บริการให้คำปรึกษารับยื่นวีซ่าประเทศญี่ปุ่น
Japan Visa Service in Thailand
Japan Visa Service in Thailand
NYC Visa Service มีประสบการณ์ในการทำวีซ่าประเทศญี่ปุ่น มาเป็นเวลามากกว่ากว่าสิบปี โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการคำปรึกษาท่านตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น วีซ่าเยี่ยมญาติประเทศญี่ปุ่น วีซ่าเยี่ยมเพื่อนประเทศญี่ปุ่น วีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น วีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น วีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น วีซ่าคู่หมั้นประเทศญี่ปุ่น วีซ่าย้ายถิ่นฐานประเทศญี่ปุ่น วีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น วีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น วีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น วีซ่าฝึกงานประเทศญี่ปุ่น วีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีบริการแปลเอกสารต่างๆ ทุกประเภท นอกจากนี้เรามีบริการให้คำปรึกษาในการยื่นขอวีซ่า วิเคราะห์ปัญหาของผู้ต้องการยื่นวีซ่า ประเมินโอกาสในการยื่นขอวีซ่าของท่านให้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องและเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของผู้ขอยื่นวีซ่า และเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการเราได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เรายังมีบริการเป็นตัวแทนยื่นขอวีซ่าให้กับท่าน เป็นตัวแทนไปรับวีซ่าแทนท่าน และบริการจัดส่งเอกสารสำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัดอีกด้วย
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ NYC Visa Service ซึ่งเป็นเชี่ยวชาญให้บริการทางด้านรับทำวีซ่าและกฎหมายการตรวจคนเข้าเมืองโดยตรงของประเทศญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) เราเปิดให้บริการ รับปรึกษา รับยื่น รับทำ รับยื่นแก้วีซ่าไม่ผ่านทุกประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือทุกท่านให้ได้รับวีซ่าได้ตามต้องการการ กับประเทศที่ต้องการจะเดินทาง จน NYC Visa Service ได้รับความสำเร็จอย่างสูงในการได้รับอนุมัติวีซ่าของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากทางเรามีบริการหลากหลายรูปแบบไว้อำนวยความสะดวกแก่ท่าน มีทีมงานมืออาชีพ เราเปิดให้บริการมายาวนานมากกว่า12 ปี และมีศูนย์บริการอยู่ทั่วประเทศมากถึง 12 ศูนย์ และยังมีการขยายงานเปิดศูนย์เพิ่มเติมทั่วประเทศเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ เราเป็นตัวกลางในการยื่นของวีซ่ากับสถานทูตแต่ล่ะประเทศ สำหรับทุกท่านที่พบปัญหา เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจรูปแบบปัญหาที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด จึงทำให้ท่านประหยัดเวลา รวมไปถึงความแน่นอนในการได้รับวีซ่า
จากการที่ NYC Visa Service มีความชำนาญในเรื่องกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองของประเทศญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) จึงทำให้ได้รับการอนุมัติวีซ่าเร็วและง่ายขึ้น จึงพร้อมดำเนินการให้แก่ท่าน ตั้งแต่จัดเตรียมเอกสาร ประเมินแนะนำขั้นตอน พร้อมแก้ปัญหาที่จะเกิด การเตรียมตัว รวมไปถึงดูแลยื่นเอกสารที่สถานทูตในแต่ล่ะประเทศ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เราสามารถให้คำปรึกษา และบริการยื่นวีซ่าให้คุณได้
NYC Visa Service เป็นบริษัทที่รับทำวีซ่าทุกประเภท อาทิ เชงเก้นวีซ่า (Schengen visa), วีซ่าประเทศอเมริกา วีซ่าประเทศอังกฤษ วีซ่าประเทศออสเตรเลีย วีซ่าประเทศฝรั่งเศส วีซ่าประเทศสวีเดน วีซ่าประเทศเยอรมัน วีซ่าประเทศอิตาลี วีซ่าประเทศนิวซีแลนด์ วีซ่าประเทศนอร์เวย์ วีซ่าประเทศฟินแลนด์ วีซ่าประเทศออสเตรีย วีซ่าสเปน วีซ่าประเทศเดนมาร์ วีซ่าประเทศเนเธอร์แลนด์ วีซ่าประเทศโปแลนด์ วีซ่าประเทศฟินแลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศนอร์เวย์ รับยื่นวีซ่าประเทศเบลเยียม รับยื่นวีซ่าประเทศโปรตุเกส รับยื่นวีซ่าประเทศกรีซ รับยื่นวีซ่าประเทศโครเอเชีย รับยื่นวีซ่าประเทศเช็ก รับยื่นวีซ่าประเทศฟินแลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศมอลโดวา รับยื่นวีซ่าประเทศมอลตา รับยื่นวีซ่าประเทศมาซิโดเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศยูเครน รับยื่นวีซ่าประเทศรัสเซีย รับยื่นวีซ่าประเทศโรมาเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศลักเซมเบิร์กรับยื่นวีซ่าประเทศลัตเวีย รับยื่นวีซ่าประเทศลิทัวเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศสวีเดน รับยื่นวีซ่าประเทศออสเตรีย รับยื่นวีซ่าประเทศอิตาลี รับยื่นวีซ่าประเทศไอซ์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศไอร์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศฮังการี วีซ่าญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) เป็นต้น นอกจากนี้เรายังมีบริการรับแปลเอกสาร บริการรับรองเอกสารภาษาอื่น ๆ บริการประกันการเดินทาง และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย
NYC Visa Service มีประสบการณ์ในการทำวีซ่ามาเป็นเวลามากกว่ากว่าสิบปี โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการคำปรึกษาท่านตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าเยี่ยมญาติ วีซ่าเยี่ยมเพื่อน วีซ่านักเรียน วีซ่าถาวร วีซ่าแต่งงาน วีซ่าคู่หมั้น วีซ่าย้ายถิ่นฐาน วีซ่าติดตาม วีซ่าทำงาน วีซ่าดูงาน วีซ่าฝึกงาน วีซ่าธุรกิจ ประเทศญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) นอกจากนี้ยังมีบริการแปลเอกสารต่าง ๆ ทุกประเภท นอกจากนี้เรามีบริการให้คำปรึกษาในการยื่นขอวีซ่า วิเคราะห์ปัญหาของผู้ต้องการยื่นวีซ่า ประเมินโอกาสในการยื่นขอวีซ่าของท่านให้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องและเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของผู้ขอยื่นวีซ่า และเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการเราได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เรายังมีบริการเป็นตัวแทนยื่นขอวีซ่าให้กับท่าน เป็นตัวแทนไปรับวีซ่าแทนท่าน และบริการจัดส่งเอกสารสำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัดอีกด้วย ให้ NYC Visa Service ของเราเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลการดำเนินการขอยื่นวีซ่าญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) ของท่าน ทีมงานของเราจะดูแลตั้งแต่ปัญหาพื้นฐาน การจัดเตรียมเอกสาร เป็นตัวแทนเพื่อยื่นขอวีซ่าของคุณ เราจะดูแลและติดตามผลหลังการให้บริการอย่างดีที่สุด
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ NYC Visa Service ซึ่งเป็นเชี่ยวชาญให้บริการทางด้านรับทำวีซ่าและกฎหมายการตรวจคนเข้าเมืองโดยตรงของประเทศญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) เราเปิดให้บริการ รับปรึกษา รับยื่น รับทำ รับยื่นแก้วีซ่าไม่ผ่านทุกประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือทุกท่านให้ได้รับวีซ่าได้ตามต้องการการ กับประเทศที่ต้องการจะเดินทาง จน NYC Visa Service ได้รับความสำเร็จอย่างสูงในการได้รับอนุมัติวีซ่าของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากทางเรามีบริการหลากหลายรูปแบบไว้อำนวยความสะดวกแก่ท่าน มีทีมงานมืออาชีพ เราเปิดให้บริการมายาวนานมากกว่า12 ปี และมีศูนย์บริการอยู่ทั่วประเทศมากถึง 12 ศูนย์ และยังมีการขยายงานเปิดศูนย์เพิ่มเติมทั่วประเทศเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ เราเป็นตัวกลางในการยื่นของวีซ่ากับสถานทูตแต่ล่ะประเทศ สำหรับทุกท่านที่พบปัญหา เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจรูปแบบปัญหาที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด จึงทำให้ท่านประหยัดเวลา รวมไปถึงความแน่นอนในการได้รับวีซ่า
จากการที่ NYC Visa Service มีความชำนาญในเรื่องกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองของประเทศญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) จึงทำให้ได้รับการอนุมัติวีซ่าเร็วและง่ายขึ้น จึงพร้อมดำเนินการให้แก่ท่าน ตั้งแต่จัดเตรียมเอกสาร ประเมินแนะนำขั้นตอน พร้อมแก้ปัญหาที่จะเกิด การเตรียมตัว รวมไปถึงดูแลยื่นเอกสารที่สถานทูตในแต่ล่ะประเทศ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เราสามารถให้คำปรึกษา และบริการยื่นวีซ่าให้คุณได้
NYC Visa Service เป็นบริษัทที่รับทำวีซ่าทุกประเภท อาทิ เชงเก้นวีซ่า (Schengen visa), วีซ่าประเทศอเมริกา วีซ่าประเทศอังกฤษ วีซ่าประเทศออสเตรเลีย วีซ่าประเทศฝรั่งเศส วีซ่าประเทศสวีเดน วีซ่าประเทศเยอรมัน วีซ่าประเทศอิตาลี วีซ่าประเทศนิวซีแลนด์ วีซ่าประเทศนอร์เวย์ วีซ่าประเทศฟินแลนด์ วีซ่าประเทศออสเตรีย วีซ่าสเปน วีซ่าประเทศเดนมาร์ วีซ่าประเทศเนเธอร์แลนด์ วีซ่าประเทศโปแลนด์ วีซ่าประเทศฟินแลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศนอร์เวย์ รับยื่นวีซ่าประเทศเบลเยียม รับยื่นวีซ่าประเทศโปรตุเกส รับยื่นวีซ่าประเทศกรีซ รับยื่นวีซ่าประเทศโครเอเชีย รับยื่นวีซ่าประเทศเช็ก รับยื่นวีซ่าประเทศฟินแลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศมอลโดวา รับยื่นวีซ่าประเทศมอลตา รับยื่นวีซ่าประเทศมาซิโดเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศยูเครน รับยื่นวีซ่าประเทศรัสเซีย รับยื่นวีซ่าประเทศโรมาเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศลักเซมเบิร์กรับยื่นวีซ่าประเทศลัตเวีย รับยื่นวีซ่าประเทศลิทัวเนีย รับยื่นวีซ่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศสวีเดน รับยื่นวีซ่าประเทศออสเตรีย รับยื่นวีซ่าประเทศอิตาลี รับยื่นวีซ่าประเทศไอซ์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศไอร์แลนด์ รับยื่นวีซ่าประเทศฮังการี วีซ่าญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) เป็นต้น นอกจากนี้เรายังมีบริการรับแปลเอกสาร บริการรับรองเอกสารภาษาอื่น ๆ บริการประกันการเดินทาง และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย
NYC Visa Service มีประสบการณ์ในการทำวีซ่ามาเป็นเวลามากกว่ากว่าสิบปี โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการคำปรึกษาท่านตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าเยี่ยมญาติ วีซ่าเยี่ยมเพื่อน วีซ่านักเรียน วีซ่าถาวร วีซ่าแต่งงาน วีซ่าคู่หมั้น วีซ่าย้ายถิ่นฐาน วีซ่าติดตาม วีซ่าทำงาน วีซ่าดูงาน วีซ่าฝึกงาน วีซ่าธุรกิจ ประเทศญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) นอกจากนี้ยังมีบริการแปลเอกสารต่าง ๆ ทุกประเภท นอกจากนี้เรามีบริการให้คำปรึกษาในการยื่นขอวีซ่า วิเคราะห์ปัญหาของผู้ต้องการยื่นวีซ่า ประเมินโอกาสในการยื่นขอวีซ่าของท่านให้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องและเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของผู้ขอยื่นวีซ่า และเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านที่เข้ามาใช้บริการเราได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เรายังมีบริการเป็นตัวแทนยื่นขอวีซ่าให้กับท่าน เป็นตัวแทนไปรับวีซ่าแทนท่าน และบริการจัดส่งเอกสารสำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัดอีกด้วย ให้ NYC Visa Service ของเราเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลการดำเนินการขอยื่นวีซ่าญี่ปุ่น (Japan Visa Service in Thailand) ของท่าน ทีมงานของเราจะดูแลตั้งแต่ปัญหาพื้นฐาน การจัดเตรียมเอกสาร เป็นตัวแทนเพื่อยื่นขอวีซ่าของคุณ เราจะดูแลและติดตามผลหลังการให้บริการอย่างดีที่สุด
วีซ่าประเทศญี่ปุ่น
Visa Tourist
1. แบบฟอร์ม และแบบสอบถาม อย่างละ 1 ชุด
2. Passport เล่มจริงพร้อมสำเนาหน้าแรก และถ้ามี Passport เล่มเก่าให้แนบมาด้วย
3. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว x 2 นิ้ว 2 ใบ พื้นฉากหลังขาว
4. จดหมายรับรองการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ
กรณีเป็นนักเรียนนักศึกษา ต้องใช้จดหมายรับรองจากสถาบันที่ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ
5. สมุดบัญชีเงินฝากเล่มจริง พร้อมสำเนาทุกหน้า
6. ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล พร้อมสำเนา (ถ้ามี)
7. สำเนาทะเบียนสมรส - หย่า (ถ้ามี)
8. สำเนาบัตรประชาชน
9. ทะเบียนบ้านเล่มจริง พร้อมสำเนา
10. ใบจองตั๋วเครื่องบิน และใบจองโรงแรม
11.ใช้เวลายื่น 5 วันทำการ
หมายเหตุ : - ผู้โดยสารที่ไม่เคยเข้าประเทศญี่ปุ่น หรือเคยเข้าเกินกว่า 5 ปี ต้องยื่นด้วยตัวเอง กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล จะต้องนำหลักฐานตัวจริงพร้อมสำเนามาแสดงด้วย - กรณีเป็นเจ้าของบริษัทจะต้องนำหลักฐาน การจดทะเบียนการค้าตัวจริง+สำเนา ( แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย )
วีซ่าธุรกิจวีซ่าญี่ปุ่น (Visa Japan)
ปัจจุบันนี้ไม่สามารถยื่นขอวีซ่ากับสถานทูตญี่ปุ่น โดยตรงได้แล้วแต่ทางสถานทูตมีตัวแทนที่เรียกว่า VFS เป็นตัวแทนในการรับยื่นวีซ่าแทนสถานทูตและทุกคนต้องยื่นผ่านตัวแทนเท่านั้น
เวลาทำการ : 08.30 – 17.00 น.
