลุ่มเครือจักรภพได้กำหนดฟอรั่มหลักสำหรับการทำงานร่วมกัน.[75]
กลุ่มของทหารออสเตรเลียพร้อมปืนไรเฟิลส์เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางในพื้นที่ป่า, ทหารกองทัพออสเตรเลียดำเนินการลาดตระเวนเดินเท้าระหว่างการฝึกซ้อมร่วมกับกองกำลังสหรัฐใน Shoalwater เบย์ (2007)ออสเตรเลียได้ติดตามสาเหตุของการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ.[76][77][78] มันได้นำการก่อตัวของกลุ่มแครนส์ และ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก.[79][80] ออสเตรเลียเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และองค์การการค้าโลก[81][82] และมีการดำเนินการที่สำคัญหลายอย่างตาม ข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี, ได้แก่ออสเตรเลีย กับ ข้อตกลงการค้าเสรีของสหรัฐ[83] และ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับนิวซีแลนด์[84] ข้อตกลงการค้าเสรีอื่น ๆ ที่กำลังเจรจาต่อรองกับจีน ได้แก่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-จีน และ กับญี่ปุ่น[85] กับเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 2011[86][87] ข้อตกลงเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-ชิลี, เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์, และหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจทรานส์-แปซิฟิก
พร้อมกับนิวซีแลนด์, สหราชอาณาจักร, มาเลเซียและสิงคโปร์, ออสเตรเลียเป็นภาคี การเตรียมการห้ากำลังป้องกัน ซึ่งเป็นข้อตกลงในระดับภูมิภาค ประเทศสมาชิกที่จัดตั้งของสหประชาชาติ, ออสเตรเลียมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะเป็นพหุภาคี[88] และรักษาโปรแกรมความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ภายใต้โปรแกรมซึ่งมี 60 ประเทศได้รับความช่วยเหลือ งบประมาณปี ค.ศ. 2005-06 จัดให้ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อความช่วยเหลือการพัฒนา[89]. ออสเตรเลียอยู่ในอันดับเจ็ดโดยรวมด้านดัชนีความมุ่งมั่นในการพัฒนาปี 2008ของศูนย์การพัฒนาทั่วโลก.[90]
กองกำลังติดอาวุธของออสเตรเลียชื่อ the Australian Defence Force (ADF) ประกอบด้วยราชนาวีออสเตรเลีย (RAN), กองทัพออสเตรเลียและกองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF), รวม จำนวน 80,561 นาย (รวม 55,068 ประจำการ และ 25,493 กองหนุน).[91]บทบาทในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดตกเป็นของข้าหลวงใหญ่, ผู้แต่งตั้งหัวหน้ากองกำลังป้องกัน จากหนึ่งในบริการที่ติดอาวุธ ตามคำแนะนำของรัฐบาล.[92] การดำเนินการของกองกำลังวันต่อวันอยู่ภายใต้คำสั่งของผู้บัญชากสรทหารสูงสุด ในขณะที่ การบริหารงานในวงกว้าง และการกำหนดนโยบายการป้องกันมีการดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและกรมกลาโหม
ในงบประมาณปี ค.ศ. 2010-11, การใช้จ่ายด้านการป้องกันมีจำนวน A$ 25.7 พันล้าน[93] เป็นอันดับที่ 13 ของงบประมาณกลาโหมที่ใหญ่ที่สุด[94] ออสเตรเลียได้มีส่วนร่วมในการรักษาสันติภาพ, การบรรเทาภัยพิบัติและความขัดแย้งที่ใช้อาวุธของสหประชาชาติและของภูมิภาค ปัจจุบันได้มีการวางกำลังประมาณ 3,330 บุคลากรกองกำลังการป้องกันที่แตกต่างกันในด้านความจุไปที่ 12 การดำเนินงานระหว่างประเทศในพื้นที่รวมทั้งติมอร์-เลสเต, หมู่เกาะโซโลมอน และอัฟกานิสถาน[95]
สิ่งแวดล้อมบทความหลัก: สิ่งแวดล้อมของออสเตรเลีย
ดูเพิ่มเติม: สัตว์ของออสเตรเลีย, ฟลอราของออสเตรเลียและ เชื้อราของออสเตรเลีย
แม้ว่าส่วนใหญ่ของออสเตรเลียเป็นกึ่งแห้งแล้ง หรือทะเลทราย, มันจะมีความหลากหลายของ แหล่งที่อยู่อาศัยตั้งแต่ต้นไม้เตี้ยเป็นพุ่มที่ขึ้นตามทุ่งแบบอัลไพน์จนถึงป่าฝนเขตร้อน และได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นประเทศ megadiverse. เชื้อราเป็นสัญลักษณ์ความหลากหลายนั้น จำนวนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย รวมถึงพวกที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบ มีการคาดการณ์ ที่ประมาณ 250,000 ชนิด, ในจำนวนนั้นมีประมาณ 5% ที่สามารถอธิบายได้.[96] เพราะความเก่าแก่ของทวีป รูปแบบสภาพอากาศแปรเปลี่ยนอย่างสุดขั้วและการอยู่โดดเดียวทางภูมิศาสตร์ในระยะยาว, สิ่งมีชีวิตในออสเตรเลียจำนวนมากจึงเป็นเอกลักษณ์และมีความหลากหลาย. ประมาณ 85% ของพืชดอก, 84% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, กว่า 45% ของนกและ 89% ของสัตว์บก, ปลาโซนเย็น เป็นของประจำถิ่น.[97] ออสเตรเลียมีสัตว์เลื้อยคลานจำนวนมากที่สุดของประเทศใด ๆ, มีถึง 755 สายพันธุ์.[98]
หมีโคอาลาที่เกาะอยู่บนต้นยูคาลิปตัส ที่หัวของมันหันไปข้างหลังทำให้เราสามารถมองเห็นดวงตาทั้งสองข้างได้, หมีโคอาลาและยูคาลิปตัสอยู่ในรูปแบบสัญลักษณ์คู่ของออสเตรเลียป่าออสเตรเลียส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากสายพันธุ์ที่เขียวชอุ่มตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นยูคาลิปตัสในดินแดนแห้งแล้งน้อย ไม้สานต่าง ๆ จะแทนที่พวกเขาในพื้นที่แห้งและทะเลทรายในฐานะที่เป็นสายพันธุ์ที่โดดเด่นมากที่สุด.[99] ท่ามกลางสัตว์ในออสเตรเลียที่รู้จักกันดี คือสัตว์ประเภท monotremes (ตัวตุ่นและตุ่นปากเป็ด); สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องเลี้ยงลูก รวมถึง จิงโจ้, โคอาล่า และ wombat และนก เช่น นกอีมูและ Kookaburra.[99] ออสเตรเลียเป็นบ้านของสัตว์ที่เป็นอันตรายจำนวนมากรวมทั้งบางส่วนของงูที่มีพิษรุนแรงที่สุดในโลก.[100] ดิงโกได้รับการแนะน โดยคน Austronesian ที่ค้าขายกับชาวออสเตรเลียพื้นเมืองประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[101] พืชและสัตว์หลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไปในไม่ช้าหลังจาก การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์คนแรก[102] รวมทั้งพันธ์สัตว์ท้องถิ่นออสเตรเลีย, พวกอื่น ๆ ได้หายไปตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานชาวยุโรป, ในหมู่พวกมันคือ Thylacine.[103][104]
หลายภูมิภาคนิเวศน์ของออสเตรเลียและสายพันธุ์ทั้งหลายภายในภูมิภาคเหล่านั้น กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่มนุษย์นำมาด้วย, chromistan, เชื้อราและพันธุ์พืช.[105] พระราชบัญญัติการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของรัฐบาลกลางปี ค.ศ. 1999 เป็นกรอบกฎหมายสำหรับการป้องกันภัยคุกคามของพืชพันธ์.[106] พื้นที่ทั่ได้รับการป้องกันจำนวนมากถูกจัดทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ของความหลากหลายทางชีวภาพของออสเตรเลียเพื่อป้องกันและอนุรักษ์ระบบนิเวศที่เป็นหนึ่งเดียว[107][108] 65 พื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ภายใต้อนุสัญญาแรมซาร์,[109] และ 16 แหล่งมรดกโลกธรรมชาติได้รับการจัดตั้งขึ้น.[110]ออสเตรเลียเป็นอันดับที่ 51 จาก 163 ประเทศทั่วโลกในดัชนีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมปี ค.ศ. 2010.[111]
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นความกังวลที่เพิ่มขึ้นในประเทศออสเตรเลียในปีที่ผ่านมา และการป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นปัญหาทางการเมืองที่สำคัญ.[112][113] ในปี ค.ศ. 2007 รัฐบาลนายรัดด์ครั้งแรกได้ลงนามในตราสาร ของการให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของออสเตรเลียต่อหัวอยู่ในกลุ่มที่สูงที่สุดในโลกที่ ต่ำกว่าเพียงไม่กี่ประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ.[114] ปริมาณฝนที่ตกในประเทศออสเตรเลียได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา, ทั้งทั่วประเทศและสำหรับสองในสี่ส่วนของประเทศ[115] อ้างอิงถึงข้อความสภาพภูมิอากาศออสเตรเลียปี ค.ศ. 2011 ของสำนักอุตุนิยมวิทยา, ออสเตรเลีย มีอุณหภูมิในปี ค.ศ. 2011 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เป็นผลมาจากรูปแบบของสภาพอากาศ La Niña อย่างไรก็ตาม " ค่าเฉลี่ย 10 ปีของประเทศยังคงแสดงให้เห็นถึง แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ, ที่ในปี ค.ศ. 2002-2011 มีแนวโน้มที่จะมีอันดับในยอดสูงสุดของสองรอบ 10 ปีที่อบอุ่นที่สุดในบันทึกของ ออสเตรเลีย, ที่ 0.52°C สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว ".[116] การจำกัดเรื่องน้ำมักจะมีในหลายภูมิภาคและหลายเมืองของออสเตรเลียในการตอบสนองต่อการขาดแคลนเรื้อรัง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในเมืองและภัยแล้งในท้องถิ่น.[117][118] ทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีป น้ำท่วมใหญ่ เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลาที่ขยายออกไปของฤดูแล้ง, ไหลบ่าลงสู่ระบบแม่น้ำในแผ่นดิน, ล้นเขื่อนและรวบรวมจนท่วมบนที่ราบขนาดใหญ่, อย่างที่เกิดขึ้นทั่วภาคตะวันออกของออสเตรเลียในปี ค.ศ. 2010, 2011 และ 2012 หลังจากยุคภัยแล้ง 2000s ของออสเตรเลีย
เศรษฐกิจดูบทความหลักที่: เศรษฐกิจของออสเตรเลียดูเพิ่มเติม: ประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจของออสเตรเลีย รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และ การขนส่งในประเทศออสเตรเลีย
หลุมเหมืองทองขนาดใหญ่ใน Kalgoorlie เป็นเหมืองแบบเปิดหน้าดินที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย.[119]ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ร่ำรวยประเทศหนึ่ง[120][121][122] ที่มีเศรษฐกิจแบบตลาด, จีดีพีต่อหัวของประชากรที่ค่อนข้างสูง และอัตราของความยากจนที่ค่อนข้างต่ำ ในแง่ของความมั่งคั่งเฉลี่ย, ออสเตรเลียเป็นอันดับสองในโลกตามหลังสวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 2013, ถึงแม้ว่า อัตราความยากจนของประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 10.2 เปอร์เซนต์ในปี 2000 เป็น 11.8 เปอร์เซนต์ในปี ค.ศ. 2013.[123][124] มันได้รับการระบุโดย สถาบันวิจัยเครดิตสวิส ว่าเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก และความมั่งคั่งเฉลี่ยสูงสุดต่อผู้ใหญ่เป็นอันดับสองใน ค.ศ. 2013.[123]
เงินดอลลาร์ออสเตรเลียเป็นสกุลเงินของประเทศ, รวมทั้งของเกาะคริสมาสต์, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) และ เกาะนอร์โฟล์ค เช่นเดียวกับรัฐอิสระเกาะแปซิฟิกของประเทศคิริบาติ, นาอูรู และ ตูวาลู. ด้วยการควบรวมกิจการของ ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียและตลาดอนาคตซิดนีย์ในปี ค.ศ. 2006, ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียได้กลายเป็นอันดับเก้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก.[125]
อันดับสามในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (ค.ศ. 2010),[126] ออสเตรเลียเป็น เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่สิบสองของโลกและ มี GDP ต่อหัว(ประมาณ)ที่สูงที่สุดเป็นอันดับห้า ที่ $ 66,984. ประเทศเป็นอันดับที่สองใน ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติปี ค.ศ. 2011 และเป็นที่หนึ่ง ใน ดัชนีเจริญรุ่งเรืองของ Legatum ปี ค.ศ. 2008[127] เมืองใหญ่ทั้งหมดของออสเตรเลียมีอันดับที่ดีใน การสำรวจความน่าอยู่เปรียบเทียบระดับโลก.[128] เมลเบิร์นเป็นเมืองอันดับหนึ่งในหนังสือ The Economist ในปี ค.ศ. 2011,[129] 2012[130] และ 2013 ของรายชื่อเมืองที่น่าอยู่ที่สุดของโลก ตามด้วย แอดิเลด, ซิดนีย์ และ เพิร์ธ ในอันดับที่ห้า, เจ็ด และเก้าตามลำดับ[131] หนี้ภาครัฐรวมในประเทศออสเตรเลียอยู่ที่ประมาณ $190 พันล้าน[132] - 20% ของ GDP ในปี ค.ศ. 2010.[133] ออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีราคาบ้านสูงที่สุด และบางส่วนของระดับหนี้ในครัวเรือนสูงสุดในโลก.[134]
ปลายทางและมูลค่าการส่งออกของออสเตรเลียในปี 2006[135]การให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้า มากกว่าสินค้าที่ผลิตได้ ได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในแง่ของการค้าของออสเตรเลีย ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ออสเตรเลียมีความสมดุลของการชำระเงิน ที่มีมากขึ้นกว่า 7% ของ GDP ลบและ มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีขนาดใหญ่เสมอนานกว่า 50 ปี.[136]ออสเตรเลียมีการเติบโตในอัตราเฉลี่ย 3.6% ต่อปีนานกว่า 15 ปีที่ผ่านมา, ในการเปรียบเทียบกับ ค่าเฉลี่ยประจำปีของ OECD ที่ 2.5%.[136] ออสเตรเลียเป็นประเทศเศรษฐกิจขั้นสูงประเทศเดียวที่ไม่ได้มีประสพการณ์กับภาวะถดถอยเนื่องจากการชะลอตัวทางการเงินระดับโลกในปี 2008-2009.[137] อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของหกประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ของออสเตรเลียอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศออสเตรเลียอย่างมีนัยสำคัญที่ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา.[138][139] จาก ปี ค.ศ. 2012 ถึงต้นปี ค.ศ. 2013 เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลียเติบโต แต่บางรัฐที่ไม่ได้ทำเหมืองแร่และ เศรษฐกิจที่ไม่ใช่การทำเหมืองแร่ของออสเตรเลียประสบกับภาวะถดถอย.[140][141][142]
รัฐบาลของนายกฯ Hawke ได้ลอยค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียในปี ค.ศ.1983 และ deregulated ระบบการเงินบางส่วน.[143] รัฐบาลของนายกฯ ฮาวเวิร์ด ทำตามด้วยการ deregulated บางส่วนของตลาดแรงงานและตามด้วยการแปรรูปธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของอย่างยอดเยี่ยมที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม.[144] ระบบภาษีทางอ้อมที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2000 ที่มีการเปิดตัวของภาษีสินค้าและบริการ (GST) ที่ 10%.[145] ในระบบภาษีของออสเตรเลีย ภาษี รายได้ส่วนบุคคลและบริษัทเป็นแหล่งที่มาหลักของรายได้ของรัฐบาล.[146]
ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2012 มีลูกจ้าง 11,537,900 คน (ทั้งแบบเต็มเวลาและไม่เต็มเวลา) และมี อัตราการว่างงานที่ 5.1%.[147] การว่างงานเยาวชน (อายุ 15-24) อยู่ที่ 11.2%.[147] ข้อมูลที่ปล่อยออกมาในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้รับสวัสดิการได้เติบโตขึ้นถึง 55%. ในปี ค.ศ. 2007, 228,621 ผู้รับค่าเผื่อการว่างงานของ Newstart ได้รับการจดทะเบียน ทำให้ยอดรวมเพิ่มขึ้นเป็น 646,414 คน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013.[148]
กว่าทศวรรษที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อมักจะอยู่ที่ 2-3% และอัตราดอกเบี้ยฐานที่ 5-6% ภาคบริการของเศรษฐกิจรวมทั้ง การท่องเที่ยว, การศึกษาและการบริการทางการเงิน มีประมาณ 70% ของ จีดีพี.[149] อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ, ออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวสาลีและขนสัตว์, แร่ธาตุ เช่นเหล็กและทอง และพลังงานในรูปแบบของก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหิน แม้ว่า การเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติมีมูลค่า 3% และ 5% ของ GDP ตามลำดับ พวกมันมีส่วนร่วมอย่างมากกับประสิทธิภาพการส่งออก ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน, สหรัฐ, เกาหลีใต้และ นิวซีแลนด์.[150] ออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกไวน์และอุตสาหกรรมไวน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก สร้างรายได้ 5.5 พันล้านเหรียญต่อปีให้กับเศรษฐกิจของประเทศ.[151]
การท่องเที่ยวส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้คมนาคม และ โทรคมนาคมส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ประชากรดูบทความหลักที่: ประชากรของออสเตรเลีย, การอพยพเข้าเมืองไปยังประเทศออสเตรเลีย และ รายชื่อของเมืองในประเทศออสเตรเลียแบ่งตามจำนวนประชากร
ชายหาดที่ลาดลงจากพื้นหญ้าด้านซ้ายไปยังทะเลที่อยู่ด้านขวา, เมืองที่สามารถมองเห็นได้ในเส้นขอบฟ้า, เกือบสามในสี่ของชาวออสเตรเลียอาศัยอยู่ในเขตเมืองและพื้นที่ชายฝั่งทะเล ชายหาดเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของชาวออสเตรเลีย.[152]เป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ ส่วนใหญ่ของผู้ตั้งถิ่นฐาน, และผู้อพยพเข้ามาภายหลัง, ได้มาจากเกาะอังกฤษ เป็นผลให้ ผู้คนในประเทศออสเตรเลียเป็นชาวอังกฤษและ/หรือชาติกำเนิดไอริชเป็นหลัก การสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011 ได้ถามผู้ตอบแบบสอบถามที่จะให้สองบรรพบุรุษของพวกเขาสามารถระบุตัวตนของตัวเองได้ใกล้ที่สุด บรรพบุรุษส่วนใหญ่จะเป็นชาวอังกฤษ (36.1%) ตามด้วยออสเตรเลีย (35.4%),[153] ไอริช (10.4%), สก็อต (8.9%), อิตาลี (4.6%), เยอรมัน (4.5%), จีน (4.3%), อินเดีย (2.0%), กรีก (1.9%) และ เนเธอร์แลนด์ (1.7%).[154] ชาวออสเตรเลียเชื้อสายเอเซียจะเป็น 12% ของประชากรทั้งหมด.[155]