Visa Business
1. แบบฟอร์ม และแบบสอบถาม อย่างละ 1 ชุด
2. Passport เล่มจริงพร้อมสำเนาหน้าแรก และถ้ามีPassport เล่มเก่าให้แนบมาด้วย
3. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว x 2 นิ้ว 2 ใบ พื้นฉากหลังขาว
4. จดหมายรับรองการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ กรณีเป็นเจ้าของกิจการให้ใช้หนังสือจดทะเบียนบริษัท (ออกไม่เกิน 3 เดือน)
5. จดหมายเชิญจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่น
6. จดหมายรับรองการเงินจากธนาคาร ( Bank Account Information Summary )
7. ใบจองตั๋วเครื่องบิน และใบจองโรงแรม
8. ทะเบียนบ้านเล่มจริง พร้อมสำเนา
9. สำเนาบัตรประชาชน
10. ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล ตัวจริงพร้อมสำเนา (ถ้ามี)
11.สำเนาทะเบียนสมรส - ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
12.ใช้เวลายื่น 5 วันทำการ
หมายเหตุ : ผู้โดยสารที่ไม่เคยเข้าประเทศญี่ปุ่น หรือเคยเข้าเกินกว่า 5 ปี ต้องยื่นด้วยตัวเอง กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล จะต้องนำหลักฐานตัวจริงพร้อมสำเนามาแสดงด้วย - กรณีเป็นเจ้าของบริษัทจะต้องนำหลักฐานการจดทะเบียนการค้าตัวจริง+สำเนา (แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย)
Visa Tourist
1. แบบฟอร์ม และแบบสอบถาม อย่างละ 1 ชุด
2. Passport เล่มจริงพร้อมสำเนาหน้าแรก และถ้ามี Passport เล่มเก่าให้แนบมาด้วย
3. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว x 2 นิ้ว 2 ใบ พื้นฉากหลังขาว
4. จดหมายรับรองการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ
กรณีเป็นนักเรียนนักศึกษา ต้องใช้จดหมายรับรองจากสถาบันที่ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ
5. สมุดบัญชีเงินฝากเล่มจริง พร้อมสำเนาทุกหน้า
6. ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล พร้อมสำเนา (ถ้ามี)
7. สำเนาทะเบียนสมรส - หย่า (ถ้ามี)
8. สำเนาบัตรประชาชน
9. ทะเบียนบ้านเล่มจริง พร้อมสำเนา
10. ใบจองตั๋วเครื่องบิน และใบจองโรงแรม
11.ใช้เวลายื่น 5 วันทำการ
หมายเหตุ : - ผู้โดยสารที่ไม่เคยเข้าประเทศญี่ปุ่น หรือเคยเข้าเกินกว่า 5 ปี ต้องยื่นด้วยตัวเอง กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล จะต้องนำหลักฐานตัวจริงพร้อมสำเนามาแสดงด้วย - กรณีเป็นเจ้าของบริษัทจะต้องนำหลักฐาน การจดทะเบียนการค้าตัวจริง+สำเนา ( แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย )
วีซ่าธุรกิจวีซ่าญี่ปุ่น (Visa Japan)
ปัจจุบันนี้ไม่สามารถยื่นขอวีซ่ากับสถานทูตญี่ปุ่น โดยตรงได้แล้วแต่ทางสถานทูตมีตัวแทนที่เรียกว่า VFS เป็นตัวแทนในการรับยื่นวีซ่าแทนสถานทูตและทุกคนต้องยื่นผ่านตัวแทนเท่านั้น
เวลาทำการ : 08.30 – 17.00 น.
Visa Business
1. แบบฟอร์ม และแบบสอบถาม อย่างละ 1 ชุด
2. Passport เล่มจริงพร้อมสำเนาหน้าแรก และถ้ามีPassport เล่มเก่าให้แนบมาด้วย
3. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว x 2 นิ้ว 2 ใบ พื้นฉากหลังขาว
4. จดหมายรับรองการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ กรณีเป็นเจ้าของกิจการให้ใช้หนังสือจดทะเบียนบริษัท (ออกไม่เกิน 3 เดือน)
5. จดหมายเชิญจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่น
6. จดหมายรับรองการเงินจากธนาคาร ( Bank Account Information Summary )
7. ใบจองตั๋วเครื่องบิน และใบจองโรงแรม
8. ทะเบียนบ้านเล่มจริง พร้อมสำเนา
9. สำเนาบัตรประชาชน
10. ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล ตัวจริงพร้อมสำเนา (ถ้ามี)
11.สำเนาทะเบียนสมรส - ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
12.ใช้เวลายื่น 5 วันทำการ
หมายเหตุ : ผู้โดยสารที่ไม่เคยเข้าประเทศญี่ปุ่น หรือเคยเข้าเกินกว่า 5 ปี ต้องยื่นด้วยตัวเอง กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล จะต้องนำหลักฐานตัวจริงพร้อมสำเนามาแสดงด้วย - กรณีเป็นเจ้าของบริษัทจะต้องนำหลักฐานการจดทะเบียนการค้าตัวจริง+สำเนา (แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย)
- ราคาค่าบริการอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- ค่าบริการข้างต้นสำหรับผู้สมัครที่ถือพาสปอร์ตประเทศไทยเท่านั้น
- ค่าบริการ ทั้งหมดไม่สามารถคืนเงินได้ ในกรณีที่ท่านได้รับการปฏิเสธวีซ่าจากทางสถานทูต
- เอกสาร และเวลาที่ใช้ในการยื่นวีซ่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานทูต
- ระยะเวลาในการยื่นขอวีซ่าไม่รวมวันที่รับเอกสาร
- อัตรานี้ไม่รวมค่าจัดส่งทางไปรษณีย์
ประเทศญี่ปุ่นจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา
ประเทศญี่ปุ่น
日本国 (ญี่ปุ่น)
ธงชาติตราแผ่นดิน
เพลงชาติ: คิมิงะโยะ
MENU
0:00
ตรารัฐบาล:
พอโลเนีย (ญี่ปุ่น: 五七[の]桐 โกะชิชิ โนะ คิริ)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)โตเกียว
35°41′N 139°46′E
ภาษาราชการไม่มี[1]
ภาษาประจำชาติภาษาญี่ปุ่น
การปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
• จักรพรรดิจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
• นายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะ
การสร้างชาติ
• วันก่อตั้งชาติ11 กุมภาพันธ์ 117 ปีก่อน พ.ศ.
• รธน. เมจิ29 พฤศจิกายน 2433
• รธน. ปัจจุบัน3 พฤษภาคม 2490
• สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก28 เมษายน 2495
พื้นที่
• รวม377,944 ตร.กม. (61)
145,925 ตร.ไมล์
• แหล่งน้ำ (%)0.8
ประชากร
• 2555 (ประเมิน)127,110,047[2] (10)
• 2010 (สำมะโน)128,056,026[3]
• ความหนาแน่น337.1 คน/ตร.กม. (36)
873.1 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)2560 (ประมาณ)
• รวม5.405 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• ต่อหัว42,658 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (ราคาตลาด)2560 (ประมาณ)
• รวม4.884 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• ต่อหัว38,550 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (2551)32.1[4]
HDI (2559) 0.903 (สูงมาก) (17th)
สกุลเงินเยน (¥) (JPY)
เขตเวลาJST (UTC+9)
• ฤดูร้อน (DST)ไม่มี (UTC)
ขับรถด้านซ้ายมือ
โดเมนบนสุด.jp
รหัสโทรศัพท์81
"ญี่ปุ่น" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ญี่ปุ่น (แก้ความกำกวม)ประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本 Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง, ชื่ออย่างเป็นทางการ ญี่ปุ่น: 日本国 Nihon-koku/Nippon-koku นิฮงโกกุ/นิปปงโกกุ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน
ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว[5] เมืองหลวงของประเทศ
การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงปี 2411 ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองด้วยระบบทหารเจ้าขุนมูลนายโชกุนซึ่งปกครองในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิ ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ระยะแยกอยู่โดดเดี่ยวอันยาวนานในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งยุติในปี 2396 เมื่อกองเรือสหรัฐบังคับให้ประเทศญี่ปุ่นเปิดต่อโลกตะวันตก หลังความขัดแย้งและการก่อการกำเริบภายในเกือบสองทศวรรษ ราชสำนักจักรวรรดิได้อำนาจทางการเมืองคืนในปี 2411 ผ่านการช่วยเหลือของหลายตระกูลจากโชชูและซัตสึมะ และมีการสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชัยในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ประเทศญี่ปุ่นขยายจักรวรรดิระหว่างสมัยแสนยนิยมเพิ่มขึ้น สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองปี 2480 ขยายเป็นบางส่วนของสงครามโลกครั้งที่สองในปี 2484 ซึ่งยุติในปี 2488 นับแต่การลงมติเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับบทวนวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 ระหว่างการยึดครองของผู้บังคับบัญชาสูงสุดสำหรับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศญี่ปุ่นธำรงระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและราชาธิปไตยภายใต้รัฐรรมนูญโดยมีจักรพรรดิเป็นประมุขแห่งรัฐและสภานิติบัญญํติจากการเลือกตั้ง เรียก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นสมาชิกสหประชาชาติ OECD จี7 จี8 และจี20 และถือเป็นมหาอำนาจ[6][7][8] มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกตามจีดีพีราคาตลาด และอันดับ 4 ของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ และยังเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่สุดอันดับ 4 ของโลกด้วย ประเทศญี่ปุ่นมีกำลังแรงงานทักษะสูงและถือเป็นประเทศที่มีการศึกษาสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก โดยมีร้อยละของพลเมืองมีวุฒิการศึกษาขั้นตติยภูมิ (tertiary education) สูงสุดประเทศหนึ่งของโลก[9] แม้ประเทศญี่ปุ่นสละสิทธิประกาศสงคราม แต่ยังมีกองทหารสมัยใหม่และมีงบกองทัพมากเป็นอันดับ 8 ของโลก[10] ซึ่งใช้สำหรับบทบาทป้องกันตนเองและรักษาสันติภาพ ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีมาตรฐานการครองชีพและดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง ประชากรมีความคาดหมายคงชีพสูงสุดและมีอัตราการเสียชีวิตทารกต่ำสุดอันดับ 3 ในโลก ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องภาพยนตร์ที่เก่าแก่และกว้างขวาง อาหารหลากชนิดและการเข้ามีส่วนร่วมสำคัญในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปัจจุบัน[11][12]
เนื้อหา
สันนิษฐานว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้ชื่อประเทศว่า "นิฮง/นิปปง (日本) " ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 13[13][14] ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ และทำให้ญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย ชื่อนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดต่อกับราชวงศ์สุยของจีนและหมายถึงการที่ญี่ปุ่นอยู่ในทิศตะวันออกของจีน[15] ก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในชื่อยะมะโตะ[16]
ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน (อังกฤษ: Japan), ยาพัน (เยอรมัน: Japan), ฌาปง (ฝรั่งเศส: Japon), ฆาปอน (สเปน: Japón) รวมถึงคำว่า ญี่ปุ่น ในภาษาไทย น่าจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือแต้จิ๋วที่ออกเสียงว่า "ยิดปุ่น" (ฮกเกี้ยน) หรือ "หยิกปึ้ง" (แต้จิ๋ว) ทั้งหมดล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน 日本国 ซึ่งอ่านว่า "จีปังกู" แต่ในสำเนียงแมนดารินอ่านว่า รื่อเปิ่นกั๋ว (จีน: 日本国; พินอิน: Rìběn'guó) หรือย่อ ๆ ว่า รื่อเปิ่น (จีน: 日本; พินอิน: Rìběn) [17] ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี ออกเสียงว่า "อิลบน" (เกาหลี: 일본; 日本 Ilbon) [18] และภาษาเวียดนาม ที่ออกเสียงว่า "เหญิ่ตบ๋าน" (เวียดนาม: Nhật Bản, 日本)[19] จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า 日本 ด้วยภาษาของตนเอง
ภูมิศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]
ภาพกลุ่มเกาะญี่ปุ่นถ่ายจากดาวเทียมประเทศญี่ปุ่นมีเกาะรวม 6,852 เกาะ ทอดตามชายฝั่งแปซิฟิกของเอเชียตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นรวมทุกเกาะตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 24 องศา และ 46 องศาเหนือ และลองติจูด 122 องศา และ 146 องศาตะวันออก หมู่เกาะหลักไล่จากเหนือลงใต้ ได้แก่ ฮกไกโด ฮนชู ชิโกกุ และคีวชู หมู่เกาะรีวกีวรวมทั้งเกาะโอกินาวะเรียงกันอยู่ทางใต้ของคีวชู รวมกันมักเรียกว่า กลุ่มเกาะญี่ปุ่น[20]
พื้นที่ประมาณร้อยละ 73 ของประเทศญี่ปุ่นเป็นป่าไม้ ภูเขาและไม่เหมาะกับการใช้ทางการเกษตร อุตสาหกรรม หรือการอยู่อาศัย[21] ด้วยเหตุนี้ เขตอยู่อาศัยได้ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณชายฝั่งเป็นหลัก จึงมีความหนาแน่นของประชากรสูงมาก ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงสุดของโลกประเทศหนึ่ง[22]
เกาะต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตภูเขาไฟบนวงแหวนไฟแปซิฟิก รอยต่อสามโบะโซะ (Boso Triple Junction) นอกชายฝั่งญี่ปุ่นเป็นรอยต่อสามที่แผ่นอเมริกาเหนือ แผ่นแปซิฟิกและแผ่นทะเลฟิลิปปินบรรจบกัน ประเทศญี่ปุ่นเดิมติดกับชายฝั่งตะวันออกของทวีปยูเรเชีย แต่แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงดึงประเทศญี่ปุ่นไปทางตะวันออก เปิดทะเลญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 15 ล้านปีก่อน[23]
ประเทศญี่ปุ่นมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ 108 ลูก ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีภูเขาไฟใหม่เกิดขึ้นหลายลูก รวมทั้งโชวะ-ชินซันบนฮกไกโดและเมียวจิน-โชนอกหินบายองเนสในมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดแผ่นดินไหวทำลายล้างซึ่งมักทำให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาหลายครั้งทุกศตวรรษ[24] แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 140,000 คน[25] แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุด ได้แก่ แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 และแผ่นดินไหวในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ซึ่งมีขนาด 9.1 และทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ดัชนีความเสี่ยงโลกปี 2556 จัดให้ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงภัยธรรมชาติสูงสุดอันดับที่ 15[26]
ภูมิอากาศ[แก้ไขต้นฉบับ]ภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบอบอุ่นเป็นหลัก แต่มีความแตกต่างกันมากตั้งแต่เหนือจดใต้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นหกเขตภูมิอากาศหลัก ได้แก่ ฮกไกโด ทะเลญี่ปุ่น ที่สูงภาคกลาง ทะเลเซโตะใน มหาสมุทรแปซิฟิกและหมู่เกาะรีวกีว
เขตเหนือสุด ฮกไกโด มีภูมิอากาศแบบทวีปชื้นที่มีฤดูหนาวเย็นและยาวนาน และมีฤดูร้อนอุ่นมากถึงเย็น หยาดน้ำฟ้าไม่หนัก แต่หมู่เกาะมักมีกองหิมะลึกในฤดูหนาว ในเขตทะเลญี่ปุ่นตรงชายฝั่งตะวันตกของฮนชู ลมฤดูหนาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือนำให้หิมะตกหนัก ในฤดูร้อน ภูมิภาคนี้เย็นกว่าเขตแปซิฟิก แม้บางครั้งมีอุณหภูมิร้อนจัดเนื่องจากลมเฟิน (foehn) เขตที่สูงภาคกลางเป็นภูมิอากาศแบบทวีปชื้นในแผ่นดินตรงแบบ มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนมีความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืนมาก หยาดน้ำฟ้าเบาบาง แม้ฤดูหนาวปกติมีหิมะตก เขตภูเขาชูโงกุและเกาะชิโกกุกั้นทะเลในแผ่นดินเซโตะจากลมตามฤดูกาล ทำให้มีลมฟ้าอากาศไม่รุนแรงตลอดปี ชายฝั่งแปซิฟิกมีลักษณะภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนชื้นซึ่งมีฤดูหนาวไม่รุนแรง มีหิมะตกบางครั้ง และฤดูร้อนที่ร้อนชื้นเนื่องจากลมฤดูกาลจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะรีวกีวมีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อน โดยมีฤดูหนาวอบอุ่นและฤดูร้อนร้อน หยาดน้ำฟ้าหนักมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างฤดูฝน[27]
อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 5.1 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ 25.2 องศาเซลเซียส[28] อุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 41.0 องศาเซลเซียส ซึ่งมีบันทึกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2556[29] ฤดูฝนหลักเริ่มในต้นเดือนพฤษภาคมในโอกินาวะ และแนวฝนจะค่อย ๆ เคลื่อนขึ้นเหนือจนถึงฮกไกโดในปลายเดือนกรกฎาคม ในฮนชูส่วนใหญ่ ฤดูฝนเริ่มก่อนกลางเดือนมิถุนายนและกินเวลาประมาณหกสัปดาห์ ในปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง พายุไต้ฝุ่นมักนำพาฝนตกหนักมา[30]
ความหลากหลายทางชีวภาพ[แก้ไขต้นฉบับ]
ลิงกังญี่ปุ่นที่บ่อน้ำพุร้อนจิโกะคุดะนิมีชื่อเสียงว่าเข้าสปาในฤดูหนาวประเทศญี่ปุ่นมีเขตชีวภาพป่าเก้าเขตซึ่งสะท้อนภูมิอากาศและภูมิศาสตร์ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีตั้งแต่ป่าใบกว้างชื้นกึ่งเขตร้อนในหมู่เกาะรีวกีวและหมู่เกาะโอะงะซะวะระจนถึงป่าผสมและใบกว้างเขตอุบอุ่นในเขตภูมิอากาศไม่รุนแรงในหมู่เกาะหลัก จนถึงป่าสนเขาเขตอบอุ่นในส่วนฤดูหนาวหนาวเย็นในเกาะทางเหนือ ประเทศญี่ปุ่นมีสัตว์ป่ากว่า 90,000 ชนิด รวมทั้งหมีสีน้ำตาล ลิงกังญี่ปุ่น ทะนุกิ หนูนาญี่ปุ่นใหญ่ และซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น มีการตั้งเครือข่ายอุทยานแห่งชาติขนาดใหญ่เพื่อคุ้มครองพื้นที่สำคัญของพืชและสัตว์ตลอดจนเขตพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์สามสิบเจ็ดแห่ง มีสี่แห่งลงทะเบียนในรายการมรดกโลกของยูเนสโก
สิ่งแวดล้อม[แก้ไขต้นฉบับ]ในช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นโยบายสิ่งแวดล้อมถูกรัฐบาลและบริษัทอุตสาหกรรมลดความสำคัญ ผลทำให้มีมลภาวะสิ่งแวดล้อมแพร่หลายในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 เพื่อสนองต่อความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงริเริ่มกฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหลายฉบับในปี 2513[31] วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 ยังส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากประเทศญี่ปุ่นขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ[32] ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้แก่ มลภาวะทางอากาศในเมือง การจัดการขยะ ยูโทรฟิเคชันน้ำ การอนุรักษ์ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การจัดการเคมีและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์[33]
ประเทศญี่ปุ่นจัดอยู่ในอันดับที่ 39 ในดัชนีสมรรถนะสิ่งแดวล้อมปี 2559 ซึ่งวัดความผูกมัดของประเทศต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม[34] ในฐานะเจ้าภาพและผู้ลงนามพิธีสารเกียวโตปี 2540 ประเทศญี่ปุ่นอยู่ภายใต้ข้อผูกพันตามสนธิสัญญาในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และใช้วิธีการเพิ่มเติมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ[35]
ประวัติศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์โบราณ[แก้ไขต้นฉบับ]
เครื่องปั้นดินเผายุคโจมงวัฒนธรรมยุคหินเก่าประมาณ 30,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์บนกลุ่มเกาะญี่ปุ่นครั้งแรกเท่าที่ทราบ หลังจากนั้นเป็นยุคโจมงเมื่อประมาณ 14,000 ปีก่อน ค.ศ. ที่มีวัฒนธรรมนักล่าสัตว์หาของป่ากึ่งอยู่กับที่ยุคหินกลางถึงยุคหินใหม่ ซึ่งมีลักษณะโดยการอาศัยอยู่ในหลุมและเกษตรกรรมเรียบง่าย[36] รวมทั้งบรรพบุรุษของชาวไอนุและชาวยะมะโตะร่วมสมัยด้วย[37][38] เครื่องดินเผาตกแต่งจากยุคนี้ยังเป็นตัวอย่างเครื่องดินเผาเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ยังเหลือรอดในโลกด้วย ประมาณ 300 ปีก่อน ค.ศ. ชาวยะโยะอิเริ่มเข้าสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น ผสมผสานกับโจมอน[39] ยุคยะโยะอิซึ่งเริ่มตั้งแต่ประมาณ 500 ปีก่อน ค.ศ. มีการริเริ่มการปฏิวัติอย่างการทำนาข้าวเปียก[40] เครื่องดินเผาแบบใหม่[41] และโลหะวิทยาที่รับมาจากจีนและเกาหลี[42]
ญี่ปุ่นปรากฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ลายลักษณ์อักษรในฮั่นซู (บันทึกประวัติศาสตร์ฮั่น) ของจีน[43] ตามบันทึกสามก๊ก ราชอาณาจักรทรงอำนาจที่สุดในกลุ่มเกาะญี่ปุ่นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 เรียก ยะมะไตโกะกุ มีกาเผยแผ่ศาสนาพุทธ เข้าประเทศญี่ปุ่นจากอาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลีปัจจุบัน) และได้รับอุปถัมภ์โดยเจ้าชายโชโตะกุ และการพัฒนาศาสนาพุทธญี่ปุ่นในเวลาต่อมาได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก[44] แม้มีการต่อต้านในช่วงแรก แต่ศาสนาพุทธได้รับการส่งเสริมจากชนชั้นปกครองและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในช่วงต้นยุคอะซุกะ (ค.ศ. 592–710)[45]
ยุคนาระ (พ.ศ. 1253–1337) มีการกำเนิดรัฐญี่ปุ่นแบบรวมอำนาจปกครองโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ราชสำนักจักรพรรดิในเฮโจเกียว (จังหวัดนาระปัจจุบัน) ยุคนาระเริ่มมีวรรณคดีตลอดจนการพัฒนาศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ[46] การระบาดของโรคฝีดาษในปี 1278–1280 เชื่อว่าฆ่าประชากรญี่ปุ่นไปมากถึงหนึ่งในสาม[47] ในปี 1327 จักรพรรดิคัมมุย้ายเมืองหลวงจากนาระไปนะงะโอกะเกียว และเฮอังเกียว (นครเกียวโตปัจจุบัน) ในปี 1337
นับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง (พ.ศ. 1337–1728) ซึ่งวัฒนธรรมญี่ปุ่นเฉพาะถิ่นชัดเจนกำเนิด โดยที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ศิลปะ กวีและร้อยแก้ว ตำนานเก็นจิของมุราซากิ ชิคิบุ และ "คิมิงะโยะ" เนื้อร้องเพลงชาติประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน ก็มีการเขียนขึ้นในช่วงนี้[48]
ศาสนาพุทธเริ่มแพร่ขยายระหว่างยุคเฮอัง ผ่านสองนิกายหลัก ได้แก่ เท็งไดและชินงน สุขาวดี (โจโดะชู โจโดะชินชู) ได้รับความนิยมมากกว่าในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 11
ยุคเจ้าขุนมูลนาย[แก้ไขต้นฉบับ]
นักรบซะมุไรสู้รบกับมองโกลระหว่างการบุกครองญี่ปุ่นของมองโกล (Suenaga, 1836)
วัดคิงกะกุ ในเมืองเกียวโตยุคเจ้าขุนมูลนายของญี่ปุ่นมีลักษณะจากการถือกำเนิดและการครอบงำของชนชั้นนักรบซะมุไร ใน พ.ศ. 1728 จักรพรรดิโกะ-โทะบะทรงแต่งตั้งซะมุไร มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ เป็นโชกุน หลังพิชิตตระกูลไทระในสงครามเก็มเป โยะริโตะโมะตั้งฐานอำนาจในคะมะกุระ หลังเขาเสียชีวิต ตระกูลโฮโจเถลิงอำนาจเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุนมีการเผยแผ่ศาสนาพุทธสำนักเซนจากจีนในยุคคะมะกุระ (พ.ศ. 1728–1876) และได้รับความนิยมในชนชั้นซะมุไร รัฐบาลโชกุนคะมะกุระขับไล่การบุกครองของมองโกลสองครั้งใน พ.ศ. 1817 และ 1824 แต่สุดท้ายถูกจักรพรรดิโกะ-ไดโงะโค่นล้ม ส่วนจักรพรรดิโกะ-ไดโงะก็ถูกอะชิกะงะ ทะกะอุจิพิชิตอีกทอดหนึ่งใน พ.ศ. 1879
อะชิกะงะ ทะกะอุจิตั้งรัฐบาลโชกุนในมุโระมะชิ จังหวัดเกียวโต เป็นจุดเริ่มต้นของยุคมุโระมะชิ (พ.ศ. 1879–2116) รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะรุ่งเรืองในสมัยของอะชิกะงะ โยะชิมิสึ และวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บนศาสนาพุทธแบบเซ็น (ศิลปะมิยะบิ) แพร่กระจาย ต่อมาศิลปะมิยะบิวิวัฒน์เป็นวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ และเจริญจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21–22) อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะสมัยต่อมาไม่สามารถควบคุมขุนศึกเจ้าขุนมูลนาย (ไดเมียว) ได้ และเกิดสงครามกลางเมือง (สงครามโอนิน) ใน พ.ศ. 2010 เปิดฉากยุคเซ็งโงะกุ ("รณรัฐ") ยาวนานนับศตวรรษ
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีพ่อค้าและมิชชันนารีคณะเยสุอิตจากประเทศโปรตุเกสเดินทางถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก (การค้านัมบัน) โดยตรง ทำให้โอะดะ โนะบุนะงะได้เทคโนโลยีและอาวุธปืนยุโรปซึ่งเขาใช้พิชิตไดเมียวคนอื่นหลายคน การรวบอำนาจของเขาเริ่มยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ (พ.ศ. 2116–2146) หลังโนะบุนะงะถูกอะเกะชิ มิสึฮิเดะลอบฆ่าใน พ.ศ. 2125 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ผู้สืบทอดของโนะบุนะงะ รวมประเทศใน พ.ศ. 2133 และเปิดฉากบุกครองเกาหลี 2 ครั้งใน พ.ศ. 2135 และ 2140 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
หลังฮิเดะโยะชิถึงแก่อสัญกรรม โทะกุงะวะ อิเอะยะซุตั้งตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนบุตรของฮิเดะโยะชิและใช้ตำแหน่งให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะซุเอาชนะไดเมียวต่าง ๆ ได้ในยุทธการที่เซะกิงะฮะระใน พ.ศ. 2143 ต่อมาใน พ.ศ. 2146 จักรพรรดิโกะ-โยเซจึงทรงแต่งตั้งเขาเป็นโชกุน เขาตั้งรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในเอะโดะ (กรุงโตเกียวปัจจุบัน) รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะออกมาตรการซึ่งรวมบุเกะโชะฮัตโตะเป็นจรรยาบรรณสำหรับควบคุมไดเมียวอัตตาณัติ และนโยบายซะโกะกุ("ประเทศปิด") ใน พ.ศ. 2182 ซึ่งกินเวลานานสองศตวรรษครึ่งและเป็นยุคเอกภาพทางการเมืองที่เรียก ยุคเอะโดะ (พ.ศ. 2146–2411) การศึกษาศาสตร์ตะวันตก ที่เรียก รังงะกุ ยังคงมีต่อผ่านการติดต่อกับดินแดนแทรกของเนเธอร์แลนด์ที่เดจิมะในนางาซากิ ยุคเอะโดะยังทำให้โคะกุงะกุ ("การศึกษาชาติ") หรือการศึกษาประเทศญี่ปุ่นโดยคนญี่ปุ่น เจริญด้วย
ยุคใหม่[แก้ไขต้นฉบับ]
สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ มีการฟื้นฟูการปกครองแบบจักรวรรดิในช่วงปลายรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะวันที่ 31 มีนาคม 2397 พลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี และ "เรือดำ" แห่งกองทัพเรือสหรัฐบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศต่อโลกภายนอกด้วยสนธิสัญญาคานางาวะ สนธิสัญญาคล้ายกันกับประเทศตะวันตกในยุคบะกุมะสึนำมาซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมือง การลาออกของโชกุนนำสู่สงครามโบะชิง และการสถาปนารัฐรวมอำนาจปกครองที่เป็นเอกภาพในนามภายใต้จักรพรรดิ (การฟื้นฟูเมจิ)[49]
ประเทศญี่ปุ่นรับสถาบันการเมือง ตุลาการและทหารแบบตะวันตกและอิทธิพลทางวัฒนธรรมตะวันตกรวมเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมขปงะเรทศสำหรับการกลายเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยผ่านกระบวนการกลายเป็นตะวันตกระหว่างการฟื้นฟูเมจิในปี 2411 คณะรัฐมนตรีจัดตั้งคณะองคมนตรี ริเริ่มรัฐธรรมนูญเมจิ และเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การฟื้นฟูเมจิเปลี่ยนจักรวรรดิญี่ปุ่นให้เป็นมหาอำนาจอุตสาหกรรมซึ่งมุ่งใช้ความขัดแย้งทางทหารเพื่อขยายเขตอิทธิพลของตน หลังคว้าชัยในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437–2438) และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2447–2448) ประเทศญี่ปุ่นเข้าควบคุมไต้หวัน เกาหลีและครึ่งใต้ของเกาะซาฮาลิน ประชากรญี่ปุ่นเพิ่มจาก 35 ล้านคนในปี 2416 เป็น 70 ล้านคนในปี 2478
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตในทวีปเอเชียต่อไปอีก ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีช่วง "ประชาธิปไตยไทโช" (พ.ศ. 2455–2469) แต่คริสต์ทศวรรษ 1920 (ประมาณพุทธทศวรรษ 2460) ประชาธิปไตยที่เปราะบางตกอยู่ภายใต้การเลื่อนทางการเมืองสู่ฟาสซิสต์ มีการผ่านกฎหมายปราบปรามการเห็นต่างทางการเมืองและมีความพยายามรัฐประหารหลายครั้ง "ยุคโชวะ" ต่อมาอำนาจของกองทัพเริ่มเพิ่มขึ้นและนำญี่ปุ่นสู่การขยายอาณาเขตและการเสริมสร้างแสนยานุภาพ ตลอดจนเผด็จการเบ็ดเสร็จและลัทธิคลั่งชาติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ฟาสซิสต์ ในปี 2474 ประเทศญี่ปุ่นบุกครองและยึดครองแมนจูเรีย เมื่อนานาชาติประณามการครอบครองนี้ ประเทศญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในปี 2476[50] ในปี 2479 ญี่ปุ่นลงนามกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นกับนาซีเยอรมนี และกติกาสัญญาไตรภาคีในปี 2483 เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ[51] หลังพ่ายในสงครามชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่นที่กินเวลาสั้น ๆ ประเทศญี่ปุ่นเจรจากติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น ซึ่งกินเวลาถึงปี 2488 เมื่อสหภาพโซเวียตบุกครองแมนจูเรีย
ระเบิดนิวเคลียร์แฟทแมนที่ถูกทิ้งลงนางาซากิในวันที่ 9 สิงหาคม 2488ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา) ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และการยาตราทัพเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจากยุทธนาวีแห่งมิดเวย์ (พ.ศ. 2485) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ (ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามลำดับ) และการรุกรานของสหภาพโซเวียต (วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน[52] สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งพลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ
ปี 2490 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นวัตรประชาธิปไตยเสรีนิยม การยึดครองญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกในปี 2499[53] และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2499[54] หลังสงคราม ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก จนถูกประเทศจีนแซงในปี 2553 แต่การเติบโตดังกล่าวหยุดในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อญี่ปุ่นประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย[55] ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 การเติบโตทางบวกส่งสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป[56] วันที่ 11 มีนาคม 2554 ประเทศญี่ปุ่นประสบแผ่นดินไหวครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ ซึ่งยังส่งผลให้เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิชิ
การเมือง[แก้ไขต้นฉบับ]
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
จักรพรรดิตั้งแต่ปี 2532ชินโซ อะเบะ
นายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2555ประเทศญี่ปุ่นมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่จักรพรรดิมีพระราชอำนาจจำกัด ทรงเป็นประมุขในทางพิธีการ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของประชาชน"[57] นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร ส่วนอำนาจอธิปไตยเป็นของชาวญี่ปุ่น
อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ตั้งอยู่ในชิโยะดะ กรุงโตเกียว สภาฯ ใช้ระบบระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร 衆議院 เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และ ราชมนตรีสภา (参議院) เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[58] พรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น (CDP) ที่เป็นเสรีนิยมสังคม และพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม (LDP) ที่เป็นอนุรักษนิยมครองสภาฯ LDP ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเกือบตลอดมาตั้งแต่ปี 2498 ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ระหว่างปี 2536 ถึง 2537 และระหว่างปี 2552 ถึง 2555
ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากกฎหมายจีนมาแต่อดีต และมีพัฒนาการเป็นเอกเทศในยุคเอะโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประชุมราชนีติ (公事方御定書) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรป โดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนี เป็นต้นแบบ เช่น ในปี 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง (民法) โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน[59] ระบบศาลของญี่ปุ่นแบ่งเป็นสี่ขั้นหลัก คือ ศาลสูงสุดและศาลชั้นล่างสามระดับ ประชุมกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก หกประมวล (六法)
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]ประเทศญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 จังหวัด[60] และแบ่งภาคออกเป็น 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บริหาร
ในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งเขาการปกครองออกเป็นเทศบาลย่อยๆ [61] แต่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับโครงสร้างการแบ่งเขตการปกครองโดยการรวมเทศบาลที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเขตการปกครองย่อยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเทศบาลลงได้ [62] การรวมเขตเทศบาลนี้เป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีการคาดการณ์ที่จะลดจาก 3,232 เทศบาลใน พ.ศ. 2542 ให้เหลือ 1,773 เทศบาลใน พ.ศ. 2553 [63]
ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป
ฮกไกโดโทโฮะกุคันโตชูบุ
1. ฮกไกโด
2. อาโอโมริ
3. อิวาเตะ
4. มิยางิ
5. อากิตะ
6. ยามางาตะ
7. ฟูกูชิมะ
8. อิบารากิ
9. โทจิงิ
10. กุมมะ
11. ไซตามะ
12. ชิบะ
13. โตเกียว
14. คานางาวะ
15. นีงาตะ
16. โทยามะ
17. อิชิกาวะ
18. ฟูกูอิ
19. ยามานาชิ
20. นางาโนะ
21. กิฟุ
22. ชิซูโอกะ
23. ไอจิ
คันไซชูโงกุชิโกกุคีวชูและโอกินาวะ
24. มิเอะ
25. ชิงะ
26. เกียวโต
27. โอซากะ
28. เฮียวโงะ
29. นาระ
30. วากายามะ
31. ทตโตริ
32. ชิมาเนะ
33. โอกายามะ
34. ฮิโรชิมะ
35. ยามางูจิ
36. โทกูชิมะ
37. คางาวะ
38. เอฮิเมะ
39. โคจิ
40. ฟูกูโอกะ
41. ซางะ
42. นางาซากิ
43. คูมาโมโตะ
44. โออิตะ
45. มิยาซากิ
46. คาโงชิมะ
47. โอกินาวะ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้ไขต้นฉบับ]
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อะเบะ กับประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางทูตกับเกือบทุกประเทศเอกราชในโลก และเป็นสมาชิกปัจจุบันของสหประชาชาติตั้งแต่เดือนธันวาคม 2499 ประเทศญี่ปุ่นเป็นสมาชิกจี 7, เอเปก และ "อาเซียนบวกสาม" และเข้าร่วมประชุมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงความมั่นคงกับประเทศออสเตรเลียในเดือนมีนาคม 2550[64] และกับประเทศอินเดียในเดือนตุลาคม 2551[65] เป็นผู้บริจาคความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการรายใหญ่สุดอันดับห้าของโลก โดยบริจาคเงิน 9.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557[66]
ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐ นับแต่สหรัฐและพันธมิตรพิชิตญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งสองประเทศธำรงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการกลาโหมอย่างใกล้ชิด สหรัฐเป็นตลาดสำคัญของสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นและเป็นแหล่งนำเข้าหลักของญี่ปุ่น และผูกมัดป้องกันประเทศญี่ปุ่น โดยมีฐานทัพในประเทศญี่ปุ่นบางส่วนด้วยเหตุนั้น[67]
ประเทศญี่ปุ่นต่อสู้การควบคุมหมู่เกาะคูริลใต้ (ได้แก่ กลุ่มอิโตะโระฟุ คุนะชิริ ชิโตะคัง และฮะโบะมะอิ) ของประเทศรัสเซีย ซึ่งสหภาพโซเวียตยึดครองในปี 2488 ประเทศญี่ปุ่นรับรู้การยืนยันของประเทศเกาหลีใต้เกี่ยวกับหินลีอังคอร์ท (หรือ "ทะเกะชิมะ" ในภาษาญี่ปุ่น) แต่ไม่ยอมรับ ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับประเทศจีนและประเทศไต้หวันเหนือหมู่เกาะเซ็งกะกุ และกับประเทศจีนเหนือสถานภาพของโอะกิโนะโทะริชิมะ
กองทัพ[แก้ไขต้นฉบับ]กองทัพญี่ปุ่นถูกจำกัดสิทธิตามมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น ซึ่งสละสิทธิของประเทศญี่ปุ่นในการประกาศสงครามและการใช้กำลังทหารในข้อพิพาทระหว่างประเทศ ฉะนั้น กองทัพญี่ปุ่นที่เรียก "กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น" นั้นจึงเป็นกองทัพที่ไม่เคยสู้รบนอกประเทศญี่ปุ่น[68] ประเทศญี่ปุ่นมีงบประมาณทางทหารสูงสุดประเทศหนึ่งในโลก[69] จัดเป็นประเทศเอเชียอันดับสูงสุดในดัชนีสันติภาพโลก[70] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปกครองกองทัพ และส่วนใหญ่ประกอบด้วยกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเป็นผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมทางทะเลริมแพ็ก (RIMPAC) เป็นประจำ[71] ล่าสุดมีการใช้กองทัพเพื่อปฏิบัติการรักษาสันติภาพ โดยการวางกำลังในประเทศอิรักเป็นการใช้กองทัพญี่ปุ่นนอกประเทศครั้งแรกนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[72] สหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการห้ามส่งอาวุธออกเพื่อให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้าร่วมโครงการนานาชาติอย่างเครื่องบินขับไล่จู่โจมร่วม (Joint Strike Fighter) ได้[73]
ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจโลกอย่างรวดเร็วร่วมกับโลกาภิวัตน์ สิ่งแวดล้อมความมั่นคงรอบประเทศญี่ปุ่นทวีความรุนแรงมากขึ้นอันสังเกตได้จากการพัฒนานิวเคลียร์และขีปนาวุธของประเทศเกาหลีเหนือ ภัยคุกคามข้ามชาติซึ่งมีเหตุจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมทั้งการก่อการร้ายระหว่างประเทศและการโจมตีไซเบอร์ก็เพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ[74] ประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งกองกำลังป้องกันตนเองได้เข้ามีส่วนร่วมอย่างถึงที่สุดในความพยายามธำรงและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางทหารใกล้ชิดกับสหรัฐ พันธมิตรความมั่นคงสหรัฐ–ญี่ปุ่นเป็นหลักหมุดของนโยบายการต่างประเทศของชาติ[75] นับแต่เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2499 ประเทศญี่ปุ่นเคยเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงเป็นเวลารวม 20 ปี วาระล่าสุดในปี 2552 และ 2553
ในเดือนพฤษภาคม 2557 นายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะกล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นต้องการสลัดการวางเฉยที่ธำรงมาตลอดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติและรับผิดชอบความมั่นคงในภูมิภาคมากขึ้น เขากล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นต้องการมีบทบาทสำคัญและเสนอความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น[76] ความตึงเครียดล่าสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศเกาหลีเหนือได้จุดชนวนการถกเถียงรอบใหม่เรื่องสถานภาพของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและความสัมพันธ์กับสังคมญี่ปุ่น[77] แนวทางกองทัพญี่ปุ่นฉบับใหม่ที่มีประกาศในเดือนธันวาคม 2553 จะชี้นำกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นจากความสนใจสมัยสงครามเย็นต่ออดีตสหภาพโซเวียตสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทดินแดนเหนือหมู่เกาะเซ็งกะกุ[78]
เศรษฐกิจ[แก้ไขต้นฉบับ]
ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการทำงานที่ดีของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง[79] ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ[80] โดยได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 [81] สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก[82][83] แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น[84] แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[85]
ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก[86] รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) [86] และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อ[87] ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี[88]
จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน[89] ญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4[89] ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย[90] บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดานินเทนโด นิปปอน สตีล และ เซเว่น อีเลฟเว่น ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่ง[91] ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด[92]
ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน[93] ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท[94] แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้[95][94]
ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6[96] และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6[97]เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ[98][99] ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้ไขต้นฉบับ]
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อิกะตะ
รถไฟชิงกันเซ็งหรือรถไฟหัวกระสุนซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีเดินทางที่แพร่หลายในญี่ปุ่นดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การคมนาคมในประเทศญี่ปุ่น
ใน พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจากปิโตรเลียม ร้อยละ 20 จากถ่านหิน ร้อยละ 14 จากก๊าซธรรมชาติ[100] การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด[100] แต่หลังจากเกิดเหตุอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิชิ รัฐบาลญี่ปุ่นก็วางแผนที่จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในทศวรรษที่ 2570[101]
ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่นกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบันที่รถไฟชิงกันเซ็งซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา[102] ทางรถไฟญี่ปุ่น ระยะทางรวมทั้งสิ้น23,474 กิโลเมตรแบ่งเป็น ราง 1.435 เมตร สำหรับวิ่งรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟใต้ดินหลายเมือง ระยะทาง 2,664 กม รางรถไฟ 1.067 เมตร สำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองรถไฟทางใกล ระยะทาง 22,445 กม. ทางด่วนแห่งชาติ ของประเทศญี่ปุ่นมีระยะทางทั้งสิ้น 11,520 กิโลเมตร การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมีสนามบิน 173 แห่งทั่วประเทศ สนามบินฮาเนดะที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย[103] สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่สนามบินนาริตะ สนามบินคันไซ และสนามบินนานาชาตินาโงยา แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง[104] สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ[105]
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้ไขต้นฉบับ]
หุ่นยนต์อาซิโมของฮอนด้า
โมดูลคิโบขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก[106] ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับ 3 ของโลก[107]ตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นมาเพื่ออยู่รอด สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 3 ของ โลก[108] เป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด
ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริด ซึ่งได้เทคโนโลยีมาจากเยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา[109] ของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียได้น้อย[110][111] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิง ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก[112]
องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติและโมดูลคิโบ มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วยกระสวยอวกาศใน พ.ศ. 2552[113]
ประชากร[แก้ไขต้นฉบับ]
แยกชิบุยะถนนที่มีผู้สัญจรมากที่สุดในโตเกียวจากการสำรวจในวันที่ 1 สิงหาคม 2012 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127,692,273 คน[114] ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน โดยมีชาวต่างชาติ เช่นชาวเกาหลี จีน บราซิล ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่[115] เชื้อชาติส่วนใหญ่คือเชื้อสายชาวยะมะโตะ และมีชนกลุ่มน้อยเช่นชาวไอนุและชาวรีวกีว รวมทั้งชนกลุ่มน้อยทางสังคมที่เรียกว่าบุระกุ[116]
ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 82.07 ปี จึงนับเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก[117] โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบีบูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ [118] จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25)[118] ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี พ.ศ. 2550) ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด)[119] การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระเงินบำนาญของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น[120]
ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา
ประเทศญี่ปุ่น
日本国 (ญี่ปุ่น)
ธงชาติตราแผ่นดิน
เพลงชาติ: คิมิงะโยะ
MENU
0:00
ตรารัฐบาล:
พอโลเนีย (ญี่ปุ่น: 五七[の]桐 โกะชิชิ โนะ คิริ)
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)โตเกียว
35°41′N 139°46′E
ภาษาราชการไม่มี[1]
ภาษาประจำชาติภาษาญี่ปุ่น
การปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
• จักรพรรดิจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
• นายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะ
การสร้างชาติ
• วันก่อตั้งชาติ11 กุมภาพันธ์ 117 ปีก่อน พ.ศ.