ประชากรของออสเตรเลีย ได้เพิ่มเป็นสี่เท่าตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[156] แต่อย่างไรก็ตาม ความหนาแน่นของประชากร, ที่ 2.8 ประชากรต่อตารางกิโลเมตร, ยังคงอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก.[33] ประชากรที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก มาจากการอพยพเข้าเมือง หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี ค.ศ. 2000 เกือบ 5.9 ล้านคนเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศโดยเป็น ผู้อพยพใหม่ ซึ่งหมายความว่า เกือบสองในเจ็ดของชาวออสเตรเลียได้เกิดในประเทศอื่น.[157] ผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีฝีมือ[158] แต่โควต้าคนเข้าเมืองรวมถึง หมวดหมู่สำหรับสมาชิกในครอบครัวและผู้ลี้ภัย.[158] ในปี ค.ศ. 2050 ประชากรของออสเตรเลีย เป็นที่คาดการณ์ว่าจะมีถึงประมาณ 42 ล้านคน.[159]
ในปี ค.ศ. 2011, 24.6% ของชาวออสเตรเลียเกิดจากที่อื่น และ 43.1% ของประชาชนมีอย่างน้อย หนึ่งผู้ปกครองเกิดในต่างประเทศ,[160] กลุ่มผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดเป็นผู้ที่มาจากสหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์, จีน, อินเดีย, อิตาลี, เวียดนามและฟิลิปปินส์.[161]
กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของออสเตรเลียมีเชื้อสายยุโรป และส่วนใหญ่ของส่วนที่เหลือเป็นคนเอเชียเก่าแก่ ที่มีชนกลุ่มน้อยขนาดเล็กของพื้นหลังของชนพื้นเมือง หลังจากการยกเลิกนโยบายออสเตรเลียขาวในปี ค.ศ. 1973, โครงการของรัฐบาลจำนวนมากได้รับการจัดตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมความสามัคคีเชื้อชาติที่ขึ้นอยู่กับนโยบายของวัฒนธรรมหลากหลาย.[162] ในปี ค.ศ. 2005-2006 มากกว่า 131,000 คน อพยพไปอยู่ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่มาจากเอเชียและโอเชียเนีย.[163]เป้าหมายสำหรับการย้ายถิ่นปี ค.ศ. 2012-13 อยู่ที่ 190,000[164] เมื่อเทียบกับ 67,900 ในปี ค.ศ. 1998-99.[165]
มุมมองทางอากาศของท้องทุ่งทำการเกษตรสลับกับถนน, ป่าขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ด้านหน้าของภาพ. Barossa Valley เป็นภูมิภาคที่ผลิตในไวน์ในออสเตรเลียใต้ประชากรในชนบทของออสเตรเลียในปี ค.ศ. 2012 มีอยู่ 2,420,731 คน (10.66% ของประชากรทั้งหมด)[166] ประชากรชาวพื้นเมือง ได้แก่พวกอะบอริจินส์ และชาวเกาะช่องแคบทอร์เร ถูกนับได้ที่ 548,370 คน (2.5% ของประชากรทั้งหมด) ในปี ค.ศ. 2011,[167] เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 115,953 คนในการสำรวจสำมะโนประชากร 1976.[168] การเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเนื่องจาก หลายคนที่มีมรดกทางวัฒนธรรมพื้นเมืองก่อนหน้านี้ได้ถูกมองข้ามโดยการสำรวจสำมะโนประชากร เนื่องจากมีการนับขาดไปและหลายกรณีที่สถานะทางพื้นเมืองของพวกเขาไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในแบบฟอร์ม
ชาวออสเตรเลียพื้นเมืองมีประสบการณ์การถูกจำคุกและการว่างงาน สูงกว่าอัตราเฉลี่ย, การศึกษาอยู่ในระดับต่ำ, และอายุขัยต่ำกว่า 11-17 ปีเทียบกับผู้ที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง.[150][169][170] ชุมชนท้องถิ่นที่ห่างไกลบางแห่งได้รับการอธิบายว่ามีสภาพเหมือน "รัฐล้มเหลว"[171][172][173][174][175]
ในการมีสิ่งเหมือนกันกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ, ออสเตรเลียกำลังประสบการเปลี่ยนแปลงประชากรไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ, ที่มีผู้เกษียณอายุมากขึ้นและคนในวัยทำงานน้อยลง ในปี ค.ศ. 2004 อายุเฉลี่ยของประชากรพลเรือนอยู่ที่ 38.8 ปี[176] ชาวออสเตรเลียจำนวนมาก (759,849 คนระหว่างปี ค.ศ. 2002-03;[177] 1 ล้านคนหรือ 5% ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2005[178]) อาศัยอยู่นอกประเทศบ้านเกิดของพวกเขา
ศาสนาออสเตรเลียไม่มีศาสนาประจำชาติ จากการสำรวจสำมะโนครัวในปี พ.ศ. 2549 ประชากรประมาณ 12.6 ล้านคน (64%) ประกาศตัวเป็นคริสเตียน ในจำนวนนี้ 5.1 ล้านคน (26%) เป็นคาทอลิก และ 3.7 ล้านคน (19%) เป็นแองกลิกัน ประชากร 3.7 ล้านคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่นับถือศาสนา ซึ่งรวมถึงแนวความเชื่อแบบมนุษยนิยม อเทวนิยม อไญยนิยม และ เหตุผลนิยม ประชากรเกือบหนึ่งล้านคน (5%) นับถือศาสนาอื่น ๆ ซึ่งรวมศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน[179] อย่างไรก็ตาม มีประชากรเพียง 1.5 ล้านคน (7.5%) ที่เข้าโบสถ์เป็นประจำทุกสัปดาห์[180]
ภาษาดูบทความหลักที่: ภาษาของออสเตรเลียแม้ว่าออสเตรเลียจะไม่มีภาษาราชการ แต่ภาษาอังกฤษได้ยึดที่มั่นเป็นภาษาประจำชาติโดย พฤตินัยเสมอ.[181] ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียเป็นความหลากหลายหลักของภาษาด้วยสำเนียงและคำศัพท์ที่โดดเด่น,[182] และ แตกต่างเล็กน้อยจากความหลากหลายอื่น ๆ ของภาษาอังกฤษด้านไวยากรณ์และการสะกดคำ.[183] ภาษาออสเตรเลียทั่วไปทำหน้าที่เป็นภาษามาตรฐาน จากผลของการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011, ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเดียวที่พูดในบ้านเกือบ 81% ของประชากร ภาษาที่พบพูดที่บ้านมากที่สุดต่อไปเป็น ภาษาจีนกลาง (1.7%), อิตาลี (1.5%), อาหรับ (1.4%), กวางตุ้ง (1.3%), กรีก (1.3%) และ เวียดนาม (1.2%);[161] สัดส่วนของผู้อพยพรุ่นที่หนึ่งและรุ่นที่สองใช้สองภาษา การศึกษาระหว่างปี ค.ศ. 2010-2011 โดย Australia Early Development Index พบว่า ภาษาที่พูดโดยเด็กพบมากที่สุดหลังจากอังกฤษ เป็นภาษาอาหรับ ตามด้วยเวียดนาม, กรีก, จีนและภาษาฮินดี.[184][185]
ระหว่าง 200 ถึง 300 ภาษาออสเตรเลียพื้นเมืองถูกคิดว่าน่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการติดต่อกับยุโรปครั้งแรก, ซึ่งมีเพียงประมาณ 70 ภาษาเท่านั้นที่มีชีวิตรอด หลายภาษาเหล่านี้จะถูกพูดเฉพาะผู้สูงอายุ; มีเพียง 18 ภาษาพื้นเมืองเท่านั้นที่ยังคงถูกพูดโดยทุกกลุ่มอายุ.[186] ในช่วงเวลาของการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2006, 52,000 ชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย, คิดเป็น 12% ของประชากรพื้นเมือง, ที่รายงานว่าพวกเขาพูดภาษาพื้นเมืองที่บ้าน.[187] ออสเตรเลียมีภาษามือที่เป็นที่รู้จักกันคือ Auslan, ซึ่งเป็นภาษาหลักของคนหูหนวกประมาณ 5,500 คน.[188]
ศาสนาบทความหลัก: ศาสนาในประเทศออสเตรเลีย
แม่แบบ:Bar percentโปรเตสแตนท์ แม่แบบ:Bar percentโรมันคาทอลิก
ศาสนาในประเทศออสเตรเลีย[161]
ศาสนาเปอร์เซนต์
แองกลิคันและคริสเตียนอื่นๆ 18.7%
อิสลาม 2.6%
พุทธ 2.5%
ฮินดู 1.3%
ยิว 0.5%
อื่นๆ 0.8%
ไม่มีศาสนา 22.3%
ไม่ตอบ 9.4%ออสเตรเลียไม่มีศาสนาแห่งรัฐ; มาตรา 116 ของรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย ห้ามไม่ให้รัฐบาลกลางออกกฎหมายใด ๆ ที่จะสร้างศาสนาใด ๆ, กำหนดพิธีทางศาสนาใด ๆ, หรือห้ามกิจกรรมอิสระ ของศาสนาใด ๆ.[189] ในการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2011, 61.1% ของชาวออสเตรเลียถูกนับเป็นคริสเตียน, รวมทั้ง 25.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 17.1% เป็นแองกลิกัน; 22.3% ของประชากรมีการรายงานว่า "ไม่มีศาสนา"; 7.2% ระบุศาสนาที่ไม่ใช่คริสเตียน, ที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มเหล่านี้ เป็นอิสลาม (2.6%) ตามด้วย พุทธ (2.5%), ศาสนาฮินดู (1.3%) และ ยูดาย (0.5%) ส่วนที่เหลืออีก 9.4 % ของประชากรไม่ได้ให้คำตอบที่เพียงพอ.[161]
W R โทมัส ผู้สนับสนุนแห่งออสเตรเลียใต้, ปี 1864, หอศิลป์แห่งรัฐออสเตรเลียใต้ ชาวออสเตรเลียอะบอริจินได้พัฒนาศาสนาของนักวิญญาณนิยมแห่ง'ดรีมไทม์'ก่อนที่จะมีการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปในออสเตรเลีย, ความเชื่อของนักวิญญาณนิยมในคนพื้นเมืองของออสเตรเลียได้รับการปฏิบัติมานานนับพันปี ในกรณีของชาวออสเตรเลียอะบอริจินแผ่นดินใหญ่, จิตวิญญาณของพวกเขาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น ดรีมไทม์และมันเน้นหนักในการเป็นเจ้าของแผ่นดิน คอลเลกชันของเรื่องราวต่าง ๆ ที่มันเก็บไว้เป็นตัวสร้างรูปแบบของกฎหมายและประเพณีแบบอะบอริจิน ศิลปะ, เรื่องราวและการเต้นรำแบบอะบอริจิน ยังคงวาดลงในประเพณีทางจิตวิญญาณเหล่านี้ ในกรณีของชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะระหว่าง ออสเตรเลียและนิวกินี, จิตวิญญาณและประเพณีได้สะท้อนให้เห็นต้นกำเนิดของ Melanesian และการพึ่งพาทะเลของพวกเขา การสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 1996 ออสเตรเลีย นับผู้ตอบแบบสอบถามได้มากกว่า 7,000 คนที่เป็นสาวกของศาสนาอะบอริจินแบบดั้งเดิม.[190]
วิหารคาทอลิกเซนต์แมรี่ส์ในซิดนีย์, สร้างขึ้นจากการออกแบบของวิลเลียม Wardell. ประมาณหนึ่งในสี่ของชาวออสเตรเลียนับถือศาสนาโรมันคาทอลิกตั้งแต่การมาถึงของกองเรือแรกของกองทัพเรืออังกฤษในปี ค.ศ. 1788, ศาสนาคริสต์ได้เติบโตขึ้นเป็นศาสนาหลัก ผลตามมาก็คือ เทศกาลของศาสนาคริสต์เข่น คริสมาสต์ และวันอีสเตอร์จึงเป็น วันหยุดราชการ, ขอบฟ้าของเมืองใหญ่และเมืองเล็กของออสเตรเลียถูกประดับด้วยยอดแหลมของโบสถ์และวิหาร, และโบสถ์คริสต์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษา, สุขภาพและ บริการสวัสดิการในประเทศออสเตรเลีย ระบบการศึกษาคาทอลิกดำเนินการเป็นผู้ให้การศึกษาที่ไม่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด, ประมาณ 21% ของการสมัครเรียนขั้นมัธยมเมิ่อปี ค.ศ. 2010, กับ คาทอลิก สุขภาพออสเตรเลียก็คล้ายกันที่เป็นผู้ให้บริการที่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด. องค์กรสวัสดิการคริสเตียนยังมีบทบาทที่โดดเด่นในชีวิตของชาติ, กับองค์กรเช่นหน่วยบรรเทาทุกข์ทหารบก, สมาคมวินเซนต์ เดอพอล และ Anglicare มีการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง การมีส่วนร่วมดังกล่าวได้รับการยอมรับกับธนบัตรของออสเตรเลีย ที่มีการปรากฏตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคริสเตียน เช่นนักเขียนอะบอริจิน เดวิด Unaipon ($50); ผู้ก่อตั้งบริการหมอกองบิน จอห์น ฟลินน์ ($ 20 ); และ แคทเธอรี เฮเลน Spence ($5) ผู้สมัครหญิงคนแรกของออสเตรเลียสำหรับสำนักงานทางการเมือง บุคคลสำคัญทางศาสนาชาวออสเตรเลียอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญได้รวมถึง แมรี่ MacKillop ผู้ที่ในปี ค.ศ. 2010 กลายเป็นชาวออสเตรเลียคนแรกที่ได้รับการยอมรับเป็นนักบุญโดยคริสตจักรโรมันคาทอลิก และบาทหลวงเซอร์ ดักลาส คอลส์แห่งคริสตจักรของพระคริสต์, ผู้ซึ่งเหมือน มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ในสหรัฐอเมริกา, นำการเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติในประเทศออสเตรเลียและยังเป็นชาวออสเตรเลียพื้นเมืองคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐ
สำหรับบทบาทอย่างมากในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย, คริสตจักรแห่งอังกฤษ (ตอนนี้เป็นที่รู้จัก ว่าเป็นคริสตจักรแองกลิกันของออสเตรเลีย) เป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุด แต่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนอพยพเข้าเมืองได้มีส่วนร่วมที่ทำให้ตำแหน่งที่สัมพันธ์ของมันลดลง ทำให้ คริสตจักรโรมันคาทอลิคได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศหลังสงครามให้กับการเข้าเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และกลายเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ในทำนองเดียวกัน อิสลาม, พุทธ, ศาสนาฮินดู, และศาสนายิว ทุกคนได้รับการขยายตัวในทศวรรษที่ผ่านมาหลังสงคราม.[191] เป็นขอบเขตน้อย, ศาสนาขนาดเล็ก รวมทั้งศรัทธาบาไฮ, ศาสนาซิกข์, Wicca และ Paganism ยังได้เห็นการเพิ่มขึ้นในจำนวนอย่างมาก ในการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2001 มี, 17,381 ซิกข์, 11,037 บาไฮ, 10,632 Pagans และ 8,755 Wiccans ในประเทศออสเตรเลีย.[192]
การสำรวจระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน และนักวิชาการเยอรมันที่ไม่แสวงหาผลกำไร, มูลนิธิ Bertelsmann, พบว่า " ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศเคร่งศาสนาน้อย ในโลกตะวันตก, เข้ามาอันดับที่ 17 ใน 21 ประเทศที่สำรวจ " และว่า "เกือบสามในสี่ของออสเตรเลีย กล่าวว่าพวกเขามีทั้งที่ไม่ได้เคร่งศาสนาเลยหรือศาสนาไม่ได้มีบทบาทสำคัญในชีวิตของพวกเขา."[193] ในขณะที่ การเข้าร่วมปฏิบัติศาสนกิจประจำสัปดาห์ในปี ค.ศ. 2001 มีประมาณ 1.5 ล้าน[194] (ประมาณ 7.8% ของประชากร),[195] การสำรวจความคิดเห็นของชาวออสเตรเลีย 1,718 คนโดย สมาคมวิจัยคริสเตียน ตอนปลายปี ค.ศ. 2009 ชี้ให้เห็นว่า จำนวนของคนที่เข้าร่วมบริการทางศาสนาต่อเดือนในประเทศออสเตรเลีย ได้ลดลงจาก 23% ในปี ค.ศ. 1993 เป็น 16% ในปี ค.ศ. 2009 และในขณะที่ 60% ของผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 15 ถึง 29 ปี ในปี ค.ศ. 1993 ระบุว่าเป็นคริสเตียน, 33% ได้เข้าร่วมในปี ค.ศ. 2009.[196]
การศึกษาบทความหลัก : การศึกษาในประเทศออสเตรเลีย
การเข้าเรียนที่โรงเรียนหรือการลงทะเบียนการศึกษาที่บ้าน[197][198] เป็นภาคบังคับทั่วประเทศออสเตรเลีย การศึกษาเป็นความรับผิดชอบของแต่ละรัฐและดินแดน[199] ดังนั้น กฎระเบียบจึงแตกต่างกันในแต่ละรัฐ, แต่โดยทั่วไป เด็กจะต้องเข้าโรงเรียนตั้งแต่อายุประมาณ 5 ขึ้นไปจนถึงอายุ 16.[200][201] ในบางรัฐ (เช่น WA}[202] NT,[203] และ NS,[204][205]) เด็กอายุ 16-17 จะต้องไปโรงเรียน หรือมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมวิชาชีพ เช่นการฝึกงาน
ออสเตรเลียมีอัตราการรู้หนังสือสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นที่คาดกันว่าจะเป็น 99% ในปี 2003.[206] อย่างไรก็ตามการ รายงานสำหรับสำนักงานสถิติออสเตรเลียของปี 2011-12 รายงานว่า ทัสมาเนีย มีอัตราการรู้หนังสือและการคำนวณเพียง 50%.[207] ในโปรแกรมสำหรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ, ออสเตรเลียได้คะแนนอย่างสม่ำเสมออยู่ในกลุ่มสูงสุดห้าในสามสิบประเทศที่พัฒนาแล้วที่สำคัญ (ประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) การศึกษาคาทอลิกนับว่าเป็นภาคที่ไม่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด
ออสเตรเลียมี 37 มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และสองมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น เดียวกับสถาบันผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ จำนวนมาก ที่จัดให้หลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติในระดับการศึกษา ที่สูงขึ้น.[208] มหาวิทยาลัยซิดนีย์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1850 ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในสามปีต่อมา มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ รวมถึงบรรดาของกลุ่มแปดสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแอดิเลด (ซึ่งมีความสัมพันธ์กับห้ารางวัลโนเบล), มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของ Canberra, มหาวิทยาลัย Monash และมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาเวลส์
OECD ได้วางตำแหน่งออสเตรเลียอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศที่มีราคาแพงที่สุดในการเข้ามหาวิทยาลัย.[209] มีระบบของรัฐที่ใช้ในการฝึกอบรมวิชาชีพ หรือที่เรียกว่า TAFE, และธุรกิจการค้าจำนวนมากได้ ดำเนินการฝึกอบรมและฝึกงานให้กับพ่อค้าใหม่.[210] ประมาณ 58% ของชาวออสเตรเลียวัย 25-64 มีคุณสมบัติทางอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษา[150] และอัตราการสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 49%, สูงที่สุดในกลุ่มประเทศโออีซีดี อัตราส่วนของนักศึกษาต่างประเทศต่อนักศึกษาท้องถิ่น ในการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศออสเตรเลีย สูงที่สุดในกลุ่มประเทศ OECD.[211]
สุขภาพดูเพิ่มเติม: การดูแลสุขภาพในประเทศออสเตรเลีย
ออสเตรเลียมีอายุขัยเป็นที่สี่ที่สูงที่สุดในโลกรองจาก ไอซ์แลนด์, ญี่ปุ่น และฮ่องกง.[212] อายุขัยในประเทศออสเตรเลียในปี ค.ศ. 2010 อยู่ที่ 79.5 ปีสำหรับผู้ชาย และ 84.0 ปีสำหรับผู้หญิง.[213] ออสเตรเลียมีอัตราโรคมะเร็งผิวหนังที่สูงที่สุดในโลก[214] ในขณะที่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการตายและโรคที่ป้องกันได้ที่ใหญ่ที่สุด, รับผิดชอบได้ 7.8% ของการเสียชีวิตและโรคโดยรวม. อยู่ในอันดับที่สองในสาเหตุที่ป้องกันได้คือความดันโลหิตสูงที่ 7.6% กับโรคอ้วนที่สามที่ 7.5%.[215][216] ออสเตรเลียอยู่ในอันดับ 35 ในโลก[217] และอยู่ใกล้กับอันดับสูงสุดของประเทศพัฒนาแล้วสำหรับสัดส่วนของผู้ใหญ่อ้วน.[218]
ค่าใช้จ่ายรวมสำหรับสุขภาพ (รวมถึงการใช้จ่ายภาคเอกชน) อยู่ที่ประมาณ 9.8% ของ GDP.[219] ออสเตรเลียแนะนำการดูแลสุขภาพถ้วนหน้าในปี ค.ศ. 1975.[220] รู้จักกันในชื่อ เมดิแคร์, ตอนนี้ได้รับทุนสนับสนุนโดยคิดค่าใช้จ่ายภาษีรายได้ หรือที่เรียกว่า การจัดเก็บเมดิแคร์ ปัจจุบันคิดที่ 1.5%.[221] รัฐเป็นฝ่ายจัดการด้านโรงพยาบาลและบริการผู้ป่วยนอก ในขณะที่รัฐบาลกลางจ่ายเงินอุดหนุนแผนสวัสดิการเภสัชกรรม (อุดหนุนค่าใช้จ่ายของยา) และการปฏิบัติทั่วไป.[220]
เมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย
เมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย
June 2012 Australian Bureau of Statistics estimates[222]
ที่เมืองรัฐประชากรที่เมืองรัฐประชากร
ซิดนีย์
เมลเบิร์น1ซิดนีย์นิวเซาท์เวลส์4,667,28311โฮบาร์ตทัสเมเนีย216,959
บริสเบน
เพิร์ท
2เมลเบิร์นวิกตอเรีย4,246,34512กีลองวิกตอเรีย179,042
3บริสเบนควีนส์แลนด์2,189,87813ทาว์นวิลล์ควีนส์แลนด์171,971
4เพิร์ทเวสเทิร์นออสเตรเลีย1,897,54814แคนส์ควีนส์แลนด์142,528
5แอดิเลดเซาท์ออสเตรเลีย1,277,17415ดาร์วินนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี131,678
6โกลโคสต์–ทวีด เฮดส์ควีนส์แลนด์/นิวเซาท์เวลส์590,88916ทูวูมบาควีนส์แลนด์110,472
7นิวคาสเซิล–มาอิตแลนด์นิวเซาท์เวลส์418,95817บัลลาราตวิกตอเรีย95,007
8แคนเบอร์รา–ควีนเบยันแคพิทอลเทร์ริทอรี/นิวเซาท์เวลส์411,60918เบนดิโกวิกตอเรีย89,666
9ซันไชน์โคสต์ควีนส์แลนด์285,16919ลูนเคสทันทัสเมเนีย86,109
10วอลลอนกองนิวเซาท์เวลส์282,09920อัลเบอร์รี่–โวดองกานิวเซาท์เวลส์/วิกตอเรีย84,982
กีฬาดูบทความหลักที่: ออสเตรเลียในกีฬาเครือจักรภพ, ออสเตรเลียในกีฬาโอลิมปิก และ ออสเตรเลียในกีฬาพาราลิมปิกวัฒนธรรมดูบทความหลักที่: วัฒนธรรมออสเตรเลียวัฒนธรรมของออสเตรเลียมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะแบบอังกฤษหรือแองโกล-เคลติก แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งพัฒนามาจากสภาพแวดล้อมและชนพื้นเมืองในระยะหลัง วัฒนธรรมของออสเตรเลียยังได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกัน
วรรณกรรมส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้อาหารส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ดนตรีส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้สื่อสารมวลชนดูบทความหลักที่: สื่อสารมวลชนประเทศออสเตรเลีย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้วันหยุดดูบทความหลักที่: รายชื่อวันสำคัญของออสเตรเลีย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้วันชาติออสเตรเลีย วันอังคารที่ 28 มกราคม วัน Good Friday วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม วัน Easter Sunday วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม วัน Easter Monday วันจันทร์ที่ 1 เมษายน วัน ANZAC Day วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน
อ้างอิง
- ↑ It's an Honour – Symbols – Australian National Anthem and DFAT – "The Australian National Anthem"; "National Symbols" (PDF). Parliamentary Handbook of the Commonwealth of Australia (29th ed.). 2002 (updated 2005). สืบค้นเมื่อ 7 June 2007. Check date values in: |year= (help)
- ↑ Australia's เพลงสรรเสริญพระบารมี is "ก็อดเซฟเดอะควีน", played in the presence of a member of the Royal family when they are in Australia. In all other appropriate contexts, the เพลงชาติ of Australia, "แอดวานซ์ออสเตรเลียแฟร์", is played.[1]
- ↑ "3101.0 - Australian Demographic Statistics, Mar 2007". Australian Bureau of Statistics. 2007-09-24. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14. (อังกฤษ)
- ↑ "Australia". World Bank.
- ↑ "Constitution of Australia". ComLaw. 1 June 2003. สืบค้นเมื่อ 5 August 2011. 3. It shall be lawful for the Queen, with the advice of the Privy Council, to declare by proclamation that, on and after a day therein appointed, not being later than one year after the passing of this Act, the people of New South Wales, Victoria, South Australia, Queensland, and Tasmania, and also, if Her Majesty is satisfied that the people of Western Australia have agreed thereto, of Western Australia, shall be united in a Federal Commonwealth under the name of the Commonwealth of Australia.
- ↑ Wade, Nicholas (22 September 2011). "Australian Aborigine Hair Tells a Story of Human Migration". The New York Times.
- ↑ "European discovery and the colonisation of Australia". Australian Government: Culture Portal. Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts, Commonwealth of Australia. 11 January 2008. สืบค้นเมื่อ 7 May 2010. [The British] moved north to Port Jackson on 26 January 1788, landing at Camp Cove, known as 'cadi' to the Cadigal people. Governor Phillip carried instructions to establish the first British Colony in Australia. The First Fleet was under prepared for the task, and the soil around Sydney Cove was poor.
- ↑ Davison, Hirst and Macintyre, pp. 157, 254.
- ↑ "Both Australian Aborigines and Europeans Rooted in Africa – 50,000 years ago". News.softpedia.com. สืบค้นเมื่อ 27 April 2013.
- ↑ "Australian Social Trends". Australian Bureau of Statistics website. Commonwealth of Australia. สืบค้นเมื่อ 6 June 2008.
- ↑ Walsh, Michael (1991) "Overview of indigenous languages of Australia" in Suzane Romaine (ed.) Language in Australia, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 0-521-33983-9.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpopclock
- ↑ "Geographic Distribution of the Population". สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
- ↑ Data refer mostly to the year 2012. World Economic Outlook Database-October 2013, International Monetary Fund. Accessed on 8 October 2013.
- ↑ "Australia: World Audit Democracy Profile". WorldAudit.org. Archived from the original on 13 December 2007. สืบค้นเมื่อ 5 January 2008.
- ↑ "Australia's Size Compared". Geoscience Australia. Archived from the original on 24 March 2007. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
- ↑ Rosenberg, Matt (20 August 2009). "The New Fifth Ocean–The World's Newest Ocean – The Southern Ocean". About.com: Geography. สืบค้นเมื่อ 5 April2010.
- ↑ "Continents: What is a Continent?". National Geographic Society. สืบค้นเมื่อ 22 August 2009. "Most people recognize seven continents—Asia, Africa, North America, South America, Antarctica, Europe, and Australia, from largest to smallest—although sometimes Europe and Asia are considered a single continent, Eurasia."
- ↑ "Australia". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 22 August 2009. "Smallest continent and sixth largest country (in area) on Earth, lying between the Pacific and Indian oceans."
- ↑ "Islands". Geoscience Australia. Archived from the original on 24 April 2010. "Being surrounded by ocean, Australia often is referred to as an island continent. As a continental landmass it is significantly larger than the many thousands of fringing islands ..."
- ↑ "Australia in Brief: The island continent". Department of Foreign Affairs and Trade. Archivedfrom the original on 4 June 2009. สืบค้นเมื่อ 29 May2009. "Mainland Australia, with an area of 7.69 million square kilometres, is the Earth's largest island but smallest continent."
- ↑ "State of the Environment 2006". Department of the Environment and Water Resources. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
- ↑ "Oceans and Seas – Geoscience Australia". Geoscience Australia. Archived from the original on 3 July 2009.
- ↑ UNEP World Conservation Monitoring Centre (1980). "Protected Areas and World Heritage – Great Barrier Reef World Heritage Area". Department of the Environment and Heritage. Archived from the original on 28 May 2007. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
- ↑ "Mount Augustus". The Sydney Morning Herald. 17 February 2005. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ "Highest Mountains". Geoscience Australia. สืบค้นเมื่อ 2 February 2012.
- ↑ "Parks and Reserves—Australia's National Landscapes". Environment.gov.au. 23 November 2011. สืบค้นเมื่อ 4 January 2012.
- ↑ Macey, Richard (21 January 2005). "Map from above shows Australia is a very flat place". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 5 April 2010.
- ↑ Kelly, Karina (13 September 1995). "A Chat with Tim Flannery on Population Control". Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010."Well, Australia has by far the world's least fertile soils".
- ↑ Grant, Cameron (August 2007). "Damaged Dirt"(PDF). The Advertiser. Archived from the original(PDF) on 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010. Australia has the oldest, most highly weathered soils on the planet.
- ↑ Loffler, Ernst (1983). Australia: Portrait of a continent. Richmond, Victoria: Hutchinson Group (Australia). pp. 37–39. ISBN 0-09-130460-1.Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
- ↑ "Australia – Climate of a Continent". Bureau of Meterorology. Archived from the original on 26 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:33.0 33.1 "Countries of the World (by lowest population density)". WorldAtlas. Archived from the original on 24 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March2010.
- ↑ "1301.0 – Year Book Australia, 2008". Australian Bureau of Statistics. 7 February 2008. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:35.0 35.1 Johnson, David (2009). The Geology of Australia (2 ed.). Cambridge University Press. p. 202. ISBN 978-0-521-76741-5.
- ↑ Seabrooka, Leonie; McAlpinea, Clive; Fenshamb, Rod (2006). "Cattle, crops and clearing: Regional drivers of landscape change in the Brigalow Belt, Queensland, Australia, 1840–2004". Landscape and Urban Planning. 78 (4): 375–376. doi:10.1016/j.landurbplan.2005.11.00.
- ↑ "Einasleigh upland savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June2010.
- ↑ "Mitchell grass downs". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
- ↑ "Eastern Australia mulga shrublands". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June2010.
- ↑ "Southeast Australia temperate savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
- ↑ "Arnhem Land tropical savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June2010.
- ↑ "Rangelands – Overview". Australian Natural Resources Atlas. Australian Government. 27 June 2009. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
- ↑ "Cape York Peninsula tropical savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
- ↑ Van Driesum, Rob (2002). Outback Australia. Lonely Planet. p. 306. ISBN 1-86450-187-1.
- ↑ "Victoria Plains tropical savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June2010.
- ↑ "Western Australian Mulga shrublands". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
- ↑ "Central Ranges xeric scrub". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June2010.
- ↑ Banting, Erinn (2003). Australia: The land. Crabtree Publishing Company. p. 10. ISBN 0-7787-9343-5.
- ↑ "Tirari-Sturt stony desert". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
- ↑ "Great Sandy-Tanami desert". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June2010.
- ↑ Kleinman, Rachel (6 September 2007). "No more drought: it's a 'permanent dry'". The Age. Melbourne. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ Marks, Kathy (20 April 2007). "Australia's epic drought: The situation is grim". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:53.0 53.1 "Australia – Climate of Our Continent". Bureau of Meteorology. 2010. สืบค้นเมื่อ 17 June2010.
- ↑ "Climate of Western Australia". Bureau of Meteorology. สืบค้นเมื่อ 6 December 2009.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:55.0 55.1 "Ancient heritage, modern society". Department of Foreign Affairs and Trade. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14. (อังกฤษ)
- ↑ "A Brief Aboriginal History". Aboriginal Heritage Office. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14. (อังกฤษ)
- ↑ กระโดดขึ้นไป:57.0 57.1 57.2 "European discovery and the colonisation of Australia". Culture and Recreation Portal. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14. (อังกฤษ)
- ↑ กระโดดขึ้นไป:58.0 58.1 "Convict Records". Public Record office of Victoria. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
- ↑ "State Records Office of Western Australia". สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
- ↑ "Australian Bureau of Statistics 1998 Special Article". The State of New South Wales. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
- ↑ "The Australian Gold Rush". Culture and Recreation Portal. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
- ↑ "Chronology of the ACT". Canberra & District Historical Society. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16. (อังกฤษ)
- ↑ "Australia - Statute of Westminster Adoption Act 1942". สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
- ↑ "1939 - 'Australia is at war ...'". ANZAC Day Commemoration Committee. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17.(อังกฤษ)
- ↑ "Second World War 1939–45". Australian War Memorial. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
- ↑ "Abolition of the 'White Australia' Policy". Australian Department of Immigration. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
- ↑ "1999 Referendum Report and Statistic". Australian Electoral Commission. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
- ↑ "Queen and Commonwealth". สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
- ↑ กระโดดขึ้นไป:69.0 69.1 "Australian Constitution: Chapter 2 - The Executive Government". australianpolitics.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
- ↑ "Governor-General's Role". สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
- ↑ "Federal Executive Council Handbook" (PDF). Federal Executive Council Secretariat. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
- ↑ "Federal Parliament". australianpolitics.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
- ↑ "An Overview of Australian Political Parties". australianpolitics.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18.