• รธน. เมจิ29 พฤศจิกายน 2433
• รธน. ปัจจุบัน3 พฤษภาคม 2490
• สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก28 เมษายน 2495
พื้นที่
• รวม377,944 ตร.กม. (61)
145,925 ตร.ไมล์
• แหล่งน้ำ (%)0.8
ประชากร
• 2555 (ประเมิน)127,110,047[2] (10)
• 2010 (สำมะโน)128,056,026[3]
• ความหนาแน่น337.1 คน/ตร.กม. (36)
873.1 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)2560 (ประมาณ)
• รวม5.405 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• ต่อหัว42,658 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (ราคาตลาด)2560 (ประมาณ)
• รวม4.884 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
• ต่อหัว38,550 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (2551)32.1[4]
HDI (2559) 0.903 (สูงมาก) (17th)
สกุลเงินเยน (¥) (JPY)
เขตเวลาJST (UTC+9)
• ฤดูร้อน (DST)ไม่มี (UTC)
ขับรถด้านซ้ายมือ
โดเมนบนสุด.jp
รหัสโทรศัพท์81
"ญี่ปุ่น" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ญี่ปุ่น (แก้ความกำกวม)ประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本 Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง, ชื่ออย่างเป็นทางการ ญี่ปุ่น: 日本国 Nihon-koku/Nippon-koku นิฮงโกกุ/นิปปงโกกุ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน
ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว[5] เมืองหลวงของประเทศ
การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงปี 2411 ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองด้วยระบบทหารเจ้าขุนมูลนายโชกุนซึ่งปกครองในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิ ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ระยะแยกอยู่โดดเดี่ยวอันยาวนานในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งยุติในปี 2396 เมื่อกองเรือสหรัฐบังคับให้ประเทศญี่ปุ่นเปิดต่อโลกตะวันตก หลังความขัดแย้งและการก่อการกำเริบภายในเกือบสองทศวรรษ ราชสำนักจักรวรรดิได้อำนาจทางการเมืองคืนในปี 2411 ผ่านการช่วยเหลือของหลายตระกูลจากโชชูและซัตสึมะ และมีการสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชัยในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ประเทศญี่ปุ่นขยายจักรวรรดิระหว่างสมัยแสนยนิยมเพิ่มขึ้น สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองปี 2480 ขยายเป็นบางส่วนของสงครามโลกครั้งที่สองในปี 2484 ซึ่งยุติในปี 2488 นับแต่การลงมติเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับบทวนวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 ระหว่างการยึดครองของผู้บังคับบัญชาสูงสุดสำหรับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศญี่ปุ่นธำรงระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและราชาธิปไตยภายใต้รัฐรรมนูญโดยมีจักรพรรดิเป็นประมุขแห่งรัฐและสภานิติบัญญํติจากการเลือกตั้ง เรียก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นสมาชิกสหประชาชาติ OECD จี7 จี8 และจี20 และถือเป็นมหาอำนาจ[6][7][8] มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกตามจีดีพีราคาตลาด และอันดับ 4 ของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ และยังเป็นผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่สุดอันดับ 4 ของโลกด้วย ประเทศญี่ปุ่นมีกำลังแรงงานทักษะสูงและถือเป็นประเทศที่มีการศึกษาสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก โดยมีร้อยละของพลเมืองมีวุฒิการศึกษาขั้นตติยภูมิ (tertiary education) สูงสุดประเทศหนึ่งของโลก[9] แม้ประเทศญี่ปุ่นสละสิทธิประกาศสงคราม แต่ยังมีกองทหารสมัยใหม่และมีงบกองทัพมากเป็นอันดับ 8 ของโลก[10] ซึ่งใช้สำหรับบทบาทป้องกันตนเองและรักษาสันติภาพ ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีมาตรฐานการครองชีพและดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง ประชากรมีความคาดหมายคงชีพสูงสุดและมีอัตราการเสียชีวิตทารกต่ำสุดอันดับ 3 ในโลก ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องภาพยนตร์ที่เก่าแก่และกว้างขวาง อาหารหลากชนิดและการเข้ามีส่วนร่วมสำคัญในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปัจจุบัน[11][12]
เนื้อหา
- 1ชื่อประเทศ
- 2ภูมิศาสตร์
- 3ประวัติศาสตร์
- 4การเมือง
- 5กองทัพ
- 6เศรษฐกิจ
- 7โครงสร้างพื้นฐาน
- 8วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- 9ประชากร
- 10วัฒนธรรม
- 11อ้างอิง
- 12ดูเพิ่ม
- 13หนังสืออ่านเพิ่มเติม
- 14แหล่งข้อมูลอื่น
สันนิษฐานว่าประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้ชื่อประเทศว่า "นิฮง/นิปปง (日本) " ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 13[13][14] ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ และทำให้ญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย ชื่อนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดต่อกับราชวงศ์สุยของจีนและหมายถึงการที่ญี่ปุ่นอยู่ในทิศตะวันออกของจีน[15] ก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในชื่อยะมะโตะ[16]
ชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่นในภาษาอื่น ๆ เช่น เจแปน (อังกฤษ: Japan), ยาพัน (เยอรมัน: Japan), ฌาปง (ฝรั่งเศส: Japon), ฆาปอน (สเปน: Japón) รวมถึงคำว่า ญี่ปุ่น ในภาษาไทย น่าจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือแต้จิ๋วที่ออกเสียงว่า "ยิดปุ่น" (ฮกเกี้ยน) หรือ "หยิกปึ้ง" (แต้จิ๋ว) ทั้งหมดล้วนแต่เป็นคำที่ถอดเสียงมาจากคำอ่านตัวอักษรจีน 日本国 ซึ่งอ่านว่า "จีปังกู" แต่ในสำเนียงแมนดารินอ่านว่า รื่อเปิ่นกั๋ว (จีน: 日本国; พินอิน: Rìběn'guó) หรือย่อ ๆ ว่า รื่อเปิ่น (จีน: 日本; พินอิน: Rìběn) [17] ส่วนในภาษาที่ใช้ตัวอักษรจีนอื่น ๆ เช่นภาษาเกาหลี ออกเสียงว่า "อิลบน" (เกาหลี: 일본; 日本 Ilbon) [18] และภาษาเวียดนาม ที่ออกเสียงว่า "เหญิ่ตบ๋าน" (เวียดนาม: Nhật Bản, 日本)[19] จะเรียกประเทศญี่ปุ่นโดยออกเสียงคำว่า 日本 ด้วยภาษาของตนเอง
ภูมิศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]
ภาพกลุ่มเกาะญี่ปุ่นถ่ายจากดาวเทียมประเทศญี่ปุ่นมีเกาะรวม 6,852 เกาะ ทอดตามชายฝั่งแปซิฟิกของเอเชียตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นรวมทุกเกาะตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 24 องศา และ 46 องศาเหนือ และลองติจูด 122 องศา และ 146 องศาตะวันออก หมู่เกาะหลักไล่จากเหนือลงใต้ ได้แก่ ฮกไกโด ฮนชู ชิโกกุ และคีวชู หมู่เกาะรีวกีวรวมทั้งเกาะโอกินาวะเรียงกันอยู่ทางใต้ของคีวชู รวมกันมักเรียกว่า กลุ่มเกาะญี่ปุ่น[20]
พื้นที่ประมาณร้อยละ 73 ของประเทศญี่ปุ่นเป็นป่าไม้ ภูเขาและไม่เหมาะกับการใช้ทางการเกษตร อุตสาหกรรม หรือการอยู่อาศัย[21] ด้วยเหตุนี้ เขตอยู่อาศัยได้ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณชายฝั่งเป็นหลัก จึงมีความหนาแน่นของประชากรสูงมาก ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงสุดของโลกประเทศหนึ่ง[22]
เกาะต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตภูเขาไฟบนวงแหวนไฟแปซิฟิก รอยต่อสามโบะโซะ (Boso Triple Junction) นอกชายฝั่งญี่ปุ่นเป็นรอยต่อสามที่แผ่นอเมริกาเหนือ แผ่นแปซิฟิกและแผ่นทะเลฟิลิปปินบรรจบกัน ประเทศญี่ปุ่นเดิมติดกับชายฝั่งตะวันออกของทวีปยูเรเชีย แต่แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงดึงประเทศญี่ปุ่นไปทางตะวันออก เปิดทะเลญี่ปุ่นเมื่อประมาณ 15 ล้านปีก่อน[23]
ประเทศญี่ปุ่นมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ 108 ลูก ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีภูเขาไฟใหม่เกิดขึ้นหลายลูก รวมทั้งโชวะ-ชินซันบนฮกไกโดและเมียวจิน-โชนอกหินบายองเนสในมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดแผ่นดินไหวทำลายล้างซึ่งมักทำให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาหลายครั้งทุกศตวรรษ[24] แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 140,000 คน[25] แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุด ได้แก่ แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 และแผ่นดินไหวในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ซึ่งมีขนาด 9.1 และทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ดัชนีความเสี่ยงโลกปี 2556 จัดให้ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงภัยธรรมชาติสูงสุดอันดับที่ 15[26]
ภูมิอากาศ[แก้ไขต้นฉบับ]ภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นเป็นแบบอบอุ่นเป็นหลัก แต่มีความแตกต่างกันมากตั้งแต่เหนือจดใต้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นหกเขตภูมิอากาศหลัก ได้แก่ ฮกไกโด ทะเลญี่ปุ่น ที่สูงภาคกลาง ทะเลเซโตะใน มหาสมุทรแปซิฟิกและหมู่เกาะรีวกีว
เขตเหนือสุด ฮกไกโด มีภูมิอากาศแบบทวีปชื้นที่มีฤดูหนาวเย็นและยาวนาน และมีฤดูร้อนอุ่นมากถึงเย็น หยาดน้ำฟ้าไม่หนัก แต่หมู่เกาะมักมีกองหิมะลึกในฤดูหนาว ในเขตทะเลญี่ปุ่นตรงชายฝั่งตะวันตกของฮนชู ลมฤดูหนาวจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือนำให้หิมะตกหนัก ในฤดูร้อน ภูมิภาคนี้เย็นกว่าเขตแปซิฟิก แม้บางครั้งมีอุณหภูมิร้อนจัดเนื่องจากลมเฟิน (foehn) เขตที่สูงภาคกลางเป็นภูมิอากาศแบบทวีปชื้นในแผ่นดินตรงแบบ มีความแตกต่างของอุณหภูมิมากระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนมีความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืนมาก หยาดน้ำฟ้าเบาบาง แม้ฤดูหนาวปกติมีหิมะตก เขตภูเขาชูโงกุและเกาะชิโกกุกั้นทะเลในแผ่นดินเซโตะจากลมตามฤดูกาล ทำให้มีลมฟ้าอากาศไม่รุนแรงตลอดปี ชายฝั่งแปซิฟิกมีลักษณะภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนชื้นซึ่งมีฤดูหนาวไม่รุนแรง มีหิมะตกบางครั้ง และฤดูร้อนที่ร้อนชื้นเนื่องจากลมฤดูกาลจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะรีวกีวมีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อน โดยมีฤดูหนาวอบอุ่นและฤดูร้อนร้อน หยาดน้ำฟ้าหนักมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างฤดูฝน[27]
อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 5.1 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนอยู่ที่ 25.2 องศาเซลเซียส[28] อุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 41.0 องศาเซลเซียส ซึ่งมีบันทึกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2556[29] ฤดูฝนหลักเริ่มในต้นเดือนพฤษภาคมในโอกินาวะ และแนวฝนจะค่อย ๆ เคลื่อนขึ้นเหนือจนถึงฮกไกโดในปลายเดือนกรกฎาคม ในฮนชูส่วนใหญ่ ฤดูฝนเริ่มก่อนกลางเดือนมิถุนายนและกินเวลาประมาณหกสัปดาห์ ในปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง พายุไต้ฝุ่นมักนำพาฝนตกหนักมา[30]
ความหลากหลายทางชีวภาพ[แก้ไขต้นฉบับ]
ลิงกังญี่ปุ่นที่บ่อน้ำพุร้อนจิโกะคุดะนิมีชื่อเสียงว่าเข้าสปาในฤดูหนาวประเทศญี่ปุ่นมีเขตชีวภาพป่าเก้าเขตซึ่งสะท้อนภูมิอากาศและภูมิศาสตร์ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีตั้งแต่ป่าใบกว้างชื้นกึ่งเขตร้อนในหมู่เกาะรีวกีวและหมู่เกาะโอะงะซะวะระจนถึงป่าผสมและใบกว้างเขตอุบอุ่นในเขตภูมิอากาศไม่รุนแรงในหมู่เกาะหลัก จนถึงป่าสนเขาเขตอบอุ่นในส่วนฤดูหนาวหนาวเย็นในเกาะทางเหนือ ประเทศญี่ปุ่นมีสัตว์ป่ากว่า 90,000 ชนิด รวมทั้งหมีสีน้ำตาล ลิงกังญี่ปุ่น ทะนุกิ หนูนาญี่ปุ่นใหญ่ และซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น มีการตั้งเครือข่ายอุทยานแห่งชาติขนาดใหญ่เพื่อคุ้มครองพื้นที่สำคัญของพืชและสัตว์ตลอดจนเขตพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์สามสิบเจ็ดแห่ง มีสี่แห่งลงทะเบียนในรายการมรดกโลกของยูเนสโก
สิ่งแวดล้อม[แก้ไขต้นฉบับ]ในช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นโยบายสิ่งแวดล้อมถูกรัฐบาลและบริษัทอุตสาหกรรมลดความสำคัญ ผลทำให้มีมลภาวะสิ่งแวดล้อมแพร่หลายในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 เพื่อสนองต่อความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงริเริ่มกฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมหลายฉบับในปี 2513[31] วิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 ยังส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากประเทศญี่ปุ่นขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ[32] ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้แก่ มลภาวะทางอากาศในเมือง การจัดการขยะ ยูโทรฟิเคชันน้ำ การอนุรักษ์ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การจัดการเคมีและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์[33]
ประเทศญี่ปุ่นจัดอยู่ในอันดับที่ 39 ในดัชนีสมรรถนะสิ่งแดวล้อมปี 2559 ซึ่งวัดความผูกมัดของประเทศต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม[34] ในฐานะเจ้าภาพและผู้ลงนามพิธีสารเกียวโตปี 2540 ประเทศญี่ปุ่นอยู่ภายใต้ข้อผูกพันตามสนธิสัญญาในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และใช้วิธีการเพิ่มเติมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ[35]
ประวัติศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์โบราณ[แก้ไขต้นฉบับ]
เครื่องปั้นดินเผายุคโจมงวัฒนธรรมยุคหินเก่าประมาณ 30,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์บนกลุ่มเกาะญี่ปุ่นครั้งแรกเท่าที่ทราบ หลังจากนั้นเป็นยุคโจมงเมื่อประมาณ 14,000 ปีก่อน ค.ศ. ที่มีวัฒนธรรมนักล่าสัตว์หาของป่ากึ่งอยู่กับที่ยุคหินกลางถึงยุคหินใหม่ ซึ่งมีลักษณะโดยการอาศัยอยู่ในหลุมและเกษตรกรรมเรียบง่าย[36] รวมทั้งบรรพบุรุษของชาวไอนุและชาวยะมะโตะร่วมสมัยด้วย[37][38] เครื่องดินเผาตกแต่งจากยุคนี้ยังเป็นตัวอย่างเครื่องดินเผาเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ยังเหลือรอดในโลกด้วย ประมาณ 300 ปีก่อน ค.ศ. ชาวยะโยะอิเริ่มเข้าสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น ผสมผสานกับโจมอน[39] ยุคยะโยะอิซึ่งเริ่มตั้งแต่ประมาณ 500 ปีก่อน ค.ศ. มีการริเริ่มการปฏิวัติอย่างการทำนาข้าวเปียก[40] เครื่องดินเผาแบบใหม่[41] และโลหะวิทยาที่รับมาจากจีนและเกาหลี[42]
ญี่ปุ่นปรากฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ลายลักษณ์อักษรในฮั่นซู (บันทึกประวัติศาสตร์ฮั่น) ของจีน[43] ตามบันทึกสามก๊ก ราชอาณาจักรทรงอำนาจที่สุดในกลุ่มเกาะญี่ปุ่นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 เรียก ยะมะไตโกะกุ มีกาเผยแผ่ศาสนาพุทธ เข้าประเทศญี่ปุ่นจากอาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลีปัจจุบัน) และได้รับอุปถัมภ์โดยเจ้าชายโชโตะกุ และการพัฒนาศาสนาพุทธญี่ปุ่นในเวลาต่อมาได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก[44] แม้มีการต่อต้านในช่วงแรก แต่ศาสนาพุทธได้รับการส่งเสริมจากชนชั้นปกครองและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในช่วงต้นยุคอะซุกะ (ค.ศ. 592–710)[45]
ยุคนาระ (พ.ศ. 1253–1337) มีการกำเนิดรัฐญี่ปุ่นแบบรวมอำนาจปกครองโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ราชสำนักจักรพรรดิในเฮโจเกียว (จังหวัดนาระปัจจุบัน) ยุคนาระเริ่มมีวรรณคดีตลอดจนการพัฒนาศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ[46] การระบาดของโรคฝีดาษในปี 1278–1280 เชื่อว่าฆ่าประชากรญี่ปุ่นไปมากถึงหนึ่งในสาม[47] ในปี 1327 จักรพรรดิคัมมุย้ายเมืองหลวงจากนาระไปนะงะโอกะเกียว และเฮอังเกียว (นครเกียวโตปัจจุบัน) ในปี 1337
นับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง (พ.ศ. 1337–1728) ซึ่งวัฒนธรรมญี่ปุ่นเฉพาะถิ่นชัดเจนกำเนิด โดยที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ศิลปะ กวีและร้อยแก้ว ตำนานเก็นจิของมุราซากิ ชิคิบุ และ "คิมิงะโยะ" เนื้อร้องเพลงชาติประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน ก็มีการเขียนขึ้นในช่วงนี้[48]
ศาสนาพุทธเริ่มแพร่ขยายระหว่างยุคเฮอัง ผ่านสองนิกายหลัก ได้แก่ เท็งไดและชินงน สุขาวดี (โจโดะชู โจโดะชินชู) ได้รับความนิยมมากกว่าในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 11
ยุคเจ้าขุนมูลนาย[แก้ไขต้นฉบับ]