- ↑ "555" (PDF). Bill of rights and statehood symnosium. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19. (อังกฤษ)
- ↑ "Commonwealth Heads of Government Meeting". Commonwealth website. Pall Mall, London: Commonwealth Secretariat. 2009. Archived from the original on 26 March 2010. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010.
- ↑ "S Korean President backs anti-protectionism moves". Australian Broadcasting Corporation. 4 March 2009. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ "Crean calls for Govt to 'mobilise anger' over US steel tariffs". Australian Broadcasting Corporation. 7 March 2002. Archived from the original on 11 May 2011. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ Crean, Simon. "The Triumph of Trade Liberalisation Over Protectionism". Department of Foreign Affairs and Trade. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ Gallagher, P. W. (1988). "Setting the agenda for trade negotiations: Australia and the Cairns group". Australian Journal of International Affairs. 42 (1 April 1988): 3–8. doi:10.1080/10357718808444955.
- ↑ "APEC and Australia". APEC 2007. 1 June 2007. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ "Australia:About". Organisation for Economic Co-operation and Development. Archived from the original on 20 April 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ "Australia – Member information". World Trade Organization. Archived from the original on 25 May 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ "Australia-United States Free Trade Agreement". Canberra, ACT: Department of Foreign Affairs and Trade. Archived from the original on 17 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ "Closer Economic Relations". Canberra, ACT: Department of Foreign Affairs and Trade. Archived from the original on 8 October 2009. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ "Japan-Australia Relations". Ministry of Foreign Affairs of Japan. Archived from the original on 23 May 2010. สืบค้นเมื่อ 19 June 2010.
- ↑ "Gillard confident of S Korean trade deal – ABC News (Australian Broadcasting Corporation)". Abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
- ↑ "S. Korea, Australia set free-trade talks deadline". Nz.news.yahoo.com. สืบค้นเมื่อ 26 April2011.
- ↑ Arvanitakis, James; Tyler, Amy (3 June 2008). "In Defence of Multilateralism". Centre for Policy Development. Archived from the original on 2009-09-17.
- ↑ Australian Government. (2005). Budget 2005–2006
- ↑ Center for Global Development. Commitment to Development Index: Australia, www.cgdev.org. Retrieved 5 January 2008.
- ↑ "Appendix 7: People: Defence actual staffing". Defence Annual Report 2008–09. Department of Defence. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
- ↑ Khosa, Raspal (2004). Australian Defence Almanac 2004–05. Canberra: Australian Strategic Policy Institute. p. 4.
- ↑ "Budget 2010–11: Portfolio budget overview". Australian Department of Defence. 2010. Archived from the original on 16 May 2011. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
- ↑ Stockholm International Peace Research Institute (2011). The 15 major spender countries in 2011.
- ↑ Australian Department of Defence. Global Operations. Retrieved 9 March 2009.
- ↑ Pascoe, I.G. (1991). History of systematic mycology in Australia. History of Systematic Botany in Australasia. Ed. by: P. Short. Australian Systematic Botany Society Inc. pp. 259–264.
- ↑ "About Biodiversity". Department of the Environment and Heritage. Archived from the original on 5 February 2007. สืบค้นเมื่อ 18 September 2007.
- ↑ Lambertini, Marco (2000). A Naturalist's Guide to the Tropics (excerpt). University of Chicago Press. ISBN 0-226-46828-3. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:99.0 99.1 "About Australia: Flora and fauna". Department of Foreign Affairs and Trade website. Commonwealth of Australia. May 2008. สืบค้นเมื่อ 15 May 2010.
- ↑ "Snake Bite", The Australian Venom Compendium.
- ↑ PMID 15299143 (PubMed)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - ↑ "Humans to blame for extinction of Australia's megafauna". The University of Melbourne. 8 June 2001. Archived from the original on 2 April 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ "The Thylacine Museum - A Natural History of the Tasmanian Tiger". The Thylacine Museum. สืบค้นเมื่อ 14 October 2013.
- ↑ "National Threatened Species Day". Department of the Environment and Heritage, Australian Government. 2006. Archived from the original on 9 December 2006. สืบค้นเมื่อ 21 November 2006.
- ↑ "Invasive species". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts. 17 March 2010. Archived from the original on 29 June 2010. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
- ↑ "About the EPBC Act". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts. Archived from the original on 31 May 2010. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
- ↑ "National Strategy for the Conservation of Australia's Biological Diversity". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts. 21 January 2010. Archived from the original on 2011-03-12. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
- ↑ "Conservation of biological diversity across Australia". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts. 19 January 2009. Archived from the original on 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 14 June2010.
- ↑ "The List of Wetlands of International Importance" (PDF). Ramsar Convention. 22 May 2010. pp. 6–7. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
- ↑ "Australia". UNESCO World Heritage Centre. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 5 September 2009.
- ↑ "2010 Environmental Performance Index". Yale University. Archived from the original on 16 October 2010. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
- ↑ Atmosphere: Major issue: climate change, Australian State of the Environment Committee, 2006.
- ↑ ANU poll finds 'it's the environment, stupid', Australian National University. Retrieved 8 January 2008.
- ↑ Smith, Deborah (22 May 2007). "Australia's carbon dioxide emissions twice world rate". The Sydney Morning Herald. Archived from the original on 17 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ "Regional Rainfall Trends". Bureau of Meteorology. สืบค้นเมื่อ 8 July 2009.
- ↑ "Annual Australian Climate Statement 2011". Bom.gov.au. 4 January 2012. สืบค้นเมื่อ 15 April 2012.
- ↑ "Saving Australia's water". BBC News. 23 April 2008. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010.
- ↑ "National review of water restrictions in Australia". Australian Government National Water Commission. 15 January 2010. Archived from the original on 2012-02-27. สืบค้นเมื่อ 27 September2012.
- ↑ "Government to help Kalgoorlie quake victims". Australian Broadcasting Corporation. 20 April 2010. Archived from the original on 6 June 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
- ↑ Cassen, Robert (1982). Rich Country Interests and Third World Development. United Kingdom: Taylor & Francis. ISBN 0-7099-1930-1.
- ↑ "Australia, wealthiest nation in the world". 20 October 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2012.
- ↑ "Australian's the world's wealthiest". The Sydney Morning Herald. 31 October 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July2012.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:123.0 123.1 Credit Suisse Research Institute (9 October 2013). "Global Wealth Reaches New All-Time High". The Financialist. Credit Suisse. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
- ↑ AAP (12 October 2013). "Richest nation but poverty increasing". The Australian. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
- ↑ "On the International Realignment of Exchanges and Related Trends in Self-Regulation – Australian Stock Exchange" (PDF). Archived from the original (PDF) on 13 December 2010. สืบค้นเมื่อ 3 January 2010.
- ↑ "Australia". 2010 Index of Economic Freedom. Archived from the original on 30 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
- ↑ "Human Development Report 2010 – tables"(PDF). United Nations. 2010. Archived (PDF) from the original on 29 April 2011. สืบค้นเมื่อ 25 April 2011.
- ↑ "Melbourne 'world's top city'". The Age. 6 February 2004. Archived from the original on 30 January 2009. สืบค้นเมื่อ 31 January 2009.
- ↑ "Liveability ranking: Melbourne storm". The Economist. 30 August 2011. สืบค้นเมื่อ 10 October2010.
- ↑ "Liveability ranking: Australian gold". The Economist. 14 August 2012. สืบค้นเมื่อ 8 February2014.
- ↑ "Daily chart: The Melbourne supremacy". The Economist. 28 August 2013. สืบค้นเมื่อ 8 February2014.
- ↑ Hughes, Tim. "Australian dollar continues astronomical rise to 30-year highs as US dollar, euro tank". Courier Mail. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
- ↑ "Australia Public debt – Economy". Indexmundi.com. 9 January 2012. สืบค้นเมื่อ 15 April2012.
- ↑ "Nick Bryant's Australia: Australian affordablity". BBC. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
- ↑ "5368.0 – International Trade in Goods and Services, Australia, April 2007". Australian Bureau of Statistics. 31 May 2007. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:136.0 136.1 "Might Australia's economic fortunes turn?". The Economist. 29 March 2007. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "World Economic Outlook (WEO) 2010 Rebalancing Growth". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012.
- ↑ "Australia slashes immigration as recession looms". London: The Independent. 16 March 2009. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
- ↑ Mclennan, David (12 April 2011). "Australian economy growing as new recession fears fade". The Canberra Times. Archived from the original on 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
- ↑ "National economy grows but some non-mining states in recession". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
- ↑ Syvret, Paul (7 April 2012). "Mining punches through recession". Courier Mail. Archived from the original on 2012-04-16.
- ↑ "Non-mining states going backwards". ABC. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
- ↑ Macfarlane, I. J. (October 1998). "Australian Monetary Policy in the Last Quarter of the Twentieth Century" (PDF). Reserve Bank of Australia Bulletin. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
- ↑ Parham, Dean (1 October 2002). "Microeconomic reforms and the revival in Australia's growth in productivity and living standards" (PDF). Conference of Economists Adelaide. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
- ↑ Tran-Nam, Binh. "The Implementation Costs of the GST in Australia: Concepts, Preliminary Estimates and Implications [2000] JlATax 23; (2000) 3(5)". Journal of Australian Taxation 331. Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ "Part 1: Australian Government Budget Outcome". Budget 2008–09 – Australian Government. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:147.0 147.1 Australian Bureau of Statistics. 6202.0 – Labour Force, Australia, April 2012 [1]
- ↑ Patricia Karvelas (13 November 2013). "Call for end to welfare poverty". The Australian. สืบค้นเมื่อ 15 November 2013.
- ↑ "Australia. CIA – The World Factbook". Cia.gov. Archived from the original on 29 December 2010. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:150.0 150.1 150.2 Australian Bureau of Statistics. Year Book Australia 2005.
- ↑ "Wine Australia". wineaustralia. Archived from the original on 23 October 2010. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
- ↑ "The Beach". Australian Government: Culture Portal. Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts, Commonwealth of Australia. 17 March 2008. Archived from the original on 2010-02-26.
- ↑ The Australian Bureau of Statistics has stated that most who list "Australian" as their ancestry are part of the Anglo-Celtic group. [2]
- ↑ "Reflecting a Nation: Stories from the 2011 Census, 2012–2013". Australian Bureau of Statistics. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
- ↑ "Land of many cultures, ancestries and faiths". The Sydney Morning Herald. 22 June 2012.
- ↑ "3105.0.65.001—Australian Historical Population Statistics, 2006" (XLS). Australian Bureau of Statistics. 23 May 2006. Archived from the original on 8 September 2007. สืบค้นเมื่อ 18 September 2007. Australian population: (1919) 5,080,912; (2006) 20,209,993
- ↑ "Background note: Australia". US Department of State. Archived from the original on 20 May 2007. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:158.0 158.1 "Fact Sheet 20 – Migration Program Planning Levels". Department of Immigration and Citizenship. 11 August 2009. Archived from the original on 7 May 2010. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
- ↑ "Australia's population to grow to 42 million by 2050, modelling shows". News.com.au. 17 April 2010
- ↑ "2011 Census reveals one in four Australians is born overseas". Australian Bureau of Statistics. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:161.0 161.1 161.2 161.3 "Cultural Diversity In Australia". Australian Bureau of Statistics. 16 April 2013. สืบค้นเมื่อ 11 January 2013.
- ↑ "The Evolution of Australia's Multicultural Policy". Department of Immigration and Multicultural and Indigenous Affairs. 2005. Archived from the originalon 19 February 2006. สืบค้นเมื่อ 18 September 2007.
- ↑ "Settler numbers on the rise". Minister for Immigration and Citizenship. 27 December 2006. Archived from the original on 9 June 2007. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
- ↑ "Targeted migration increase to fill skills gaps". Department of Immigration and Citizenship. 8 May 2012. Archived from the original on 11 May 2012.
- ↑ "Fact Sheet 2 – Key Facts In Immigration – Department of Immigration and Citizenship". Immi.gov.au. สืบค้นเมื่อ 27 April 2013.
- ↑ "Rural population". Rural population refers to people living in rural areas as defined by national statistical offices. World Bank. สืบค้นเมื่อ 15 February2014.
- ↑ "Aboriginal and Torres Strait Islander Australia revealed as 2011 Census data is released". Australian Bureau of Statistics. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
- ↑ "1301.0 – Year Book Australia, 2004". Australian Bureau of Statistics. 27 February 2004. Archivedfrom the original on 15 May 2009. สืบค้นเมื่อ 24 April2009.
- ↑ Lunn, Stephen (26 November 2008). "Life gap figures not black and white". The Australian. News Limited. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
- ↑ Gibson, Joel (10 April 2009). "Indigenous health gap closes by five years". The Sydney Morning Herald. Fairfax. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
- ↑ Grattan, Michelle (8 December 2006). "Australia hides a 'failed state'". Melbourne: The Age. Archived from the original on 19 November 2008. สืบค้นเมื่อ 17 October 2008.
- ↑ Manne, Robert. "Extract: Dear Mr Rudd". Safecom. สืบค้นเมื่อ 17 October 2008.
- ↑ Skelton, Russell (17 March 2008). "Poor fellow, failed state". Melbourne: The Age. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
- ↑ "Remote Australia a 'failed state'". Australian Broadcasting Corporation. 15 September 2008. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
- ↑ "Remote Australia a failed state: Indigenous policy makers". Australian Broadcasting Corporation. 4 September 2008. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
- ↑ Parliament of Australia, Parliamentary Library (7 March 2005). Australia's aging workforce.
- ↑ Parliament of Australia, Senate (2005). Inquiry into Australian Expatriates.
- ↑ Duncan, Macgregor; Leigh, Andrew; Madden, David and Tynan, Peter (2004). Imagining Australia. Allen & Unwin. p. 44. ISBN 978-1-74114-382-9.
- ↑ "2006 Census Tables : Australia". Australian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15. (อังกฤษ)
- ↑ "NCLS releases latest estimates of church attendance". NCLS. 2004-02-28. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15. (อังกฤษ)
- ↑ "Pluralist Nations: Pluralist Language Policies?". 1995 Global Cultural Diversity Conference Proceedings, Sydney. Department of Immigration and Citizenship. Archived from the original on 20 December 2008. สืบค้นเมื่อ 11 January 2009. "English has no de jure status but it is so entrenched as the common language that it is de facto the official language as well as the national language."
- ↑ Moore, Bruce. "The Vocabulary Of Australian English" (PDF). National Museum of Australia. สืบค้นเมื่อ 5 April 2010.
- ↑ "The Macquarie Dictionary", Fourth Edition. The Macquarie Library Pty Ltd, 2005.
- ↑ A Snapshot of Early Childhood Development in Australia (PDF). Australian Government Department of Education, Employment and Workplace Relations. December 2009. p. 8. ISBN 978-0-9807246-0-8. Archived from the original (PDF) on 2011-04-08.
- ↑ Agence France-Presse/Jiji Press, "Arabic Australia's second language", The Japan Times, 16 April 2011, p. 4.
- ↑ "National Indigenous Languages Survey Report 2005". Department of Communications, Information Technology and the Arts. Archived from the original on 9 July 2009. สืบค้นเมื่อ 5 September2009.
- ↑ Australian Bureau of Statistics (4 May 2010). "4713.0 – Population Characteristics, Aboriginal and Torres Strait Islander Australians, 2006" (in Canberra). Australian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
- ↑ Australian Bureau of Statistics (27 June 2007). "20680-Language Spoken at Home (full classification list) by Sex – Australia". 2006 Census Tables : Australia. Canberra: Australian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
- ↑ "About Australia: Religious Freedom". Dfat.gov.au. Archived from the original on 2011-08-06. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
- ↑ "Indigenous Traditions – Australian Aboriginal and Torres Strait Islanders". Abc.net.au. 14 December 1999. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
- ↑ "2011 Census reveals Hinduism as the fastest growing religion in Australia". Australian Bureau of Statistics. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
- ↑ "Religious Affiliation – Australia: 2001 and 1996 Census" (PDF). Community Relations Commission for a multicultural NSW. สืบค้นเมื่อ 28 November2012.
- ↑ Pope rests with piano and cat ahead of World Youth Day. AFP. 13 July 2008 – mentioned in the last two sentences of article
- ↑ NCLS releases latest estimates of church attendance, National Church Life Survey, Media release, 28 February 2004.
- ↑ Australian population in 2001 was 19,358,000, according to Encyclopædia Britannica's Book of the Year 2002, World Data, p548.
- ↑ Painter, Stephanie; Ryan, Vivienne and Hiatt, Bethany (15 June 2010). "Australians losing the faith". The West Australian. สืบค้นเมื่อ 10 June2011.
- ↑ Ian Townsend (30 January 2012). "Thousands of parents illegally home schooling". ABC News. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
- ↑ "Home Education Australia". สืบค้นเมื่อ 13 October 2013. (Includes links to relevant page on each state's education department website.)
- ↑ "Schooling Overview". Australian Government, Department of Education, Employment and Workplace Relations. Archived from the original on 2011-03-28.
- ↑ "Education". Department of Immigration and Citizenship. สืบค้นเมื่อ 14 January 2012.
- ↑ "Our system of education". Australian Government: Department of Foreign Affairs and Trade. Archived from the original on 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
- ↑ "The Department of Education – Schools and You – Schooling". Det.wa.edu.au. Archived from the original on 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 31 December2011.
- ↑ "Education Act (NT) – Section 20". austlii.edu.au.
- ↑ "Education Act 1990 (NSW) – Section 21". austlii.edu.au.
- ↑ "Minimum school leaving age jumps to 17". The Age. 28 January 2009. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
- ↑ "Literacy". CIA World Factbook. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
- ↑ "A literacy deficit". abc.net.au. 22 September 2013. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
- ↑ "Australian Education | Australian Education System | Education | Study in Australia". Ausitaleem.com.pk. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
- ↑ Education at a Glance 2006. Organisation for Economic Co-operation and Development
- ↑ "About Australian Apprenticeships". Australian Government. Archived from the original on 11 November 2009. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
- ↑ Education at Glance 2005 by OECD: Percentage of foreign students in tertiary education.
- ↑ How Australia compares Australian Institute of Health and Welfare
- ↑ "Life expectancy". Australian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
- ↑ "Skin cancer – key statistics". Department of Health and Ageing. 2008.
- ↑ Risks to health in Australia Australian Institute of Health and Welfare
- ↑ Smoking – A Leading Cause of Death. The National Tobacco Campaign.
- ↑ % Global prevalence of adult obesity (BMI ≥ 30 kg/m²): country rankings 2012 IASO
- ↑ "About Overweight and Obesity". Department of Health and Ageing. Archived from the original on 7 May 2010.
- ↑ "Health care in Australia". About Australia. Department of Foreign Affairs and Trade. 2008. Archived from the original on 4 April 2010.
- ↑ กระโดดขึ้นไป:220.0 220.1 Biggs, Amanda (29 October 2004). "Medicare – Background Brief". Parliament of Australia: Parliamentary Library. Canberra, ACT: Commonwealth of Australia. Archived from the original on 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010.
- ↑ Australian Taxation Office (19 June 2007). "What is the Medicare levy?". Australian Taxation Office website. Australian Government. Archived from the original on 10 June 2008. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
- ↑ "3218.0 – Regional Population Growth, Australia, 2011–12". Australian Bureau of Statistics. 30 April 2013. สืบค้นเมื่อ 2 May 2013
ข้อตกลงในการใช้ บริการทำวีซ่า กับ NYC Visa&Translation Service ทางบริษัท NYC Visa&Translation Service ขอแจ้งข้อตกลงการใช้ บริการทำวีซ่า ของ NYC Visa&Translation Service กับลูกค้าทุกท่าน เพื่อให้การตกลงซื้อขายบริการใด ๆ จาก
บริษัทฯ เป็นไปโดยสมบูรณ์ กรุณาดำเนินการดังต่อไปนี้
บริษัทฯ เป็นไปโดยสมบูรณ์ กรุณาดำเนินการดังต่อไปนี้
- เตรียมเอกสารประกอบการยื่นวีซ่า ให้ครบถ้วนตามที่พนักงานแจ้งให้ท่านทราบ
- ระยะเวลาการยื่นวีซ่า จะเริ่มนับจากทางบริษัทได้รับเอกสารจากลูกค้าครบถ้วน
- หากมีการปลอมแปลงเอกสารใดๆ หรือ บิดเบือนข้อความในเอกสาร ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ไม่รับผิดชอบทุกกรณี
- หากลูกค้าไม่ผ่านพิจารณาวีซ่าจากสถานทูต ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ไม่รับผิดชอบทุกกรณี เนื่องจากการพิจารณาเป็นดุลยพินิจของสถานทูตเป็นที่สิ้นสุด
- โปรดตรวจสอบ อายุการใช้งานของหนังสือเดินทาง ( Passport) ของผู้โดยสาร และผู้ร่วมเดินทางทุกท่าน ว่าจะต้องคงมีอายุเหลือ ณ วันเดินทาง มากกว่า 6 เดือน ขึ้นไป
- กรณีที่ ท่านไม่ได้ทำการทักท้วงใด ๆ ในลักษณะลายลักษณ์อักษร บริษัทฯ ถือว่าท่านได้รับทราบเงื่อนไขและข้อกำหนดทั้งหมด ของบริษัทฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยหากเกิดความเสียหายใดๆ บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับผิดชอบทุกกรณี
- หากท่านมีข้อสงสัยใดๆ กรุณาสอบถามพนักงาน " แผนกกรุ๊ปเหมา และ วีซ่า ที่ท่านติดต่อได้ตลอดเวลาทำการของบริษัทฯ
- ระหว่างเวลา 09:00 - 18.00 น ในวันจันทร์ - ศุกร์ ได้ทางโทรศัพท์ 083-2494999
- การดำเนินการขอวีซ่า Visa บริษัทมีหน้าที่ดูแลเอกสาร และดำเนินการเกี่ยวกับยื่นเอกสารให้กับสถานทูตเพื่อพิจารณาวีซ่า Visa แต่ผลการพิจารณาวีซ่า Visa ขึ้นอยู่กับสถานทูตของแต่ละประเทศเท่านั้น
- กรณีลูกค้าที่ดำเนินการยื่นวีซ่า Visa แล้ว แต่หากสถานทูตปฏิเสธวีซ่าลูกค้า (วีซ่าไม่ผ่าน) ลูกค้าจะต้องชำระค่าธรรมเนียมของสถานทูตเองในครั้งต่อไปเอง เนื่องจากการพิจารณาให้วีซ่านั้น เป็นดุลยพินิจของสถานทูต
- กรณีลูกค้าชำระค่าธรรมเนียม และ ค่าบริการยื่นวีซ่า แล้ว จะไม่สามารถขอคืนเงินจากบริษัทไม่ว่ากรณีใด ๆ
รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย , ให้คำปรึกษาวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าทำงานประเทออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับยื่นวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับทำวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับปรึกษาวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย , ให้คำปรึกษาวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, ให้คำปรึกษาวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, แนะนำวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าท่องเที่ยวประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าทำงานประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่านักเรียนประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าคู่มั่นประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าแต่งงานประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าถาวรประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าติดตามประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าธุรกิจประเทศออสเตรเลีย, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าดูงานประเทศออสเตรเลีย, ติดต่อขอใช้บริการ สาขาในกรุงเทพมหานคร แขวงขุมทอง แขวงจตุจักร แขวงจอมพล แขวงจันทรเกษม แขวงลาดยาว แขวงเสนานิคม เขตจอมทอง แขวงจอมทอง แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงบางมด เขตดอนเมือง แขวงสีกัน เขตดินแดง แขวงดินแดง เขตดุสิต แขวงดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี แขวงวชิรพยาบาล แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงบางเชือกหนัง แขวงบางพรม แขวงบางระมาด แขวงทวีวัฒนา แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทุ่งครุ แขวงทุ่งครุ แขวงบางมด เขตธนบุรี แขวงดาวคะนอง แขวงตลาดพลู แขวงบางยี่เรือ แขวงบุคคโล แขวงวัดกัลยาณ์บูรณะ แขวงบางปะกอก แขวงราษฎร์บูรณะ เขตลาดกระบังแขวงยานนาวา เขตสายไหม แขวงคลองถนน แขวงสายไหม แขวงออเงิน เขตหนองแขม แขวงหนองแขม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองจอก แขวงกระทุ่มราย แขวงคลองสิบ แขวงคลองสิบสอง แขวงคู้ฝั่งเหนือ แขวงโคกแฝด แขวงลำต้อยติ่ง แขวงลำผักชี แขวงหนองจอก เขตหลักสี่ แขวงตลาดบางเขน แขวงทุ่งสองห้อง เขตห้วยขวาง แขวงบางกะปิ แขวงสามเสนนอก แขวงสำเหร่ แขวงหิรัญรูจี เขตบางเขน แขวงท่าแร้ง แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางแค แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ แขวงบางไผ่ แขวงหลักสอง เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดท่าพระ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกน้อย แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงบ้านช่างหล่อ แขวงศิริราช แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกะปิ แขวงคลองจั่น แขวงหัวหมาก เขตบางขุนเทียน แขวงท่าข้าม แขวงแสมดำ เขตบางคอแหลม แขวงบางโคล่ แขวงบางคอแหลม แขวงวัดพระยาไกร เขตบางซื่อ แขวงบางซื่อ เขตบางนา แขวงบางนา เขตบางบอน แขวงบางบอน เขตบางพลัด แขวงบางบำหรุ แขวงบางพลัด แขวงบางยี่ขัน แขวงบางอ้อ เขตบางรัก แขวงบางรัก แขวงมหาพฤฒาราม แขวงสี่พระยา แขวงสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบึงกุ่ม แขวงคลองกุ่ม เขตปทุมวัน แขวงปทุมวัน แขวงรองเมือง แขวงลุมพินี แขวงวังใหม่ เขตประเวศ แขวงดอกไม้ แขวงประเวศ แขวงหนองบอน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร แขวงป้อมปราบ แขวงวัดเทพศิรินทร์ แขวงวัดโสมนัส เขตพญาไท แขวงสามเสนใน เขตพระโขนง แขวงบางจาก เขตพระนคร แขวงชนะสงคราม แขวงตลาดยอดแขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองสามประเวศ แขวงทับยาว แขวงลาดกระบัง แขวงลำปลาทิว เขตลาดพร้าว แขวงจรเข้บัว แขวงลาดพร้าว เขตวังทองหลาง แขวงวังทองหลาง เขตวัฒนา แขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ แขวงพระโขนงเหนือ เขตสวนหลวง แขวงสวนหลวง เขตสะพานสูง แขวงสะพานสูง เขตสัมพันธวงศ์ แขวงจักรวรรดิ แขวงตลาดน้อย แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสาทร แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน แถว เขตคลองเตย แขวงคลองเตย แขวงคลองตัน แขวงพระโขนง เขตคลองสาน แขวงคลองต้นไทร แขวงคลองสาน แขวงบางลำพูล่าง แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสามวา แขวงทรายกองดิน แขวงทรายกองดินใต้ แขวงบางชัน แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก เขตคันนายาว แขวงคันนายาว เขตจตุจักร แขวงบวรนิเวศ แขวงบางขุนพรหม แขวงบ้านพานถม แขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงวังบูรพาภิรมย์ แขวงวัดราชบพิธ แขวงวัดสามพระยา แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงสำราญราษฎร์ แขวงเสาชิงช้า เขตภาษีเจริญ แขวงคลองขวาง แขวงคูหาสวรรค์ แขวงบางจาก แขวงบางด้วน แขวงบางแวก แขวงบางหว้า แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตมีนบุรี แขวงมีนบุรี แขวงแสนแสบ เขตยานนาวา แขวงช่องนนทรี แขวงบางโพงพาง เขตราชเทวี แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราษฎร์ แขวงห้วยขวาง สาขาในจังหวัดอ่างทอง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครราชสีมา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดบึงกาฬ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดบุรีรัมย์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดพัทลุง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดภูเก็ต โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดระนอง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสตูล โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสงขลา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดชลบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดตราด โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดปราออสเตรเลียบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดระยอง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสระแก้ว โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดกาญจนบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอุบลราชธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอำนาจเจริญ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดกำแพงเพชร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอุทัยธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดสมุทรสาคร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสิงห์บุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสกลนคร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสุรินทร์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดศรีสะเกษ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดหนองคาย โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครนายก โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครปฐม โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครสวรรค์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเชียงราย โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเชียงใหม่ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดน่าน โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพะเยา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดลำปาง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดลำพูน โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดกาฬสินธุ์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดขอนแก่น โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดตาก โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดมหาสารคาม โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดแพร่ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสมุทรสงคราม โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดยะลา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนนทบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดปทุมธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพิจิตร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดชุมพร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดตรัง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครศรีธรรมราช โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนราธิวาส โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดปัตตานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพังงา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดร้อยเอ็ด โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเลย โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครพนม โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดชัยนาท โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพิษณุโลก โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเพชรบูรณ์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดลพบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสมุทรปราการ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดหนองบัวลำภู โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอุดรธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดมุกดาหาร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดยโสธร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดชัยภูมิ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดจันทบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดสุโขทัย โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสุพรรณบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสระบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเพชรบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดราชบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดกระบี่ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,
OUR CLIENTS
.
ติดต่อสอบถามรายละเอียดและขอใช้บริการ ศูนย์รับแปลภาษา บริษัทรับแปลภาษา สถาบันรับแปลภาษา ร้านรับแปลภาษา เอเจนซี่รับแปลภาษา Agency รับแปลภาษา หน่วยงานรับแปลภาษา หาที่รับแปลภาษา แนะนำที่รับแปลภาษา ที่รับแปลภาษา Pantip ศูนย์รับแปลเอกสาร บริษัทรับแปลเอกสาร สถาบันรับแปลเอกสาร ร้านรับแปลเอกสาร เอเจนซี่รับแปลเอกสาร Agency รับแปลเอกสาร หน่วยงานรับแปลเอกสาร หาที่รับแปลเอกสาร แนะนำที่รับแปลเอกสาร ที่รับแปลเอกสาร Pantip, ศูนย์แปล ร้านแปล สถาบันแปล บริษัทแปล สำนักงานแปล เอเจนซี่แปล หาที่แปล แนะนำที่แปล หน่วยงานรับแปล 汉语 官话, Español, English, العربية, हिन्दी, Português, বাংলা, Русский, язык, 日本語, Deutsch, Basa Jawa, 汉语, 吴方言, తెలుగు, मराठी, Tiếng Việt, 한국어, 조선말, தமிழ், Français, Italiano, ਪੰਜਾਬੀ, پنجابی, اُردو, 汉语, 粵語, 廣東語, Türkçe, 汉语, 閩方言, ગુજરાતી, język polski, украї́нська мо́ва, فارسی, മലയാളം, ಕನ್ನಡ, ଓଡ଼ିଆ, မြန်မာဘာသာ, ภาษาไทย, Amharic, Basa Sunda, Azərbaycan dili, كوردی, پښتو, Hausa, Oromo, limba română, Bahasa Indonesia, Nederlands, Dutch, deutsch, Tagalog, O'zbek tili, सिन्धी, Yoruba, Somali, ພາສາລາວ, Cebuano, Bahasa Melayu, بهاس ملايو, Igbo, Malagasy, नेपाली, Khaskura, অসমীয়া, Magyar, Shona, Khmer, ភាសាខ្មែរ, Vahcuengh, Vaьcueŋь, Madura, සිංහල, Sinhala, Fulani, Tamazight, český jazyk, Ελληνικά, Cрпски, Quechua, Zulu, Chichewa, беларуская мова, svenska, Kongo, Akan, Қазақ тілі, Hmoob, Yi, Tshiluba, Ilokano, Български, Uyghur, Haitian Creole, Kinyarwanda, Xhosa, Balochi, Hiligaynon, Tigrinya, Catalan, Հայերեն, Minangkabau, Türkmen dili, Makua, hrvatski, Santali, Batak, Shqip, Afrikaans, Монгол (Mongol), ᠮᠣᠨᠭᠭᠣᠯ ᠬᠡᠯᠡ(Mongghol), भीली, Bhili, suomi, Gikuyu, Dansk, עִבְרִית, Slovenský jazyk, Mòoré, kiSwahili, Guarani, Kirundi, Sesotho, Romani, Norsk, བོད་སྐད་, Kanuri, Tswana, کٲشُر, ქართული, Wolof làkk, Umbundu, Konkani, Balinese, Northern Sotho, Bikol, Luyia, Wolof, Bemba, Buginese, Luo; Dholuo, Maninka, Mazandarani, Gilaki, Shan, Tsonga, Galician, Sukuma, Yiddish, Jamaican Creole, Kyrgyz, Waray-Waray, Ewe, Lietuvių Kalba, Luganda, Achinese, Kimbundu, Hindko, Ibibio-Efik, Rajbangsi, KUI, Garhwali, Bambara, Ometo, Indian Sign Language, Betawi creole, Karen, Gondi, Senoufo, Kalenjin, Kumauni, Kamba, Luri, Quiché, Kapampangan, Bosnian, Aymara, Tiv, Brahui, Gbaya, Zarma, Baoulé, Dogri, Lingala, Sasak, Kurux, Mundari, Dinka, Slovenian, Buyei, Beti-Pahuin, Dimli; Zazaki, Tulu, Sidamo, Bashkir, Yao, Chuvash, Ijaw, Fon, Swazi, Nyankore, Tatar, Makasar, македонски , Gusii, Khandesi, Ndebele, Chin, Sara, Pangasinan, Latviešu, Tonga, Lampung, Sardinian, Scots, Dong, Mende, Tày, Nahuatl, Afar, Dagbani, Koli, Chiga, Soga, Tumbuka, Iu Mien, Meru, Gogo, Meithei; Manupuri, Tamang, Makonde, Bai, Tuareg, Mandinka, Dioula, Temne, Haya, Serer, Beja, Nyamwezi, Abron, Alur, Sena, Azande, Walloon, Anyi, Malvi, Kinaray-a, Soninke, Ho, eesti keel, Nyakyusa, Gwari, Lugbara, Naga, Susu, Tausug, Chokwe, Kabardian, Ryukyu, Maguindanao, Maranao, Songe, Rejang, Edo; Bini, Ebira, Dagaare, Gujari, Tharu, Chechen, Venda, Arakanese, Translation Services in Krabi จังหวัดกระบี่ Thailand, Translation Services in Kanchanaburi จังหวัดกาญจนบุรี Thailand, Translation Services in Kalasin จังหวัดกาฬสินธุ์ Thailand, Translation Services in Kamphaeng จังหวัดกำแพงเพชร Thailand, Translation Services in Khon Kaen จังหวัดขอนแก่น Thailand, Translation Services in Chanthaburi จังหวัดจันทบุรี Thailand, Translation