นักรบซะมุไรสู้รบกับมองโกลระหว่างการบุกครองญี่ปุ่นของมองโกล (Suenaga, 1836)
วัดคิงกะกุ ในเมืองเกียวโตยุคเจ้าขุนมูลนายของญี่ปุ่นมีลักษณะจากการถือกำเนิดและการครอบงำของชนชั้นนักรบซะมุไร ใน พ.ศ. 1728 จักรพรรดิโกะ-โทะบะทรงแต่งตั้งซะมุไร มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ เป็นโชกุน หลังพิชิตตระกูลไทระในสงครามเก็มเป โยะริโตะโมะตั้งฐานอำนาจในคะมะกุระ หลังเขาเสียชีวิต ตระกูลโฮโจเถลิงอำนาจเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุนมีการเผยแผ่ศาสนาพุทธสำนักเซนจากจีนในยุคคะมะกุระ (พ.ศ. 1728–1876) และได้รับความนิยมในชนชั้นซะมุไร รัฐบาลโชกุนคะมะกุระขับไล่การบุกครองของมองโกลสองครั้งใน พ.ศ. 1817 และ 1824 แต่สุดท้ายถูกจักรพรรดิโกะ-ไดโงะโค่นล้ม ส่วนจักรพรรดิโกะ-ไดโงะก็ถูกอะชิกะงะ ทะกะอุจิพิชิตอีกทอดหนึ่งใน พ.ศ. 1879
อะชิกะงะ ทะกะอุจิตั้งรัฐบาลโชกุนในมุโระมะชิ จังหวัดเกียวโต เป็นจุดเริ่มต้นของยุคมุโระมะชิ (พ.ศ. 1879–2116) รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะรุ่งเรืองในสมัยของอะชิกะงะ โยะชิมิสึ และวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่บนศาสนาพุทธแบบเซ็น (ศิลปะมิยะบิ) แพร่กระจาย ต่อมาศิลปะมิยะบิวิวัฒน์เป็นวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ และเจริญจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21–22) อีกด้านหนึ่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะสมัยต่อมาไม่สามารถควบคุมขุนศึกเจ้าขุนมูลนาย (ไดเมียว) ได้ และเกิดสงครามกลางเมือง (สงครามโอนิน) ใน พ.ศ. 2010 เปิดฉากยุคเซ็งโงะกุ ("รณรัฐ") ยาวนานนับศตวรรษ
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีพ่อค้าและมิชชันนารีคณะเยสุอิตจากประเทศโปรตุเกสเดินทางถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก (การค้านัมบัน) โดยตรง ทำให้โอะดะ โนะบุนะงะได้เทคโนโลยีและอาวุธปืนยุโรปซึ่งเขาใช้พิชิตไดเมียวคนอื่นหลายคน การรวบอำนาจของเขาเริ่มยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ (พ.ศ. 2116–2146) หลังโนะบุนะงะถูกอะเกะชิ มิสึฮิเดะลอบฆ่าใน พ.ศ. 2125 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ผู้สืบทอดของโนะบุนะงะ รวมประเทศใน พ.ศ. 2133 และเปิดฉากบุกครองเกาหลี 2 ครั้งใน พ.ศ. 2135 และ 2140 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
หลังฮิเดะโยะชิถึงแก่อสัญกรรม โทะกุงะวะ อิเอะยะซุตั้งตนเองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนบุตรของฮิเดะโยะชิและใช้ตำแหน่งให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนทางการเมืองและการทหาร อิเอะยะซุเอาชนะไดเมียวต่าง ๆ ได้ในยุทธการที่เซะกิงะฮะระใน พ.ศ. 2143 ต่อมาใน พ.ศ. 2146 จักรพรรดิโกะ-โยเซจึงทรงแต่งตั้งเขาเป็นโชกุน เขาตั้งรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในเอะโดะ (กรุงโตเกียวปัจจุบัน) รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะออกมาตรการซึ่งรวมบุเกะโชะฮัตโตะเป็นจรรยาบรรณสำหรับควบคุมไดเมียวอัตตาณัติ และนโยบายซะโกะกุ("ประเทศปิด") ใน พ.ศ. 2182 ซึ่งกินเวลานานสองศตวรรษครึ่งและเป็นยุคเอกภาพทางการเมืองที่เรียก ยุคเอะโดะ (พ.ศ. 2146–2411) การศึกษาศาสตร์ตะวันตก ที่เรียก รังงะกุ ยังคงมีต่อผ่านการติดต่อกับดินแดนแทรกของเนเธอร์แลนด์ที่เดจิมะในนางาซากิ ยุคเอะโดะยังทำให้โคะกุงะกุ ("การศึกษาชาติ") หรือการศึกษาประเทศญี่ปุ่นโดยคนญี่ปุ่น เจริญด้วย
ยุคใหม่[แก้ไขต้นฉบับ]
สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ มีการฟื้นฟูการปกครองแบบจักรวรรดิในช่วงปลายรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะวันที่ 31 มีนาคม 2397 พลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี และ "เรือดำ" แห่งกองทัพเรือสหรัฐบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศต่อโลกภายนอกด้วยสนธิสัญญาคานางาวะ สนธิสัญญาคล้ายกันกับประเทศตะวันตกในยุคบะกุมะสึนำมาซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมือง การลาออกของโชกุนนำสู่สงครามโบะชิง และการสถาปนารัฐรวมอำนาจปกครองที่เป็นเอกภาพในนามภายใต้จักรพรรดิ (การฟื้นฟูเมจิ)[49]
ประเทศญี่ปุ่นรับสถาบันการเมือง ตุลาการและทหารแบบตะวันตกและอิทธิพลทางวัฒนธรรมตะวันตกรวมเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมขปงะเรทศสำหรับการกลายเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยผ่านกระบวนการกลายเป็นตะวันตกระหว่างการฟื้นฟูเมจิในปี 2411 คณะรัฐมนตรีจัดตั้งคณะองคมนตรี ริเริ่มรัฐธรรมนูญเมจิ และเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การฟื้นฟูเมจิเปลี่ยนจักรวรรดิญี่ปุ่นให้เป็นมหาอำนาจอุตสาหกรรมซึ่งมุ่งใช้ความขัดแย้งทางทหารเพื่อขยายเขตอิทธิพลของตน หลังคว้าชัยในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437–2438) และสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2447–2448) ประเทศญี่ปุ่นเข้าควบคุมไต้หวัน เกาหลีและครึ่งใต้ของเกาะซาฮาลิน ประชากรญี่ปุ่นเพิ่มจาก 35 ล้านคนในปี 2416 เป็น 70 ล้านคนในปี 2478
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตในทวีปเอเชียต่อไปอีก ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีช่วง "ประชาธิปไตยไทโช" (พ.ศ. 2455–2469) แต่คริสต์ทศวรรษ 1920 (ประมาณพุทธทศวรรษ 2460) ประชาธิปไตยที่เปราะบางตกอยู่ภายใต้การเลื่อนทางการเมืองสู่ฟาสซิสต์ มีการผ่านกฎหมายปราบปรามการเห็นต่างทางการเมืองและมีความพยายามรัฐประหารหลายครั้ง "ยุคโชวะ" ต่อมาอำนาจของกองทัพเริ่มเพิ่มขึ้นและนำญี่ปุ่นสู่การขยายอาณาเขตและการเสริมสร้างแสนยานุภาพ ตลอดจนเผด็จการเบ็ดเสร็จและลัทธิคลั่งชาติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ฟาสซิสต์ ในปี 2474 ประเทศญี่ปุ่นบุกครองและยึดครองแมนจูเรีย เมื่อนานาชาติประณามการครอบครองนี้ ประเทศญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในปี 2476[50] ในปี 2479 ญี่ปุ่นลงนามกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นกับนาซีเยอรมนี และกติกาสัญญาไตรภาคีในปี 2483 เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ[51] หลังพ่ายในสงครามชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่นที่กินเวลาสั้น ๆ ประเทศญี่ปุ่นเจรจากติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น ซึ่งกินเวลาถึงปี 2488 เมื่อสหภาพโซเวียตบุกครองแมนจูเรีย
ระเบิดนิวเคลียร์แฟทแมนที่ถูกทิ้งลงนางาซากิในวันที่ 9 สิงหาคม 2488ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา) ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และการยาตราทัพเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจากยุทธนาวีแห่งมิดเวย์ (พ.ศ. 2485) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ (ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามลำดับ) และการรุกรานของสหภาพโซเวียต (วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน[52] สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งพลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ
ปี 2490 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นวัตรประชาธิปไตยเสรีนิยม การยึดครองญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกในปี 2499[53] และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2499[54] หลังสงคราม ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก จนถูกประเทศจีนแซงในปี 2553 แต่การเติบโตดังกล่าวหยุดในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อญี่ปุ่นประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย[55] ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 การเติบโตทางบวกส่งสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป[56] วันที่ 11 มีนาคม 2554 ประเทศญี่ปุ่นประสบแผ่นดินไหวครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ ซึ่งยังส่งผลให้เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิชิ
การเมือง[แก้ไขต้นฉบับ]
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
จักรพรรดิตั้งแต่ปี 2532ชินโซ อะเบะ
นายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2555ประเทศญี่ปุ่นมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่จักรพรรดิมีพระราชอำนาจจำกัด ทรงเป็นประมุขในทางพิธีการ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของประชาชน"[57] นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร ส่วนอำนาจอธิปไตยเป็นของชาวญี่ปุ่น
อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ ตั้งอยู่ในชิโยะดะ กรุงโตเกียว สภาฯ ใช้ระบบระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร 衆議院 เป็นสภาล่าง มีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี และ ราชมนตรีสภา (参議院) เป็นสภาสูง มีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปี สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุสิบแปดปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[58] พรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น (CDP) ที่เป็นเสรีนิยมสังคม และพรรคประชาธิปไตยเสรีนิยม (LDP) ที่เป็นอนุรักษนิยมครองสภาฯ LDP ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเกือบตลอดมาตั้งแต่ปี 2498 ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ระหว่างปี 2536 ถึง 2537 และระหว่างปี 2552 ถึง 2555
ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากกฎหมายจีนมาแต่อดีต และมีพัฒนาการเป็นเอกเทศในยุคเอะโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประชุมราชนีติ (公事方御定書) ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการในญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรป โดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนี เป็นต้นแบบ เช่น ในปี 2439 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง (民法) โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันเป็นต้นแบบ และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน[59] ระบบศาลของญี่ปุ่นแบ่งเป็นสี่ขั้นหลัก คือ ศาลสูงสุดและศาลชั้นล่างสามระดับ ประชุมกฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียก หกประมวล (六法)
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]ประเทศญี่ปุ่นแบ่งการปกครองออกเป็น 47 จังหวัด[60] และแบ่งภาคออกเป็น 8 ภูมิภาค ซึ่งมักจะถูกจับเข้ากลุ่มตามเขตแดนที่ติดกันที่มีวัฒนธรรมและสำเนียงการพูดใกล้เคียงกัน ทุกจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บริหาร
ในแต่ละจังหวัดมีการแบ่งเขาการปกครองออกเป็นเทศบาลย่อยๆ [61] แต่ในปัจจุบันกำลังมีการปรับโครงสร้างการแบ่งเขตการปกครองโดยการรวมเทศบาลที่อยู่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนเขตการปกครองย่อยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเทศบาลลงได้ [62] การรวมเขตเทศบาลนี้เป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยมีการคาดการณ์ที่จะลดจาก 3,232 เทศบาลใน พ.ศ. 2542 ให้เหลือ 1,773 เทศบาลใน พ.ศ. 2553 [63]
ประเทศญี่ปุ่นมีเมืองใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเมืองต่างมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป
ฮกไกโดโทโฮะกุคันโตชูบุ
1. ฮกไกโด
2. อาโอโมริ
3. อิวาเตะ
4. มิยางิ
5. อากิตะ
6. ยามางาตะ
7. ฟูกูชิมะ
8. อิบารากิ
9. โทจิงิ
10. กุมมะ
11. ไซตามะ
12. ชิบะ
13. โตเกียว
14. คานางาวะ
15. นีงาตะ
16. โทยามะ
17. อิชิกาวะ
18. ฟูกูอิ
19. ยามานาชิ
20. นางาโนะ
21. กิฟุ
22. ชิซูโอกะ
23. ไอจิ
คันไซชูโงกุชิโกกุคีวชูและโอกินาวะ
24. มิเอะ
25. ชิงะ
26. เกียวโต
27. โอซากะ
28. เฮียวโงะ
29. นาระ
30. วากายามะ
31. ทตโตริ
32. ชิมาเนะ
33. โอกายามะ
34. ฮิโรชิมะ
35. ยามางูจิ
36. โทกูชิมะ
37. คางาวะ
38. เอฮิเมะ
39. โคจิ
40. ฟูกูโอกะ
41. ซางะ
42. นางาซากิ
43. คูมาโมโตะ
44. โออิตะ
45. มิยาซากิ
46. คาโงชิมะ
47. โอกินาวะ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้ไขต้นฉบับ]
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อะเบะ กับประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางทูตกับเกือบทุกประเทศเอกราชในโลก และเป็นสมาชิกปัจจุบันของสหประชาชาติตั้งแต่เดือนธันวาคม 2499 ประเทศญี่ปุ่นเป็นสมาชิกจี 7, เอเปก และ "อาเซียนบวกสาม" และเข้าร่วมประชุมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงความมั่นคงกับประเทศออสเตรเลียในเดือนมีนาคม 2550[64] และกับประเทศอินเดียในเดือนตุลาคม 2551[65] เป็นผู้บริจาคความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการรายใหญ่สุดอันดับห้าของโลก โดยบริจาคเงิน 9.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557[66]
ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐ นับแต่สหรัฐและพันธมิตรพิชิตญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งสองประเทศธำรงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการกลาโหมอย่างใกล้ชิด สหรัฐเป็นตลาดสำคัญของสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นและเป็นแหล่งนำเข้าหลักของญี่ปุ่น และผูกมัดป้องกันประเทศญี่ปุ่น โดยมีฐานทัพในประเทศญี่ปุ่นบางส่วนด้วยเหตุนั้น[67]
ประเทศญี่ปุ่นต่อสู้การควบคุมหมู่เกาะคูริลใต้ (ได้แก่ กลุ่มอิโตะโระฟุ คุนะชิริ ชิโตะคัง และฮะโบะมะอิ) ของประเทศรัสเซีย ซึ่งสหภาพโซเวียตยึดครองในปี 2488 ประเทศญี่ปุ่นรับรู้การยืนยันของประเทศเกาหลีใต้เกี่ยวกับหินลีอังคอร์ท (หรือ "ทะเกะชิมะ" ในภาษาญี่ปุ่น) แต่ไม่ยอมรับ ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ตึงเครียดกับประเทศจีนและประเทศไต้หวันเหนือหมู่เกาะเซ็งกะกุ และกับประเทศจีนเหนือสถานภาพของโอะกิโนะโทะริชิมะ
กองทัพ[แก้ไขต้นฉบับ]กองทัพญี่ปุ่นถูกจำกัดสิทธิตามมาตรา 9 ของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น ซึ่งสละสิทธิของประเทศญี่ปุ่นในการประกาศสงครามและการใช้กำลังทหารในข้อพิพาทระหว่างประเทศ ฉะนั้น กองทัพญี่ปุ่นที่เรียก "กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น" นั้นจึงเป็นกองทัพที่ไม่เคยสู้รบนอกประเทศญี่ปุ่น[68] ประเทศญี่ปุ่นมีงบประมาณทางทหารสูงสุดประเทศหนึ่งในโลก[69] จัดเป็นประเทศเอเชียอันดับสูงสุดในดัชนีสันติภาพโลก[70] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปกครองกองทัพ และส่วนใหญ่ประกอบด้วยกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเป็นผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมทางทะเลริมแพ็ก (RIMPAC) เป็นประจำ[71] ล่าสุดมีการใช้กองทัพเพื่อปฏิบัติการรักษาสันติภาพ โดยการวางกำลังในประเทศอิรักเป็นการใช้กองทัพญี่ปุ่นนอกประเทศครั้งแรกนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[72] สหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการห้ามส่งอาวุธออกเพื่อให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้าร่วมโครงการนานาชาติอย่างเครื่องบินขับไล่จู่โจมร่วม (Joint Strike Fighter) ได้[73]
ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจโลกอย่างรวดเร็วร่วมกับโลกาภิวัตน์ สิ่งแวดล้อมความมั่นคงรอบประเทศญี่ปุ่นทวีความรุนแรงมากขึ้นอันสังเกตได้จากการพัฒนานิวเคลียร์และขีปนาวุธของประเทศเกาหลีเหนือ ภัยคุกคามข้ามชาติซึ่งมีเหตุจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมทั้งการก่อการร้ายระหว่างประเทศและการโจมตีไซเบอร์ก็เพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ
ประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางทหารใกล้ชิดกับสหรัฐ พันธมิตรความมั่นคงสหรัฐ–ญี่ปุ่นเป็นหลักหมุดของนโยบายการต่างประเทศของชาติ[75] นับแต่เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2499 ประเทศญี่ปุ่นเคยเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงเป็นเวลารวม 20 ปี วาระล่าสุดในปี 2552 และ 2553