Services in Chachoengsao จังหวัดฉะเชิงเทรา Thailand, Translation Services in Chonburi จังหวัดชลบุรี Thailand, Translation Services in Chainat จังหวัดชัยนาท Thailand, Translation Services in Chaiyaphum จังหวัดชัยภูมิ Thailand, Translation Services in Chumphon จังหวัดชุมพร Thailand, Translation Services in Chiang Mai จังหวัดเชียงใหม่ Thailand, Translation Services in Chiang Rai จังหวัดเชียงราย Thailand, Translation Services in Trang จังหวัดตรัง Thailand, Translation Services in Trat จังหวัดตราด Thailand, Translation Services in Tak จังหวัดตาก Thailand, Translation Services in Nakhon Nayok จังหวัดนครนายก Thailand, Translation Services in Nakhon Pathom จังหวัดนครปฐม Thailand, Translation Services in Nakhon Phanom จังหวัดนครพนม Thailand, Translation Services in Nakhon Ratchasima จังหวัดนครราชสีมา Thailand, Translation Services in Nakhon Si Thammarat จังหวัดนครศรีธรรมราช Thailand, Translation Services in Nakhon Sawan จังหวัดนครสวรรค์ Thailand, Translation Services in Nonthaburi จังหวัดนนทบุรี Thailand, Translation Services in Narathiwat จังหวัดนราธิวาส Thailand, Translation Services in Nan จังหวัดน่าน Thailand, Translation Services in Bueng Kan จังหวัดบึงกาฬ Thailand, Translation Services in Buriram จังหวัดบุรีรัมย์ Thailand, Translation Services in Pathum Thani จังหวัดปทุมธานี Thailand, Translation Services in Prachuap Khiri Khan จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ Thailand, Translation Services in Prachinburi จังหวัดปราจีนบุรี Thailand, Translation Services in Pattani จังหวัดปัตตานี Thailand, Translation Services in Phra Nakhon Si Ayutthaya จังหวัดพระนครศรีอยุธยา Thailand, Translation Services in Phayao จังหวัดพะเยา Thailand, Translation Services in Phang Nga จังหวัดพังงา Thailand, Translation Services in Phatthalung จังหวัดพัทลุง Thailand, Translation Services in Phichit จังหวัดพิจิตร Thailand, Translation Services in Phitsanulok จังหวัดพิษณุโลก Thailand, Translation Services in Phetchaburi จังหวัดเพชรบุรี Thailand, Translation Services in Phetchabun จังหวัดเพชรบูรณ์ Thailand, Translation Services in Phrae จังหวัดแพร่ Thailand, Translation Services in Phuket จังหวัดภูเก็ต Thailand, Translation Services in Maha Sarakham จังหวัดมหาสารคาม Thailand, Translation Services in Mukdahan จังหวัดมุกดาหาร Thailand, Translation Services in Mae Hong Son จังหวัดแม่ฮ่องสอน Thailand, Translation Services in Yasothon จังหวัดยโสธร Thailand, Translation Services in Yala จังหวัดยะลา Thailand, Translation Services in Roi Et จังหวัดร้อยเอ็ด Thailand, Translation Services in Ranong จังหวัดระนอง Thailand, Translation Services in Rayong จังหวัดระยอง Thailand, Translation Services in Ratchaburi จังหวัดราชบุรี Thailand, Translation Services in Lopburi จังหวัดลพบุรี Thailand, Translation Services in Lampang จังหวัดลำปาง Thailand, Translation Services in Lamphun จังหวัดลำพูน Thailand, Translation Services in Loei จังหวัดเลย Thailand, Translation Services in Sisaket จังหวัดศรีสะเกษ Thailand, Translation Services in Sakon Nakhon จังหวัดสกลนคร Thailand, Translation Services in Songkhla จังหวัดสงขลา Thailand, Translation Services in Satun จังหวัดสตูล Thailand, Translation Services in Samut Prakan จังหวัดสมุทรปราการ Thailand, Translation Services in Samut Songkhram จังหวัดสมุทรสงคราม Thailand, Translation Services in Samut Sakhon จังหวัดสมุทรสาคร Thailand, Translation Services in Sa Kaeo จังหวัดสระแก้ว Thailand, Translation Services in Saraburi จังหวัดสระบุรี Thailand, Translation Services in Sing Buri จังหวัดสิงห์บุรี Thailand, Translation Services in Sukhothai จังหวัดสุโขทัย Thailand, Translation Services in Suphan Buri จังหวัดสุพรรณบุรี Thailand, Translation Services in Surat Thani จังหวัดสุราษฎร์ธานี Thailand, Translation Services in Surin จังหวัดสุรินทร์ Thailand, Translation Services in Nong Khai จังหวัดหนองคาย Thailand, Translation Services in Nong Bua Lamphu จังหวัดหนองบัวลำภู Thailand, Translation Services in Ang Thong จังหวัดอ่างทอง Thailand, Translation Services in Amnat Charoen จังหวัดอำนาจเจริญ Thailand, Translation Services in Udon Thani จังหวัดอุดรธานี Thailand, Translation Services in Uttaradit จังหวัดอุตรดิตถ์ Thailand, Translation Services in Uthai Thani จังหวัดอุทัยธานี Thailand, Translation Services in Ubon Ratchathani จังหวัดอุบลราชธานี Thailand, โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เบอร์ 083-2494999 หรือ Line Official ID : @NYC168 Email : nyc@Outlook.co.th
บริการแปลเอกสารราชการภาษาไทย และเอกสารอื่น ๆ ทุกประเภท ประเภทเอกสารราชการ #รับแปลเอการราชการ #รับแปลใบหย่า #รับแปลใบหย่าคร7 #รับแปลใบทะเบียนหย่า #รับแปลใบทะเบียนการหย่า #รับแปลใบสำคัญการหย่า #รับแปลใบสูติบัตร #รับแปลใบสูติบัตรทร1 #รับแปลใบสูติบัตรทร19 #รับแปลใบเกิด #รับแปลมรณบัตร #รับแปลทะเบียนการสมรส #รับแปลหนังสือรับรองโสด #รับแปลหนังสือรับรองสถาณภาพสมรส #รับแปลใบมรณบัตรบัตรทร4 #รับแปลใบมรณบัตรบัตรทร4ตอน1 #รับแปลใบตาย #รับแปลหนังสือรับรองการตาย #รับแปลใบขับขี่ #รับแปลใบสด43 #รับแปลใบสด9 #รับแปลใบสด8 #รับแปลทะเบียนรถ #รับแปลคู่มือรถยนต์ #รับแปลพาสปอร์ต #รับแปลหนังสือเดินทาง #รับแปลใบสุทธิ #รับแปลหนังสือรับรองการเกิด #รับแปลหนังสือรับรองการเกิดและสถานที่เกิด #รับแปลPASSPORT #รับแปลโฉนดที่ดิน #รับแปลใบเปลี่ยนชื่อ #รับแปลทะเบียนบ้าน #รับแปลใบรับรองโสด #รับแปลทะเบียนสมรส #รับแปลใบสำคัญการสมรส #รับแปลหนังสือรับรองการสมรส #รับแปลทะเบียนราษฏ์ #รับแปลบัตรประชาชน #รับแปลหนังสือเดินทาง #รับแปลใบรับรองแพทย์ #รับแปลหนังสือรับรองสถาณภาพทางครอบครัว คู่สมรส และบุตร #รับแปลหนังสือรับรองแพทย์ #รับแปลใบตรวจโรค #รับแปลใบชัณสูตรศพ #รับแปลใบเปลี่ยนนามสกุล #รับแปลหนังสือรับรองสถานที่เกิด #รับแปลหนังสือรับรองบุตรบุญธรรม #รับแปลทะเบียนรับบุตรบุญธรรม #รับแปลหนังสือรับรองความประพฤติ #รับแปลหนังสือรับรองการอุปการะบุตร #รับแปลหนังสือรับรองการปกครองบุตร #รับแปลหนังสือสำคัญการจัดตั้งนามสกุล #รับแปลหนังสือรับรองความบุคคลคนเดียวกัน #รับแปลหนังสือรับรองทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว #รับแปลใบตรวจสอบประวัติอาชญากรรม #รับแปลใบมอบอำนาจ #รับแปลหนังสือมอบอำนาจ #รับแปลหนังสือยินยิมบุตรไปต่างประเทศ #รับแปลหนังสือยืนยันความเป็นโสด #รับแปลหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว #รับแปลหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่นชื่อรอง #รับแปลบัตรข้าราชการ #รับแปลบันทึกการสมรส #รับแปลหนังสือรับรองความสัมพันธ์ครอบครัว #รับแปลหนังสือรับรองความสัมพันธ์การสมรส #รับแปลบันทึกคำให้การสถานภาพสมรส #รับแปลหนังสือให้ความยินยอม #รับแปลหน้าวีซ่า #รับแปลคำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร #รับแปลหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวแบบช3 #รับแปลหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบช5 #รับแปลทะเบียนสมรสคร2 #รับแปลข้อมูลทะเบียนครอบครัว #รับแปลคำยืนยันอิสรภาพเพื่อสมรส #รับแปลใบบำเหน็จ #รับแปลใบบำนาญ #รับแปลหนังสือรับรองเงินเดือน #รับแปลหนังสือรับรองสถาณะพลเรือน #รับแปลหนังสือรับรองที่อยู่อาศัย #รับแปลแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร #รับแปลหนังสือรับรองจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ประเภทเอกสารยื่นขอวีซ่า #รับแปลเอกสารวีซ่า #รับแปลใบสมัครวีซ่า #รับแปลผลวีซ่า #รับแปลใบสมัครวีซ่า #รับแปลผลการปฏิเสธวีซ่า #รับแปลVisaApplication ประเภทเอกสารวิชาการ #รับแปลงานวิจัย #รับแปลบทคัดย่อ #รับแปลวิทยานิพนธ์ #รับแปลงานนาฏศิลป์ #รับแปลงานวิทยาศาสตร์ #รับแปลงานคณิตศาสตร์ #รับแปลงานแพทย์ศาสตร์ #รับแปลงานเภสัชศาสตร์ #รับแปลงานครุศาสตร์ #รับแปลงานจิตวิทยา #รับแปลงานทันต์แพทย์ศาสตร์ #รับแปลงานนิติศาสตร์ #รับแปลงานนิเทศศาสตร์ #รับแปลงานบริหารธุรกิจ #รับแปลงานพยาบาลศาสตร์ #รับแปลงานสายดุริยางศิลป์ รับปลงานพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี #รับแปลงานเภสัชศาสตร์ #รับแปลงานรัฐศาสตร์ #รับแปลงานเศรษฐศาสตร์ #รับแปลงานวิศวกรรมศาสตร์ #รับแปลงานศิลปกรรมศาสตร์ #รับแปลงานสหเวชศาสตร์ #รับแปลงานภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ #รับแปลงานสัตวแพทย์ศาสตร์ #รับแปลงานอักษรศาสตร์ #รับแปลงานบัณฑิตวิทยาลัย #รับแปลงานทรัพยากรการเกษตร #รับแปลงานประชากรศาสตร์ #รับแปลงานปิโตเลียมและปิโตรเคมี #รับแปลงานนวิทยาศาสตร์สาธารณสุข #รับแปลงานสถาบันการขนส่ง #รับแปลงานสาบันทรัพย์สินทางปัญญา #รับแปลงานวิจัยทรัพยากรทางน้ำ #รับแปลงานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ #รับแปลงานวิศวกรรมพันธุศาสตร์ #รับแปลงานวิจัยพลังงาน #รับแปลงานวิจัยโลหะและวัสดุ #รับแปลงานวิจัยสภาวะสิ่งแวดล้อม #รับแปลงานวิจัยสังคม #รับแปลงานเอเชียศึกษา ประเภทเอกสารทางการศึกษา #รับแปลใบรับรองการศึกษา #รับแปลหนังสือรับรองการศึกษา #รับแปลเอกสารทางการศึกษา #รับแปลหนังสือรับรองสถาณภาพนักศึกษา #รับแปลใบประกาศนียบัตร #รับแปลใบรบ. #รับแปลใบรบ.ปวช #รับแปลใบรบ.ปวส #รับแปลใบแสดงผลการเรียน #รับแปลใบTRANSCRIPT #รับแปลใบแสดงผลการเรียนป6 #รับแปลใบแสดงผลการเรียนม3 #รับแปลใบแสดงผลการเรียนม6 #รับแปลใบแสดงผลการเรียนปริญญาตรี #รับแปลใบแสดงผลการเรียนปริญญาโท #รับแปลใบแสดงผลการเรียนปริญญาเอก #รับแปลหนังสือรับรองสถาณภาพนักศึกษา #รับแปลทรานสคริปต์ #รับแปลหลักฐานแสดงผลการเรียน #รับแปลAbstract #รับแปลใบรับรองผลการศึกษา #รับแปลใบสภาวิชาชีพบัญชี #รับแปลระเบียนแสดงผลการศึกษานอกโรงเรียนประเภทเอกสารอื่นๆ #รับแปลเรซูเม่ #รับแปลอีเมลล์ #รับแปลกลอน #รับแปลบทกวี #รับแปลคำขวัญ #รับแปลเวปไซต์ #รับแปลชื่อ-สกุล #รับแปลยศทหาร #รับแปลบทความ #รับแปลสโลแกน #รับแปลยศตำรวจ #รับแปลเพลงสากล #รับแปลหนังสือเรียน #รับแปลบทความนิตยสาร #รับแปลบทความออนไลน์ #รับแปลจดหมายสมัครงาน #รับแปลจดหมายแนะนำตัว #รับแปลบทความหนังสือพิมพ์ #รับแปลรายการจดทะเบียนรถยนต์ #รับแปลรายการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ ประเภทเอกสารทางธุรกิจการค้า #รับแปลงบดุล #รับแปลใบปลิว #รับแปลสิทธิบัตร #รับแปลใบแจ้งหนี้ #รับแปลฉลากสินค้า #รับแปลใบสำคัญรับ #รับแปลใบPO #รับแปลใบวางบิล #รับแปลใบส่งสินค้า #รับแปลใบสำคัญจ่าย #รับแปลใบเสนอราคา #รับแปลใบลดหนี้ #รับแปลใบเพิ่มหนี้ #รับแปลใบเสร็จรับเงิน #รับแปลทะเบียนการค้า #รับแปลงบกำไรขาดทุน #รับแปลสโลแกนบริษัท #รับแปลทะเบียนพาณิชย์ #รับแปลใบจดทะเบียนบริษัท #รับแปลใบบอจ3 #รับแปลใบบอจ5 #รับแปลใบภ.พ.20 #รับแปลภ.ง.ด.90 #รับแปลภ.ง.ด.91 #รับแปลใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม #รับแปลใบแจ้งค่าบริการ #รับแปลเอกสารทางบัญชี #รับแปลรายงานการประชุม #รับแปลหนังสือบริคณห์สนธิ #รับแปลหนังสือรับรองบริษัท #รับแปลหนังสือคู่มือซอฟต์แวร์ #รับแปลหนังสือรับรองนิติบุคคล #รับแปลหนังสือคู่มือการใช้สินค้า #รับแปลหนังสือรับรองการทำงาน #รับแปลหนังสือลางาน #รับแปลหนังสือลาคลอดบุตร #รับแปลโบชัวร์(แผ่นพับโฆษณา) #รับแปลหนังสือรับรองการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ #รับแปลรายการเดินบัญชีธนาคาร #รับแปลStatement #รับแปลสมุดบัญชีธนาคาร #รับแปลหนังสือรับรองสถาณะทางการเงิน #รับแปลหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล #รับแปลใบอนุญาตให้ดำเนินการกิจการ #รับแปลหนังสือจัดตั้งสถานบริการ #รับแปลหนังสือรับรองการประกอบธุระกิจของคนต่างด้าว #รับแปลข้อบังคับบริษัท #รับแปลหนังสือสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น #รับแปลหนังสือเชิญประชุม #รับแปลวาระการประชุม #รับแปลรายงานการประชุม #รับแปลรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น #รับแปลบัตรพนักงาน #รับแปลสัญญาการจ้างงาน #รับแปลแบบแจ้งการผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอางค์ควบคุม #รับแปลหนังสือรับรองฮาลาล #รับแปลหนังสือรับรองการหักภาษีณที่จ่าย #รับแปลหนังสือแต่งตั้งตัวแทนรับมอบอำนาจ #รับแปลเอกสารรับรองเงินเดือน #รับแปลหนังสือสัญญาการโอนห้องชุด ประเภทเอกสารทางกฎหมาย #รับแปลคำสั่งศาล #รับแปลสัญญาเช่า #รับแปลใบแจ้งความ #รับแปลงานกฎหมาย #รับแปลสัญญาจ้างงาน #รับแปลสัญญาจ้างแรงงาน #รับแปลสัญญาซื้อ-ขาย #รับแปลสัญญาเช่าบ้าน #รับแปลสัญญาเช่าที่ #รับแปลสัญญาเช่าซื้อ #รับแปลสัญญาซื้อขาย #รับแปลสัญญาก่อสร้าง #รับแปลสัญญาทางธุรกิจ #รับแปลหนังสือค้ำประกัน #รับแปลหนังสือมอบอำนาจ #รับแปลใบรับรองการเสียภาษี #รับแปลเอกสารหลักฐานทางคดี #รับแปลคำพิพากษา #รับแปลหนังสือสัญญาให้ #รับแปลหนังสือรับรองคำพิพากษา #รับแปลภาษาคาซัคสถาน #รับแปลภาษาเติร์กเมนิสถาน #รับแปลภาษาอุซเบกิสถาน #รับแปลภาษาคีร์กีซสถาน #รับแปลภาษาทาจิกิสถาน #รับแปลภาษาทิเบต #รับแปลภาษาญี่ปุ่น #รับแปลภาษามองโกเลีย #รับแปลภาษาเวียดนาม #รับแปลภาษาพม่า #รับแปลภาษากัมพูชา #รับแปลภาษาภาษาเขมร #รับแปลภาษาลาว #รับแปลภาษาอินโดนีเซีย #รับแปลภาษามาเลเซีย #รับแปลภาษาฟิลิปปินส์ #รับแปลภาษาตากาล็อก #รับแปลภาษาบรูไน #รับแปลภาษาไทย #รับแปลภาษายาวี #รับแปลภาษารูมี #รับแปลภาษาส่วย #รับแปลภาษากะเหรี่ยง #รับแปลภาษาสิงคโปร์ #รับแปลภาษาจีน #รับแปลภาษาอังกฤษ #รับแปลภาษาติมอร์เลสเต #รับแปลภาษาภาษาอังกฤษ #รับแปลภาษาภาษาอินโดนีเซีย #รับแปลภาษาภาษาโปรตุเกส #รับแปลภาษาภาษาเตตุม #รับแปลภาษากลุ่มภาษาเอเชียใต้ #รับแปลภาษาอินเดีย #รับแปลภาษาปากีสถาน #รับแปลภาษาบังกลาเทศ #รับแปลภาษาเนปาล #รับแปลภาษาศรีลังกา #รับแปลภาษาภูฏาน #รับแปลภาษามัลดีฟส์ #รับแปลภาษาอัฟกานิสถาน #รับแปลภาษาอาร์เมเนีย #รับแปลภาษาอาเซอร์ไบจาน #รับแปลภาษาบาหร์เรน #รับแปลภาษาไซปรัส #รับแปลภาษาจอร์เจีย #รับแปลภาษาอิสราเอล #รับแปลภาษาอิหร่าน #รับแปลภาษาฮัชไมต์จอร์แดน #รับแปลภาษาคูเวต #รับแปลภาษาเลบานอน #รับแปลภาษาโอมาน #รับแปลภาษาปาเลสไตน์ #รับแปลภาษากาตาร์ #รับแปลภาษาซาอุดีอาระเบีย #รับแปลภาษาซีเรีย #รับแปลภาษาตุรกี #รับแปลภาษาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ #รับแปลภาษาเยเมน #รับแปลภาษาอิรัก #รับแปลภาษาทวียุโรป #รับแปลภาษาภาษาในทวีปยุโรป #รับแปลภาษาประเทศ ภาษาราชการและภาษาอื่นๆ #รับแปลภาษาเนเธอแลนด์ #รับแปลภาษาฝรั่งเศส #รับแปลภาษากรีก #รับแปลภาษาเยอรมัน #รับแปลภาษาอิตาลี #รับแปลภาษาอังกฤษ #รับแปลภาษาเช็ก #รับแปลภาษานอเวย์ #รับแปลภาษาโปรตุเกส #รับแปลภาษาไอซ์แลนด์ #รับแปลภาษาไอร์แลนด์ #รับแปลภาษาฮังการี #รับแปลภาษาโครเอเชีย #รับแปลภาษาเบลาลุส #รับแปลภาษาโคโซโว #รับแปลภาษาซานมาริโน #รับแปลภาษายูเครน #รับแปลภาษาโปแลนด์ #รับแปลภาษาฟินแลนด์ #รับแปลภาษาโรมาเนีย #รับแปลภาษาเดนมาร์ก #รับแปลภาษาสวีเดน #รับแปลภาษาลิทัวเนีย #รับแปลภาษาเซอร์เบีย #รับแปลภาษาบอสเนีย #รับแปลภาษาเฮอร์เซวีนา #รับแปลภาษาบัลกาเรีย #รับแปลภาษาเบลเยี่ยม #รับแปลภาษามอนเตเนโกร #รับแปลภาษามอลโดวา #รับแปลภาษามอลตา #รับแปลภาษามาซิโดเนีย #รับแปลภาษาโมนาโก #รับแปลภาษาสโลวาเกีย #รับแปลภาษาลักเซมเบิร์ก #รับแปลภาษาลัตเวีย #รับแปลภาษาลิกเตนสไตน์ #รับแปลภาษาสโลวีเนีย #รับแปลภาษาสวิตเซอร์แลนด์ #รับแปลภาษาออสเตรีย #รับแปลภาษาอันดอร์รา #รับแปลภาษาเอสโตเนีย #รับแปลภาษาแอลเบเนีย #รับแปลภาษารัสเซีย #รับแปลภาษาสเปน ทวีปโอเชเนีย ภาษาในทวีปโอเชเนียประเทศภาษาราชการและภาษาอื่นๆ ที่ใช้ในประเทศ #รับแปลภาษาคิริบาส #รับแปลภาษาซามัว #รับแปลภาษาตองกา #รับแปลภาษาตูวาลู #รับแปลภาษานาอูรู #รับแปลภาษานิวซีแลนด์ #รับแปลภาษาปาเลา #รับแปลภาษาปาปัวนิวกินี #รับแปลภาษาฟิจิ #รับแปลภาษาไมโครนีเซีย #รับแปลภาษาวานูอาตู #รับแปลภาษาหมู่เกาะโซโลมอน #รับแปลภาษาสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ #รับแปลภาษาออสเตรเลีย #รับแปลภาษากวม #รับแปลภาษาเครือรัฐหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา #รับแปลภาษาอเมริกันซามัว #รับแปลภาษาเกาะคริสต์มาส #รับแปลภาษาเฟรนช์โปลินีเชีย #รับแปลภาษานีอูเอ #รับแปลภาษาหมู่เกาะพิตแคร์น #รับแปลภาษาโตเกเลา #รับแปลภาษาหมู่เกาะวาลลิส #รับแปลภาษาฟุตูนา #รับแปลภาษานิวแคนิโคเนีย #รับแปลภาษาเขตปกครองตนเองหมู่เกาะคุก ทวีปอเมริกา ภาษาในทวีปอเมริกากลุ่มภาษาอเมริกาเหนือ #รับแปลภาษาสหรัฐอเมริกา #รับแปลภาษาแคนาดา #รับแปลภาษาแองกวิลลา #รับแปลภาษาแอนติกาและบาร์บูดา #รับแปลภาษาอารูบา #รับแปลภาษาบาฮามาส #รับแปลภาษาบาร์เบโดส #รับแปลภาษาหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน #รับแปลภาษาหมู่เกาะเคย์แมน #รับแปลภาษาคิวบา #รับแปลภาษาโดมินิกา #รับแปลภาษาโดมินิกัน #รับแปลภาษาเกรเนดา #รับแปลภาษากวาเดอลูป #รับแปลภาษาเฮติ #รับแปลภาษาจาเมกา #รับแปลภาษามาร์ตีนีก #รับแปลภาษามอนต์เซอร์รัต #รับแปลภาษาเกาะนาวาสซา #รับแปลภาษาเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส #รับแปลภาษาเซนต์คิตส์และเนวิส #รับแปลภาษาเซนต์ลูเซีย #รับแปลภาษาเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ #รับแปลภาษาตรินิแดดและโนเบโก #รับแปลภาษาหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส #รับแปลภาษาหมู่เกาะเวอร์จิน #รับแปลภาษาเบอร์มิวดา #รับแปลภาษากรีนแลนด์ #รับแปลภาษาแซงปีแยร์และมีเกอลง #รับแปลภาษาเปอร์โตริโก กลุ่มภาษาอเมริกาใต้ #รับแปลภาษากายอานา #รับแปลภาษาโคลัมเบีย #รับแปลภาษาชิลี #รับแปลภาษาซูรินาเม #รับแปลภาษาบราซิล #รับแปลภาษาหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ #รับแปลภาษาโบลิเวีย #รับแปลภาษาปารากวัย #รับแปลภาษาเปรู #รับแปลภาษาเวเนซูเอลา #รับแปลภาษาเฟรนช์เกียนา #รับแปลภาษาอาร์เจนตินา #รับแปลภาษาอุรุกวัย #รับแปลภาษาเอกวาดอร์ #รับแปลภาษาเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช #NAATI #NAATIหมายถึงอะไร #NAATIคืออะไร #แนะนำที่รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATIPantip #แปลภาษาพร้อมรับรองNAATIPantip #รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATIPantip #เวปแปลภาษาพร้อมรับรองNAATI #เวปรับแปลพร้อมรับรองNAATI #Webแปลพร้อมรับรองNAATI #Webรับแปลพร้อมรับรองNAATI #Websiteแปลพร้อมรับรองNAATI #Websiteรับแปลพร้อมรับรองNAATI #แปลภาษาพร้อมรับรองNAATIออนไลน์ #รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATIออนไลน์ #แปลภาษาพร้อมรับรองNAATIOnline #รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATIOnline #NAATI #นักแปลNAATI #แปลเอกสารNAATI #รับแปลNAATI #รับรองNAATI #แปลภาษาพร้อมรับรองNAATI #รับรองเอกสารNAATI #บริการNAATICertification #NAATITranslator #บริการNAATI #NAATIที่ #NAATIใน #NAATIแถว #แปลNAATI #Naati #แปลNAATI #รับรองNAATI #แปลพร้อมรับรองNAATI #แปลและรับรองNAATI #นักแปลNAATI #NAATICertification #NAATITranslator #NAATINearMe #แปลพร้อมรับรองNAATI #รับแปลพร้อมรับรองNAATI #ศูนย์แปลพร้อมรับรองNAATI #ศูนย์รับแปลพร้อมรับรองNAATI #บริษัทแปลพร้อมรับรองNAATI #บริษัทรับแปลพร้อมรับรองNAATI #สถาบันแปลพร้อมรับรองNAATI #สถาบันรับแปลพร้อมรับรองNAATI #สำนักงานแปลพร้อมรับรองNAATI #สำนักงานรับแปลพร้อมรับรองNAATI #ร้านแปลพร้อมรับรองNAATI #ร้านรับแปลพร้อมรับรองNAATI #เอเจนซี่แปลพร้อมรับรองNAATI #เอเจนซี่รับแปลพร้อมรับรองNAATI #Agencyแปลพร้อมรับรองNAATI #Agencyรับแปลพร้อมรับรองNAATI #คนแปลพร้อมรับรองNAATI #คนรับแปลพร้อมรับรองNAATI #หน่วยงานแปลพร้อมรับรองNAATI #หน่วยงานรับแปลพร้อมรับรองNAATI #ตัวแทนสถานทูตรับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATI #ตัวแทนสถานทูตรับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATI #สถานทูตแปลพร้อมรับรองNAATI #สถานทูตรับแปลพร้อมรับรองNAATI #หาที่แปลพร้อมรับรองNAATI #หาที่รับแปลพร้อมรับรองNAATI #แนะนำที่แปลภาษาพร้อมรับรองNAATI #แนะนำที่รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATI #ทนายแปลพร้อมรับรองNAATI #ทนายรับแปลพร้อมรับรองNAATI #ล่ามแปลพร้อมรับรองNAATI #ล่ามรับแปลพร้อมรับรองNAATI #คนแปลพร้อมรับรองNAATI #คนรับแปลพร้อมรับรองNAATI #จ้างแปลพร้อมรับรอง NAATI #รับจ้างแปลพร้อมรับรองNAATI #แปลภาษาพร้อมรับรองNAATIผ่านทางLine #รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATIผ่านทางLine #แปลภาษาพร้อมรับรองNAATIราคาถูก #รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATIราคาถูก #แปลภาษาพร้อมรับรองNAATIด่วน #รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATIด่วน #แปลภาษาพร้อมรับรองNAATIไว้ใจได้ #รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATIไว้ใจได้ #แปลภาษาพร้อมรับรองNAATIได้งานชัวร์ #รับแปลภาษาพร้อมรับรองNAATIได้งานชัวร์ notary near me, ทนายเซ็นรับรองเอกสาร, notary public, notary public thailand, notarial services attorney, INTERNATIONAL LAW & NOTARY OFFICE, notary public คืออะไร, notarized แปล, ศูนย์แปลภาษานานาชาติ, notarial services attorney thailand, notarial services attorney, notarized แปลว่า, lawyers council of thailand notary, nyc notary public, civil law notary, notarial services attorney คือ, notary nyc, นิติกรกรมบังคับคดี pantip, notary public norway, notary service bangkok, affidavit, notary public ราคาถูก, notary public คือ, thailand notary public, notary public, thailand notary, certified true copy, แปล เอกสาร พร้อม รับรอง, notary public, รับแปลเอกสาร, certified true copy แปลว่า, notary public คือ, notary public bangkok, แปลเอกสาร ภาษา อังกฤษ, แปลเอกสาร, แปลสูติบัตร, สถาบันการแปลที่ได้รับการรับรอง, สถาบันแปลภาษา, naati, แปลพาสปอร์ตเป็นภาษาไทย, แปล ทะเบียนบ้าน, รับแปลภาษารัสเซีย, แปล transcript, รับแปลภาษาเยอรมัน, แปล หนังสือบริคณห์สนธิ ภาษาอังกฤษ, notary, แปลภาษา, nyc visa and translation, รับแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษ, รับแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย, แปลเอกสารไทยเยอรมัน, รับ แปล ภาษา อังกฤษ, สถาบัน แปลภาษาอังกฤษ, รับแปลภาษาพม่า, รับแปลภาษาอังกฤษ, สถาบัน แปล, notary public คืออะไร, รับแปลภาษาเกาหลี, รับแปลภาษาสเปน, รับแปลภาษาลาว, โนตารีพับลิค, รับแปลภาษาจีน, law attorney, รับแปลภาษาเวียดนาม, โนตารี่พับลิค, แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip, รับแปลเอกสารกฎหมาย, business attorney, legal lawyer, แปลภาษาเกาหลี, แปลภาษาเกาหลีเป็นภาษาไทย, business lawyer, แปล ภาษา, รับแปลภาษาญี่ปุ่น, แปลภาษาเกาหลีเป็นไทย, ที่แปลเอกสาร, ตัวอย่าง บอจ.5 ภาษาอังกฤษ, notary public thailand, แปลเอกสารภาษาญี่ปุ่น, verified true copy, notary, international business lawyer, รับรองโดย ภาษาอังกฤษ, institute แปล, notarial certificate แปลว่า, แปลภาษาไทยเป็นเกาหลี, notarization คือ, certified true translation, แปล ภาษา เกาหลี, แปลภาษาจีน, แปลเอกสาร กงสุล pantip, naati แปลเอกสาร, แปลภาษาไทยเป็นสวีเดน, แปลภาษาสวีเดนเป็นภาษาไทย, notary public ที่ไหน, transcript แปล, attorneys law, flujo circular del ingreso, institute แปลภาษาอังกฤษ, แปลเอกสาร pantip, onsite แปล, affidavit แปลว่า, notary in , แปลพาสปอร์ต, notary คือ, ผู้เชี่ยวชาญภาษากฎหมาย, notarial services, Document Translation Services in , list of notary public in thailand, Notary Services, Thailand Notary Public ทนายรับรองเอกสาร, Bangkok Notary Public รับรองเอกสารไปใช้ต่างประเทศ, Notary Public all around Thailand, Thai Notary, Notary Public Legal Services,Visa, Work Permit, Business Registration, Translation, Consular Service, โนตารี พับบลิค, รับรองเอกสาร, ทนายรับรองเอกสาร, รับจดทะเบียนบริษัท, จัดตั้งบริษัท, โนตารี พับลิค, Notary Public Service Bangkok, Thai Notary Public Attorney, Thailand Notary Public Thailand, Notary Public Bangkok, Notary Public Phuket, Thai Notarial Services Attorney, Notarial Services Attorney Thailand, Notarial Services Attorney Bangkok, Notarial Services Attorney Lawyer Thailand Bangkok and Phuket, authentication certify of documents for use abroad, Authentication certify of documents for continuing study abroad, authentication certify of Documents in order to work, marriage, relocation immigrant , apply for resident in other country, Certify of translator, Authentication Certify of Incorporation Documents for the purpose of investment, to operate as joint venture or in other purpose, authentication Certify of individual documents, marital status, birth certificate, death certificate, change name and surname certificate and etc, authentication Certify of documents for immigrant, authentication Certify for jobs works certificate, authentication Certify of signature by personal meeting and witness, authentication Certify for passport, Other authentication certify for the oath, compromise for the law cases and etc, our lawyers can visit your office anywhere in Thailand to discuss about your business, project that require notary public services You can trust us as we re professional, of authentication certify documents a month, below is all information provided by us such as Certificate, sample of certify, regulation and history of Notary Public in Thailand, Certificate of our Notarial Services Attorney, public notary in thailand, bangkok notary public,where can i find a public notary in Thailand, NYC Online Translation Services as a notary public in Bangkok, Thailand and offers a full range of attorney notarial services, Thai Notaries are attorneys having a special license from the Thailand Council of Lawyers They act as public notary in Thailand, How to Notarize a Document, รับรอง Notary Public , Bangkok Notary Public Service Thailand, Phuket, Samui, Chaning Mai, English Speaking Lawyer, Thai Company Setting Up, English Thai Translation Interpreter, Thai lawyer, Thai Notary, Notarization, Notarisabtion Thailand, Passport, Notary Services, drafting and legalization documents , Notarized โนตารี พับลิค ทนายความ เซ็นรับรองเอกสาร, What Is a Notary Public , What is a Notary The NNA defines what a Notary does to serve the public as an impartial witness in performing fraud deterrent acts related to document signings , บริการทนายรับรองเอกสาร (Notarial Services Attorney) , Notary public,โนตารี่ พับลิค, ทนายรับรองเอกสาร, ทนายความรับรองเอกสาร, ทนายรับรองลายมือ, รับรองสำเนาเอกสาร, ทนายรับรองลายเซ็น, ทนายรับรองลายมือชื่อ, รับรองลายเซ็น, notary public, notarial services attorney, โนตารีพับลิค สภาทนาย, ตราประทับโนตารี, ทนายเซ็นรับรองเอกสาร, ทนายความ โนตารี คือ, รับรองเอกสารเพื่อบังคับใช้ในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อใช้ในต่างประเทศ, รับรองเอกสาร รับรองใบสมัคร เพื่อเรียนต่อต่างประเทศ Affidavit of support /Sponser Notarization , รับรองสำเนาเอกสาร Certified true copy , รับรองสถานะการเงิน Statement Notarization , รับรองคำแปล แปลเอกสาร Certified true translation , รับรองลายมือชื่อ รับรองบุคคล กรรมการนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนSignature Notarization and Legalization , รับรองข้อเท็จจริง Marine protest Notary Public , รับรองความมีอยู่จริงของเอกสาร, รับรองการทำสัญญาระหว่างเอกชน Contract Agreement Notary Public , รับรองคำสาบาน Applicant Declaration , รับรองคำให้การ Declaration Notary Public , รับรองหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครอง Letter of Authorization for Travel / Custodianship declaration-Parents / Guardians Notary Public , รับรองลายมือชื่อกรรมการ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด เพื่อยื่นต่อกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดอัตราค่าบริการ Notary Public 's Feeรับรองเอกสารโนตารี พับลิค – รับรองลายมือชื่อ, รับรองลายมือชื่อ notarized-legalized ต่อกรมกงสุล, รับรองนิติกรรมที่เอกชนทำขึ้น, รับรองคำแปลเอกสาร, รับรองข้อเท็จจริง, รับรองสำเนาเอกสาร, รับรองความมีอยู่ของเอกสาร, จัดทำคำสาบาน, จัดทำบันทึกคำให้การ, ทำคำคัดค้านตราสาร, รับรองตัวบุคคล, notary public near me , notary public in thai language , thailand notary search , Notarization of a document is important as the act of notarization itself creates a guarantee on the authenticity of the document and NYC Online provide such service, รับรองเอกสารโดยทนายความ โนตารีพับลิค Notary public , Find a notary public in Bangkok Thailand onsite services anywhere anytime as you requested please call us 0832494999 , บริการด้านทนายความโนตารี พับลิค Notary public service 0832494999, รับรองเอกสารเพื่อบังคับใช้ในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อใช้ในต่างประเทศ, รับรองเอกสาร รับรองใบสมัคร เพื่อเรียนต่อต่างประเทศ Affidavit of support /sponsor Notarization, รับรองสำเนาเอกสาร Certified true copy , รับรองสถานะการเงิน Statement Notarization , รับรองคำแปล แปลเอกสาร Certified true translation , รับรองลายมือชื่อ รับรองบุคคล กรรมการนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน Signature Notarization and Legalization , รับรองข้อเท็จจริง Marine protest Notary public , รับรองความมีอยู่จริงของเอกสาร, รับรองการทำสัญญาระหว่างเอกชน Contract Agreement Notary public , รับรองคำสาบาน Applicant Declaration , รับรองคำให้การ Declaration Notary public , หนังสืออนุญาตจากผุ้ปกครอง Letter of Authorization for Travel /*Custodianship declaration- parents/guardians notary public , หนังสือมอบอำนาจให้ขอใบอนูญาตทำงาน Power of attorney for apply Thai work permit , บริการรับรองเอกสารโดยกระทรวงต่างประเทศ, บริการรับรองเอกสารกรมการกงสุล, บริการรับรองเอกสารกงสุลไทย, บริการรับรองเอกสารโดยนิติกร, รับรองเอกสาร, รับรองเอกสารที่ไหนดี, บริการรับรองเอกสารโดยกระทรวงต่างประเทศ pantip, บริการรับรองเอกสารกรมการกงสุลpantip, บริการรับรองเอกสารกงสุลไทยpantip, บริการรับรองเอกสารโดยนิติกรpantip, รับรองเอกสารpantip, รับรองเอกสารที่ไหนดีpantip, อัตราค่าบริการ Notary public ‘s Fee , รับรองเอกสารโนตารี พับลิค รับรองลายมือชื่อ, รับรองลายมือชื่อ notarized-legalized ต่อกรมกงสูล, รับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทมหาชน, รับรองเอกสาร เพื่อการนำไปใช้ต่างประเทศ, รับรองเอกสาร เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ, รับรองเอกสาร เพื่อการทำงาน สมรส ย้ายถิ่นฐาน ขอถิ่นที่อยู่ ต่างประเทศ, รับรองคำแปล รับรองผู้แปล, รับรองเอกสาร สำคัญบริษัท เพื่อการลงทุน หรือร่วมทุนระหว่างประเทศ หรือเพื่อการอื่น, รับรองเอกสารบุคคล สถานะสมรส ใบเกิด ใบตาย ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล, รับรองเอกสารสำคัญถิ่นที่อยู่, รับรองเอกสารการผ่านงาน, รับรองหนังสือเดินทาง, รับรองลายมือชื่อ รับรองบุคคล ว่ามีอยู่แท้จริง, รับรองลายมือชื่อกรรมการ บริษัทจำกัด บริษัทจำกัดมหาชน เพื่อยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, บริการทนายรับรองเอกสาร Notary Services Attorney, รับรองเอกสารเพื่อใช้ในต่างประเทศ, รับรองเอกสาร รับรองใบสมัคร เพื่อเรียนต่อต่างประเทศ (Affidavit of support /Sponsor Notarization), รับรองสำเนาเอกสาร (Certified true copy), รับรองสถานะการเงิน (Statement notarization), รับรองคำแปลเอกสาร (Certified correct translation), รับรองลายมือชื่อ บุคคล กรรมการนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน (Signature notarization and Legalization), รับรองข้อเท็จจริง (Marine protest notary public), รับรองความมีอยู่จริงของเอกสาร (Existence of Document), รับรองการทำสัญญาระหว่างเอกชน (Contract agreement notary public), รับรองคำสาบาน (Applicant declaration), รับรองคำให้การ (Declaration notary public), รับรองหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครอง (Letter of authorization for travel / Custodianship declaration-Parents / Guardians notary public) และอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด, รับรองโนตารีพับลิค, ทนายความ รับว่าความ โนตารี่ พับลิค Notary public สำนักงานกฏหมาย, Notary Public โนตารี พับลิค, ทนายรับรองเอกสาร Notarial services Attorney โนตารี พับลิค Notary Public รับรองลายมือชื่อ รับรองสำเนาถูกต้อง รับรองการแปล รับรองพาสสปอร์ต, ผู้เชี่ยวชาญภาษากฎหมาย, สถาบันแปลภาษาอังกฤษ, notary แปล, notary service, template แปล, บริษัทแปลภาษา, certified copy แปลว่า, รับตรวจ proofreading, หนังสือรับรองบริษัท ภาษาอังกฤษ affidavit, certified true copy คือ, ตัวอย่าง statement of purpose ภาษาไทย, แปลหนังสือรับรองบริษัท, notary แปลว่า, marriage contract pantip, รับแปลภาษาไทยเป็นญี่ปุ่น, แปลเอกสาร พร้อมรับรอง, หนังสือรับรองบริษัท แปลภาษาอังกฤษ, จดหมายแนะนําตัวขอวีซ่า pantip, ที่แปลภาษา, แปลภาษาไทยเป็นภาษาเกาหลี, notarial services attorney คือ, กงสุล แจ้งวัฒนะ รับรองเอกสาร, กระทรวงต่างประเทศ รับรองเอกสาร, แปลเอกสารราชการ, แปลภาษาเยอรมันเป็นไทย, แปลภาษาเขมร, แปลพาสปอร์ต ต่างด้าว, แปลภาษาเกาหลีเป็นอังกฤษ, notary services, ขอใบรับรองความประพฤติ pantip, เว็บแปลภาษาที่น่าเชื่อถือ, รับรองเอกสาร กรมการกงสุล, attorney แปล, nyc แปลภาษา, notary public, public notary คือ, certified correct translation, certified copy, ตัวอย่างแปลพาสปอร์ตเป็นภาษาไทย, international lawyers, notary bangkok, notary service bangkok, notarial service, notarized แปล, notary meaning, affidavit แปล, notary public แปล, thai notary public, power of attorney แปลว่า, phuket law attorney , notary public near me, certified true copies, โนตารีพับลิค สภาทนาย, are you legally authorized to work in thailand แปลว่า, notary public is , notarized copy คือ , a notary public , notarial แปลว่า , การขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญด้านการแปล, โนตารี่พับลิค คือ, attorney คือ , naati full form , thai notary , true copy certified , letter of attorney คือ , certified true , notarial certificate คือ , public แปล , worldwide translation , common law marriage แปลว่า , power of attorney คือ , notary. , nyc translation , nyc online translation , nyc online translation service , nyc online translation services , public in , notary republic , public notary , notery , worldwide translation services , notarization แปลว่า , sworn translator คือ , sworn translator , รับยื่นวีซ่าประเทศกรีซ (Greece Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโครเอเชีย (Croatia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเช็ก (Czech Republic Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศซานมารีโน (San Marino Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเซอร์เบีย (Serbia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเดนมาร์ก (Denmark Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศนอร์เวย์ (Norway Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (Bosnia and Herzegovina Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบัลแกเรีย (Bulgaria Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเบลเยียม (Belgium Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเบลารุส (Belarus Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโปรตุเกส (Portugal Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโปแลนด์ (Poland Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศฝรั่งเศส (France Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศฟินแลนด์ (Finland Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมอนเตเนโกร (Montenegro Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมอลโดวา (Moldova Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมอลตา (Malta Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมาซิโดเนีย (Macedonia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโมนาโก (Monaco Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศยูเครน (Ukraine Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเยอรมัน (Germany Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศรัสเซีย (Russia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโรมาเนีย (Romania Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศลักเซมเบิร์ก (Luxembourg Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศลัตเวีย (Latvia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศลิทัวเนีย (Lithuania Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศวาติกัน (Vatican Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศสเปน (Spain Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศสโลวาเกีย (Slovakia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศสโลวีเนีย (Slovenia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศสวีเดน (Sweden Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอังกฤษ (United Kingdom Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศออสเตรีย (Austria Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอันดอร์รา (Andorra Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอิตาลี (Italy Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเอสโตเนีย (Estonia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแอลเบเนีย (Albania Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศไอซ์แลนด์ (Iceland Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศไอร์แลนด์ (Ireland Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศฮังการี (Hungary Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศคอซอวอ (Kosovo Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศคาซัคสถาน (Kazakhstan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเติร์กเมนิสถาน (Türkmenistan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอุซเบกิสถาน (Uzbekistan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศคีร์กีซ (Kyrgyz Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศทาจิกิสถาน (Tajikistan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศจีน (China Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศญี่ปุ่น (Japan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศไต้หวัน (Taiwan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเทศเกาหลีเหนือ (Republic of Korea Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเกาหลีใต้ (South Korea Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมองโกเลีย (Mongolia Visa Service), รับยื่นวีซ่าฮ่องกง (Hong Kong Visa Service), รับยื่นวีซ่ามาเก๊า (Macau Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศพม่า (Myanmar Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศไทย (Thai Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเวียดนาม (Vietnam Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมาเลเซีย (Malaysia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศติมอร์-เลสเต (Timor-Leste Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศสิงคโปร์ (Singapore Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบรูไน (Brunei Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศกัมพูชา (Cambodia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศลาว (Laos Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอิหร่าน (Iran Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเยเมน (Yemen Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอิรัก (Iraq Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโอมาน (Oman Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศซีเรีย (Syria Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศจอร์แดน (Jordan Visa Service), รับยื่นวีซ่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศคูเวต (Kuwait Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศกาตาร์ (Qatar Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเลบานอน (Lebanon Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบาห์เรน (Bahrain Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอินเดีย (India Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศปากีสถาน (Pakistan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอัฟกานิสถาน (Afghanistan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบังกลาเทศ (Bangladesh Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเนปาล (Nepal Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศศรีลังกา (Sri Lanka Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศภูฏาน (Bhutan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมัลดีฟส์ (Maldives Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศคิริบาส (Kiribati Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศซามัว (Samoa Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศตองงา (Tonga Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศตูวาลู (Tuvalu Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศนาอูรู (Nauru Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศปาเลา (Palau Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศฟีจี (Fiji Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศไมโครนีเซีย (Micronesia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศวานูอาตู (Vanuatu Visa Service), รับยื่นวีซ่าหมู่เกาะโซโลมอน (Solomon Islands Visa Service), รับยื่นวีซ่าหมู่เกาะมาร์แชลล์ (Marshall Islands Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศออสเตรเลีย (Australia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศกัวเตมาลา (Guatemala Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเกรเนดา (Grenada Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศคอสตาริกา (Costa Rica Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศคิวบา (Cuba Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแคนาดา (Canada Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศจาเมกา (Jamaica Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเซนต์คิตส์และเนวิส (Federation of Saint Kitts and Nevis Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเซนต์ลูเชีย (Saint Lucia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (Saint Vincent and the Grenadines Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศดอมินีกา (Commonwealth of Dominica Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศนิการากัว (Nicaragua Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบาร์เบโดส (Barbados Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบาฮามาส (Commonwealth of The Bahamas Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเบลีซ (Belize Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศปานามา (Panama Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโดมินิกัน (Dominican Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเอลซัลวาดอร์ (El Salvador Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเม็กซิโก (Mexico Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแอนติกาและบาร์บูดา(Antigua and Barbuda Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศฮอนดูรัส (Honduras Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเฮติ (Haiti Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศสหรัฐอเมริกา (United States of America Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศสหกรณ์กายอานา (Guyana Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโคลอมเบีย (Colombia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศชิลี (Chile Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศซูรินาม (Suriname Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบราซิล (Brazil Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโบลิเวีย (Bolivia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศปารากวัย (Paraguay Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเปรู (Perú Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเวเนซุเอลา (Venezuela Visa Service), รับยื่นวีซ่าหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (Falkland Islands Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอาร์เจนตินา (Argentina Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอุรุกวัย (Uruguay Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเอกวาดอร์ (Ecuador Visa Service), รับยื่นวีซ่าเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช (South Georgia and the South Sandwich Islands Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเฟรนช์เกียนา (French Guiana Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศกานา (Ghana Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศกาบอง (Gabon Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศกาบูเวร์ดี (Cabo Verde Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศกินี (Guinea Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศกินี-บิสเซา (Guinea-Bissau Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแกมเบีย (Gambia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโกตดิวัวร์ (République de Côte d'Ivoire Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศคอโมโรส (Comoros Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเคนยา (Kenya Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแคเมอรูน (Cameroon Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศจิบูตี (Djibouti Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศชาด (Tchad Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศซิมบับเว (Zimbabwe Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศซูดาน (Sudan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเซเชลส์ (Seychelles Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเซเนกัล (Sénégal Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเซาตูเมและปรินซีปี (República Democrática de São Tomé e Príncipe Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเซาท์ซูดาน (South Sudan Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเซียร์ราลีโอน (Sierra Leone Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแซมเบีย (Zambia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโซมาเลีย (Somalia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศตูนิเซีย (Tunisia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโตโก (Togo Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแทนซาเนีย (Tanzania Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศนามิเบีย (Namibia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศไนจีเรีย (Nigeria Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศไนเจอร์ (Niger Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบอตสวานา (Botswana Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบุรุนดี (Burundi Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศบูร์กินาฟาโซ (Burkina Faso Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเบนิน (Benin Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมอริเชียส (Mauritius Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมอริเตเนีย (Mauritania Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมาดากัสการ์ (Madagascar Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมาลาวี (Malawi Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศมาลี (Mali Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโมซัมบิก (Mozambique Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศยูกันดา (Uganda Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศโมร็อกโก (Morocco Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศรวันดา (Rwanda Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศลิเบีย (Libya Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเลโซโท (Lesotho Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศไลบีเรีย (Liberia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศสวาซิแลนด์ (Swaziland Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศคองโก (Congo Visa Service), รับยื่นวีซ่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (République Démocratique du Congo Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแอฟริกากลาง (Middle Africa Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศอิเควทอเรียลกินี (Equatorial Guinea Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเอธิโอเปีย (Ethiopia Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศเอริเทรีย (Eritrea Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแองโกลา (Angola Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแอฟริกาใต้ (South Africa Visa Service), รับยื่นวีซ่าประเทศแอลจีเรีย (Algeria Visa Service), ติดต่อขอใช้บริการ สาขา ในกรุงเทพมหานคร แขวงขุมทอง แขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองสามประเวศ แขวงทับยาว แขวงลาดกระบัง แขวงลำปลาทิว เขตลาดพร้าว แขวงจรเข้บัว แขวงลาดพร้าว เขตวังทองหลาง แขวงวังทองหลาง เขตวัฒนา แขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ แขวงพระโขนงเหนือ เขตสวนหลวง แขวงสวนหลวง เขตสะพานสูง แขวงสะพานสูง เขตสัมพันธวงศ์ แขวงจักรวรรดิ แขวงตลาดน้อย แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสาทร แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน แถว เขตคลองเตย แขวงคลองเตย แขวงคลองตัน แขวงพระโขนง เขตคลองสาน แขวงคลองต้นไทร แขวงคลองสาน แขวงบางลำพูล่าง แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสามวา แขวงทรายกองดิน แขวงทรายกองดินใต้ แขวงบางชัน แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก เขตคันนายาว แขวงคันนายาว เขตจตุจักร แขวงจตุจักร แขวงจอมพล แขวงจันทรเกษม แขวงลาดยาว แขวงเสนานิคม เขตจอมทอง แขวงจอมทอง แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงบางมด เขตดอนเมือง แขวงสีกัน เขตดินแดง แขวงดินแดง เขตดุสิต แขวงดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี แขวงวชิรพยาบาล แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงบางเชือกหนัง แขวงบางพรม แขวงบางระมาด แขวงทวีวัฒนา แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทุ่งครุ แขวงทุ่งครุ แขวงบางมด เขตธนบุรี แขวงดาวคะนอง แขวงตลาดพลู แขวงบางยี่เรือ แขวงบุคคโล แขวงวัดกัลยาณ์ แขวงสำเหร่ แขวงหิรัญรูจี เขตบางเขน แขวงท่าแร้ง แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางแค แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ แขวงบางไผ่ แขวงหลักสอง เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดท่าพระ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกน้อย แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงบ้านช่างหล่อ แขวงศิริราช แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกะปิ แขวงคลองจั่น แขวงหัวหมาก เขตบางขุนเทียน แขวงท่าข้าม แขวงแสมดำ เขตบางคอแหลม แขวงบางโคล่ แขวงบางคอแหลม แขวงวัดพระยาไกร เขตบางซื่อ แขวงบางซื่อ เขตบางนา แขวงบางนา เขตบางบอน แขวงบางบอน เขตบางพลัด แขวงบางบำหรุ แขวงบางพลัด แขวงบางยี่ขัน แขวงบางอ้อ เขตบางรัก แขวงบางรัก แขวงมหาพฤฒาราม แขวงสี่พระยา แขวงสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบึงกุ่ม แŦ