ในเดือนพฤษภาคม 2557 นายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะกล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นต้องการสลัดการวางเฉยที่ธำรงมาตลอดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติและรับผิดชอบความมั่นคงในภูมิภาคมากขึ้น เขากล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นต้องการมีบทบาทสำคัญและเสนอความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น[76] ความตึงเครียดล่าสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศเกาหลีเหนือได้จุดชนวนการถกเถียงรอบใหม่เรื่องสถานภาพของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นและความสัมพันธ์กับสังคมญี่ปุ่น[77] แนวทางกองทัพญี่ปุ่นฉบับใหม่ที่มีประกาศในเดือนธันวาคม 2553 จะชี้นำกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นจากความสนใจสมัยสงครามเย็นต่ออดีตสหภาพโซเวียตสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทดินแดนเหนือหมู่เกาะเซ็งกะกุ[78]
เศรษฐกิจ[แก้ไขต้นฉบับ]
ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการทำงานที่ดีของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง[79] ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520 เฉลี่ยร้อยละ 10, 5 และ 4 ตามลำดับ[80] โดยได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และยังถูกซ้ำเติมจากผลกระทบของเศรษฐกิจชะลอตัวในปี พ.ศ. 2543 [81] สภาพเศรษฐกิจหลังจากปี พ.ศ. 2548 ดูเหมือนจะฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขการขยายตัวของจีดีพีที่สูงขึ้น แต่ญี่ปุ่นก็กลับประสบปัญหาอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก[82][83] แม้ว่าธุรกิจภาคการเงินของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะทศวรรษแห่งภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้ญี่ปุ่นระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น[84] แต่การที่ญี่ปุ่นพึ่งพาการส่งออกรถยนต์และสินค้าอิเลคโทรนิคมากเกินไปก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[85]
ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก[86] รองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อ (ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) [86] และอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อ[87] ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี[88]
จากข้อมูลใน พ.ศ. 2548 แรงงานของประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 66.7 ล้านคน[89] ญี่ปุ่นมีอัตราว่างงานที่ต่ำคือประมาณร้อยละ 4[89] ค่าจีดีพีต่อชั่วโมงการทำงานอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลกใน พ.ศ. 2548 และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย[90] บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่นหลายแห่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่นโตโยต้า โซนี่ เอ็นทีที โดโคโม แคนนอน ฮอนด้า ทาเคดานินเทนโด นิปปอน สตีล และ เซเว่น อีเลฟเว่น ญี่ปุ่นเป็นต้นกำเนิดของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดหลายแห่ง[91] ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักเพราะดัชนีนิเคอิมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเมื่อวัดด้วยมูลค่าตลาด[92]
ญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะในการทำธุรกิจหลายอย่าง เช่นเคเระสึหรือระบบเครือข่ายบริษัทจะมีอิทธิพลในเชิงธุรกิจ การจ้างงานตลอดชีวิตและการเลื่อนขั้นตามความอาวุโสจะพบเห็นได้ทั่วไป บริษัทที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจจะถือหุ้นของกันและกัน[93] ผู้ถือหุ้นมักจะไม่มีบทบาทกับการบริหารของบริษัท[94] แต่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงออกจากระบบเก่า ๆ เหล่านี้[95][94]
ใน พ.ศ. 2548 พื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีเพียงร้อยละ 12.6[96] และมีประชากรที่ประกอบการเกษตรเพียงร้อยละ 6.6[97]เท่านั้น ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ไหม กะหล่ำปลี ข้าว มัน และชา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารถึงร้อยละ 60 จึงเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงตนเองค่อนข้างต่ำ[98][99] ในระยะหลังกระแสความกังวลเรื่องความปลอดภัยของอาหารทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศเป็นที่ต้องการมากขึ้น
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้ไขต้นฉบับ]
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อิกะตะ
รถไฟชิงกันเซ็งหรือรถไฟหัวกระสุนซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีเดินทางที่แพร่หลายในญี่ปุ่นดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การคมนาคมในประเทศญี่ปุ่น
ใน พ.ศ. 2548 ร้อยละ 50 ของพลังงานที่ใช้ในญี่ปุ่นผลิตจากปิโตรเลียม ร้อยละ 20 จากถ่านหิน ร้อยละ 14 จากก๊าซธรรมชาติ[100] การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์มีปริมาณหนึ่งในสี่ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด[100] แต่หลังจากเกิดเหตุอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิชิ รัฐบาลญี่ปุ่นก็วางแผนที่จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในทศวรรษที่ 2570[101]
ญี่ปุ่นมีบริษัทรถไฟหลายแห่ง เช่นกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น รถไฟฮังคิว รถไฟเซบุ และบริษัทเคโอ ซึ่งแข่งขันกันด้านบริการในพื้นที่ต่าง ๆ ปัจจุบันที่รถไฟชิงกันเซ็งซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 มีเครือข่ายเชื่อมโยงเมืองหลักเกือบทั่วประเทศ รถไฟของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในเรื่องตรงต่อเวลา[102] ทางรถไฟญี่ปุ่น ระยะทางรวมทั้งสิ้น23,474 กิโลเมตรแบ่งเป็น ราง 1.435 เมตร สำหรับวิ่งรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟใต้ดินหลายเมือง ระยะทาง 2,664 กม รางรถไฟ 1.067 เมตร สำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองรถไฟทางใกล ระยะทาง 22,445 กม. ทางด่วนแห่งชาติ ของประเทศญี่ปุ่นมีระยะทางทั้งสิ้น 11,520 กิโลเมตร การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นที่นิยมและมีสนามบิน 173 แห่งทั่วประเทศ สนามบินฮาเนดะที่ส่วนใหญ่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นสนามบินที่หนาแน่นที่สุดในเอเชีย[103] สนามบินนานาชาติที่สำคัญได้แก่สนามบินนาริตะ สนามบินคันไซ และสนามบินนานาชาตินาโงยา แต่การก่อสร้างสนามบินบางแห่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้งบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อประโยชน์ใช้สอยจริง[104] สนามบินบางแห่งขาดทุนมาตลอดตั้งแต่เปิดทำการ[105]
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[แก้ไขต้นฉบับ]
หุ่นยนต์อาซิโมของฮอนด้า
โมดูลคิโบขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก[106] ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับ 3 ของโลก[107]ตัวอย่างของผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหวที่สร้างขึ้นมาเพื่ออยู่รอด สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุด เป็นอันดับ 3 ของ โลก[108] เป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด
ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฮบริด ซึ่งได้เทคโนโลยีมาจากเยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา[109] ของฮอนด้าและโตโยต้าเป็นที่ยอมรับว่าประหยัดพลังงานมากที่สุดและปล่อยควันเสียได้น้อย[110][111] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามของเทคโนโลยีระบบไฮบริด เชื้อเพลิง ญี่ปุ่นมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก[112]
องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติและโมดูลคิโบ มีกำหนดที่จะส่งขึ้นไปเพื่อต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในการขนด้วยกระสวยอวกาศใน พ.ศ. 2552[113]
ประชากร[แก้ไขต้นฉบับ]
แยกชิบุยะถนนที่มีผู้สัญจรมากที่สุดในโตเกียวจากการสำรวจในวันที่ 1 สิงหาคม 2012 ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 127,692,273 คน[114] ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมที่เหมือนกัน โดยมีชาวต่างชาติ เช่นชาวเกาหลี จีน บราซิล ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และชาติอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่[115] เชื้อชาติส่วนใหญ่คือเชื้อสายชาวยะมะโตะ และมีชนกลุ่มน้อยเช่นชาวไอนุและชาวรีวกีว รวมทั้งชนกลุ่มน้อยทางสังคมที่เรียกว่าบุระกุ[116]
ประชากรญี่ปุ่นมีอายุคาดหมายเฉลี่ยประมาณ 82.07 ปี จึงนับเป็นประเทศที่มีประชากรอายุยืนยาวที่สุดประเทศหนึ่งในโลก[117] โครงสร้างประชากรของญี่ปุ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเด็กที่เกิดมาในยุคเบบีบูมหลังสงครามโลกเริ่มเข้าสู่วัยชรา ในขณะที่อัตราการเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2532 มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ [118] จึงทำให้จำนวนประชากรค่อย ๆ ลดลง (มีการประมาณว่าจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25)[118] ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ในปี พ.ศ. 2550) ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีมากถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด)[119] การที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่าง เช่นปัญหาแรงงานที่ลดลง และภาระเงินบำนาญของคนหนุ่มสาวเพิ่มมากขึ้น[120]
ข้อตกลงในการใช้ บริการทำวีซ่า กับ NYC Visa&Translation Service ทางบริษัท NYC Visa&Translation Service ขอแจ้งข้อตกลงการใช้ บริการทำวีซ่า ของ NYC Visa&Translation Service กับลูกค้าทุกท่าน เพื่อให้การตกลงซื้อขายบริการใด ๆ จาก
บริษัทฯ เป็นไปโดยสมบูรณ์ กรุณาดำเนินการดังต่อไปนี้
บริษัทฯ เป็นไปโดยสมบูรณ์ กรุณาดำเนินการดังต่อไปนี้
- เตรียมเอกสารประกอบการยื่นวีซ่า ให้ครบถ้วนตามที่พนักงานแจ้งให้ท่านทราบ
- ระยะเวลาการยื่นวีซ่า จะเริ่มนับจากทางบริษัทได้รับเอกสารจากลูกค้าครบถ้วน
- หากมีการปลอมแปลงเอกสารใดๆ หรือ บิดเบือนข้อความในเอกสาร ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ไม่รับผิดชอบทุกกรณี
- หากลูกค้าไม่ผ่านพิจารณาวีซ่าจากสถานทูต ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ไม่รับผิดชอบทุกกรณี เนื่องจากการพิจารณาเป็นดุลยพินิจของสถานทูตเป็นที่สิ้นสุด
- โปรดตรวจสอบ อายุการใช้งานของหนังสือเดินทาง ( Passport) ของผู้โดยสาร และผู้ร่วมเดินทางทุกท่าน ว่าจะต้องคงมีอายุเหลือ ณ วันเดินทาง มากกว่า 6 เดือน ขึ้นไป
- กรณีที่ ท่านไม่ได้ทำการทักท้วงใด ๆ ในลักษณะลายลักษณ์อักษร บริษัทฯ ถือว่าท่านได้รับทราบเงื่อนไขและข้อกำหนดทั้งหมด ของบริษัทฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยหากเกิดความเสียหายใดๆ บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับผิดชอบทุกกรณี
- หากท่านมีข้อสงสัยใดๆ กรุณาสอบถามพนักงาน " แผนกกรุ๊ปเหมา และ วีซ่า ที่ท่านติดต่อได้ตลอดเวลาทำการของบริษัทฯ
- ระหว่างเวลา 09:00 - 18.00 น ในวันจันทร์ - ศุกร์ ได้ทางโทรศัพท์ 083-2494999
- การดำเนินการขอวีซ่า Visa บริษัทมีหน้าที่ดูแลเอกสาร และดำเนินการเกี่ยวกับยื่นเอกสารให้กับสถานทูตเพื่อพิจารณาวีซ่า Visa แต่ผลการพิจารณาวีซ่า Visa ขึ้นอยู่กับสถานทูตของแต่ละประเทศเท่านั้น
- กรณีลูกค้าที่ดำเนินการยื่นวีซ่า Visa แล้ว แต่หากสถานทูตปฏิเสธวีซ่าลูกค้า (วีซ่าไม่ผ่าน) ลูกค้าจะต้องชำระค่าธรรมเนียมของสถานทูตเองในครั้งต่อไปเอง เนื่องจากการพิจารณาให้วีซ่านั้น เป็นดุลยพินิจของสถานทูต
- กรณีลูกค้าชำระค่าธรรมเนียม และ ค่าบริการยื่นวีซ่า แล้ว จะไม่สามารถขอคืนเงินจากบริษัทไม่ว่ากรณีใด ๆ
รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น , ให้คำปรึกษาวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าทำงานประเทญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับยื่นวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับทำวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับปรึกษาวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น , ให้คำปรึกษาวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, ให้คำปรึกษาวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, แนะนำวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับกรอกแบบฟอร์มวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าทำงานประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่านักเรียนประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าคู่มั่นประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าแต่งงานประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าถาวรประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าติดตามประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าธุรกิจประเทศญี่ปุ่น, รับจัดเตรียมเอกสารขอวีซ่าดูงานประเทศญี่ปุ่น, ติดต่อขอใช้บริการ สาขาในกรุงเทพมหานคร แขวงขุมทอง แขวงจตุจักร แขวงจอมพล แขวงจันทรเกษม แขวงลาดยาว แขวงเสนานิคม เขตจอมทอง แขวงจอมทอง แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงบางมด เขตดอนเมือง แขวงสีกัน เขตดินแดง แขวงดินแดง เขตดุสิต แขวงดุสิต แขวงถนนนครไชยศรี แขวงวชิรพยาบาล แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตตลิ่งชัน แขวงคลองชักพระ แขวงฉิมพลี แขวงตลิ่งชัน แขวงบางเชือกหนัง แขวงบางพรม แขวงบางระมาด แขวงทวีวัฒนา แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทุ่งครุ แขวงทุ่งครุ แขวงบางมด เขตธนบุรี แขวงดาวคะนอง แขวงตลาดพลู แขวงบางยี่เรือ แขวงบุคคโล แขวงวัดกัลยาณ์บูรณะ แขวงบางปะกอก แขวงราษฎร์บูรณะ เขตลาดกระบังแขวงยานนาวา เขตสายไหม แขวงคลองถนน แขวงสายไหม แขวงออเงิน เขตหนองแขม แขวงหนองแขม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองจอก แขวงกระทุ่มราย แขวงคลองสิบ แขวงคลองสิบสอง แขวงคู้ฝั่งเหนือ แขวงโคกแฝด แขวงลำต้อยติ่ง แขวงลำผักชี แขวงหนองจอก เขตหลักสี่ แขวงตลาดบางเขน แขวงทุ่งสองห้อง เขตห้วยขวาง แขวงบางกะปิ แขวงสามเสนนอก แขวงสำเหร่ แขวงหิรัญรูจี เขตบางเขน แขวงท่าแร้ง แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางแค แขวงบางแค แขวงบางแคเหนือ แขวงบางไผ่ แขวงหลักสอง เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดท่าพระ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกน้อย แขวงบางขุนนนท์ แขวงบางขุนศรี แขวงบ้านช่างหล่อ แขวงศิริราช แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกะปิ แขวงคลองจั่น แขวงหัวหมาก เขตบางขุนเทียน แขวงท่าข้าม แขวงแสมดำ เขตบางคอแหลม แขวงบางโคล่ แขวงบางคอแหลม แขวงวัดพระยาไกร เขตบางซื่อ แขวงบางซื่อ เขตบางนา แขวงบางนา เขตบางบอน แขวงบางบอน เขตบางพลัด แขวงบางบำหรุ แขวงบางพลัด แขวงบางยี่ขัน แขวงบางอ้อ เขตบางรัก แขวงบางรัก แขวงมหาพฤฒาราม แขวงสี่พระยา แขวงสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบึงกุ่ม แขวงคลองกุ่ม เขตปทุมวัน แขวงปทุมวัน แขวงรองเมือง แขวงลุมพินี แขวงวังใหม่ เขตประเวศ แขวงดอกไม้ แขวงประเวศ แขวงหนองบอน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงคลองมหานาค แขวงบ้านบาตร แขวงป้อมปราบ แขวงวัดเทพศิรินทร์ แขวงวัดโสมนัส เขตพญาไท แขวงสามเสนใน เขตพระโขนง แขวงบางจาก เขตพระนคร แขวงชนะสงคราม แขวงตลาดยอดแขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองสามประเวศ แขวงทับยาว แขวงลาดกระบัง แขวงลำปลาทิว เขตลาดพร้าว แขวงจรเข้บัว แขวงลาดพร้าว เขตวังทองหลาง แขวงวังทองหลาง เขตวัฒนา แขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ แขวงพระโขนงเหนือ เขตสวนหลวง แขวงสวนหลวง เขตสะพานสูง แขวงสะพานสูง เขตสัมพันธวงศ์ แขวงจักรวรรดิ แขวงตลาดน้อย แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสาทร แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน แถว เขตคลองเตย แขวงคลองเตย แขวงคลองตัน แขวงพระโขนง เขตคลองสาน แขวงคลองต้นไทร แขวงคลองสาน แขวงบางลำพูล่าง แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสามวา แขวงทรายกองดิน แขวงทรายกองดินใต้ แขวงบางชัน แขวงสามวาตะวันตก แขวงสามวาตะวันออก เขตคันนายาว แขวงคันนายาว เขตจตุจักร แขวงบวรนิเวศ แขวงบางขุนพรหม แขวงบ้านพานถม แขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงวังบูรพาภิรมย์ แขวงวัดราชบพิธ แขวงวัดสามพระยา แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงสำราญราษฎร์ แขวงเสาชิงช้า เขตภาษีเจริญ แขวงคลองขวาง แขวงคูหาสวรรค์ แขวงบางจาก แขวงบางด้วน แขวงบางแวก แขวงบางหว้า แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตมีนบุรี แขวงมีนบุรี แขวงแสนแสบ เขตยานนาวา แขวงช่องนนทรี แขวงบางโพงพาง เขตราชเทวี แขวงถนนเพชรบุรี แขวงถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท แขวงมักกะสัน เขตราษฎร์ แขวงห้วยขวาง สาขาในจังหวัดอ่างทอง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครราชสีมา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดบึงกาฬ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดบุรีรัมย์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดพัทลุง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดภูเก็ต โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดระนอง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสตูล โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสงขลา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดชลบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดตราด โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดปราญี่ปุ่นบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดระยอง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสระแก้ว โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดกาญจนบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอุบลราชธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอำนาจเจริญ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดกำแพงเพชร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอุทัยธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดสมุทรสาคร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสิงห์บุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสกลนคร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสุรินทร์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดศรีสะเกษ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดหนองคาย โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครนายก โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครปฐม โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครสวรรค์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเชียงราย โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเชียงใหม่ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดน่าน โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพะเยา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดลำปาง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดลำพูน โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดกาฬสินธุ์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดขอนแก่น โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดตาก โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดมหาสารคาม โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดแพร่ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสมุทรสงคราม โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดยะลา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนนทบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดปทุมธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพิจิตร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดชุมพร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดตรัง โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครศรีธรรมราช โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนราธิวาส โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดปัตตานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพังงา โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดร้อยเอ็ด โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเลย โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดนครพนม โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดชัยนาท โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดพิษณุโลก โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเพชรบูรณ์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดลพบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสมุทรปราการ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดหนองบัวลำภู โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดอุดรธานี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดมุกดาหาร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดยโสธร โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดชัยภูมิ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดจันทบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,สาขาในจังหวัดสุโขทัย โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสุพรรณบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดสระบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดเพชรบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดราชบุรี โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168, สาขาในจังหวัดกระบี่ โทร.083-2494999 Line ID : @NYC168,
NYC Visa & Translation Service
"มืออาชีพด้านการแปล และบริการวีซ่า ที่คุณไว้วางใจได้"
เว็บไซต์ของเรา
© 2024 NYC Visa & Translation Service. All rights reserved.
ขอขอบคุณลูกค้าที่ไว้วางใจเลือกใช้บริการกับเรา
NYC Visa & Translation Service
32 ซอยอ่อนนุช 52, แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง
กรุงเทพมหานคร 10250
กรุงเทพมหานคร 10250
บริการแปลเอกสาร
- บริการแปลทุกภาษาทั่วโลก โดยทีมงานมืออาชีพเจ้าของภาษา
- บริการแปลเอกสารราชการ โดยผู้เชี่ยวชาญ
- บริการแปลเอกสารพร้อมรับรองกงสุล
- บริการแปลและรับรองเอกสารโดยนักแปล NAATI
บริการวีซ่า
- บริการให้คำปรึกษาวีซ่าทุกประเภท
- รับยื่นวีซ่า และแก้ไขวีซ่าไม่ผ่าน
- บริการทำ APEC Business Travel Card
- บริการวีซ่าประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ
บริการอื่นๆ
- บริการล่ามแปลภาษา
- บริการรับรองเอกสารโดย Notary Public
- บริการจองตั๋วเครื่องบิน
- บริการประกันการเดินทาง
ช่องทางการติดต่อ
Call Center: 083-2494999
Line ID: @NYC168
Email: [email protected] (แผนกวีซ่า)
Email: [email protected] (แผนกแปลเอกสาร)
Website: www.nycvisa-translation.com, www.nycvisa.org
เครือข่ายสาขาทั่วประเทศ
▼สำนักงานใหญ่ขอนแก่น
46/1-2 หมู่ 2 ถนนฉิมพลี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
สาขาลำปาง
Travel Max ลำปาง ตลาดอัศวิน อำเภอเมืองลำปาง ลำปาง 52100
สาขาเชียงใหม่
123/4 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
สาขาเชียงราย
555/1 ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
สาขาลำพูน
100/1 ถนนพหลโยธิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 51000
สาขาแม่ฮ่องสอน
123/4 ถนนเจริญเมือง ตำบลเมือง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000
สาขาน่าน
555/1 ถนนพหลโยธิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000
สาขาพะเยา
100/1 ถนนพหลโยธิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
สาขาแพร่
10/1 ถนนพหลโยธิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
สาขาอุตรดิตถ์
123/4 ถนนพหลโยธิน ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
สาขาตาก
555/1 ถนนพหลโยธิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก 63000
สาขาสุโขทัย
100/1 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64000
สาขาพิษณุโลก
89/2 ถนนพุทธบูชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
สาขาพิจิตร
ร้านกระต่ายโฟน 39/70, ถนนสระหลวง, ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 66000
สาขากำแพงเพชร
77/5 ถนนเจริญสุข ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62000
สาขาเพชรบูรณ์
44/8 ถนนสามัคคีชัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
สาขาหนองคาย (1)
iLC (International Language Center)Co., Ltd. 161 หมู่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000
สาขาหนองคาย (2)
NYC Translation Co., Ltd. 250 หมู่ 2 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000
สาขาอุดรธานี
New Star Travel ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี อุดรธานี 41000
สาขาอุบลราชธานี
ยิ้มๆยิ้มทัวร์ 142 11 ถ. อุบล - ตระการ ในเมือง เมือง อุบลราชธานี 34000
สาขาร้อยเอ็ด
T.N. Travel 19/2 ถ.สันติสุข ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000
สาขานครราชสีมา
123/4 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา 30000
สาขาบุรีรัมย์
555/1 ถนนรัตนโกสินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ 31000
สาขาสุรินทร์
100/1 ถนนศรีณรงค์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ 32000
สาขาศรีสะเกษ
10/1 ถนนสรรพสิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ 33000
สาขายโสธร
555/1 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร 35000
สาขากาฬสินธุ์
10/1 ถนนพหลโยธิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ 46000
สาขามหาสารคาม
123/4 ถนนนครสวรรค์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองมหาสารคาม 44000
สาขามุกดาหาร
555/1 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองมุกดาหาร 49000
สาขาสกลนคร
100/1 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสกลนคร 47000
สาขานครพนม
10/1 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม 48000
สาขาเลย
123/4 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเลย 42000
สาขาหนองบัวลำภู
555/1 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองบัวลำภู 39000
สาขาบึงกาฬ
123/4 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบึงกาฬ 38000
สาขาชัยภูมิ
10/1 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ 36000
สาขาพระนคร
123/4 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร 10200
สาขาดุสิต
555/1 ถนนศรีอยุธยา แขวงดุสิต เขตดุสิต 10300
สาขาป้อมปราบศัตรูพ่าย
89/1 ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 10100
สาขาบางรัก
78/4 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก 10500
สาขาสัมพันธวงศ์
25/2 ซอยเจริญกรุง 1 แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ 10100
สาขาปทุมวัน
123/4 ถนนเพชรบุรี แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน 10330
สาขาพญาไท
55/1 ถนนพญาไท แขวงพญาไท เขตพญาไท 10400
สาขาราชเทวี
10/1 ซอยราชเทวี 1 แขวงราชเทวี เขตราชเทวี 10400
สาขาจตุจักร
99/9 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร 10900
สาขาดินแดง
10/1 ซอยดินแดง 1 แขวงดินแดง เขตดินแดง 10400
สาขาห้วยขวาง
555/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง 10310
สาขาพระโขนง
10/1 ซอยสุขุมวิท 62 แขวงพระโขนง เขตพระโขนง 10260
สาขาคลองเตย
10/1 ซอยสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย 10110
สาขาประเวศ
88/7 ถนนอ่อนนุช แขวงประเวศ เขตประเวศ 10250
สาขาบางนา
100/1 หมู่บ้านบางนา ซอยบางนา-ตราด 1 แขวงบางนา เขตบางนา 10260
สาขาบางกะปิ
123/4 หมู่บ้านบางกะปิ ซอยบางกะปิ 1 แขวงบางกะปิ เขตบางกะปิ 10240
สาขาลาดพร้าว
555/1 ถนนลาดพร้าว แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว 10230
สาขาบึงกุ่ม
100/1 หมู่บ้านบึงกุ่ม ซอยบึงกุ่ม 1 แขวงบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม 10240
สาขาบางเขน
123/1 หมู่บ้านเสนานิคม ซอยเสนานิคม 1 แขวงเสนานิคม เขตบางเขน 10220
สาขาสะพานสูง
123/4 หมู่บ้านสะพานสูง ซอยสะพานสูง 1 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง 10240
สาขาวังทองหลาง
100/1 หมู่บ้านวังทองหลาง ซอยวังทองหลาง 1 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง 10310
สาขาคันนายาว
555/1 หมู่บ้านคันนายาว ซอยคันนายาว 1 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว 10230
สาขาธนบุรี
10/1 ซอยเจริญนคร 1 แขวงบางกอกน้อย เขตธนบุรี 10600
สาขาคลองสาน
100/1 หมู่บ้านคลองสาน ซอยคลองสาน 1 แขวงคลองสาน เขตคลองสาน 10600
สาขาบางกอกใหญ่
25/2 ซอยเจริญนคร 12 แขวงบางกอกใหญ่ เขตบางกอกใหญ่ 10600
สาขาบางกอกน้อย
10/1 ซอยเจริญนคร 1 แขวงบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย 10700
สาขาตลิ่งชัน
88/7 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน 10170
สาขาบางพลัด
25/2 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 1 แขวงบางพลัด เขตบางพลัด 10700
สาขาจอมทอง
199/2 ถนนเอกชัย แขวงจอมทอง เขตจอมทอง 10150
สาขาทวีวัฒนา
555/1 หมู่บ้านทวีวัฒนา ซอยทวีวัฒนา 1 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา 10170
สาขาภาษีเจริญ
77/5 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ 10160
สาขาบางแค
100/1 หมู่บ้านบางแค ซอยบางแค 1 แขวงบางแค เขตบางแค 10160
สาขาหนองแขม
100/1 หมู่บ้านหนองแขม ซอยหนองแขม 1 แขวงหนองแขม เขตหนองแขม 10160
สาขาบางขุนเทียน
555/1 หมู่บ้านบางขุนเทียน ซอยบางขุนเทียน 1 แขวงบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน 10150
สาขาบางบอน
66/8 ถนนบางบอน 1 แขวงบางบอน เขตบางบอน 10150
สาขาดอนเมือง
88/7 ถนนสรงประภา แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง 10210
สาขาสายไหม
100/1 หมู่บ้านสายไหม ซอยสายไหม 1 แขวงสายไหม เขตสายไหม 10220
สาขาคลองสามวา
123/4 หมู่บ้านคลองสามวา แขวงคลองสามวา เขตคลองสามวา 10510
สาขาหนองจอก
100/1 หมู่บ้านหนองจอก ซอยหนองจอก 1 แขวงหนองจอก เขตหนองจอก 10530
สาขาลาดกระบัง
123/4 หมู่บ้านลาดกระบัง ซอยลาดกระบัง 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง 10520
สาขาประเวศ
88/7 ถนนอ่อนนุช แขวงประเวศ เขตประเวศ 10250
สาขายานนาวา
100/1 หมู่บ้านยานนาวา ซอยยานนาวา 1 แขวงยานนาวา เขตยานนาวา 10120
สาขาสาทร
10/1 ซอยสาทร 1 แขวงยานนาวา เขตสาทร 10120
สาขาบางคอแหลม
10/1 ซอยเจริญกรุง 43 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม 10120
สาขาราษฎร์บูรณะ
123/4 หมู่บ้านราษฎร์บูรณะ ซอยราษฎร์บูรณะ 1 แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ 10140
สาขาทุ่งครุ
100/1 หมู่บ้านทุ่งครุ ซอยทุ่งครุ 1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ 10140
สาขาปทุมธานี
123/4 ถนนรังสิต-ปทุมธานี ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
สาขานนทบุรี
10/1 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
สาขาสมุทรปราการ
100/1 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10280
สาขาสมุทรสาคร
10/1 ถนนพระราม 2 ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
สาขาสมุทรสงคราม
123/4 ถนนเพชรเกษม ตำบลเมืองสมุทรสงคราม อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
สาขานครปฐม
100/1 ถนนเพชรเกษม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
สาขาถนนสีลม
87/123 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 5 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
สาขาเซ็นทรัลเวิลด์
999/9 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 4 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
สาขาเอ็มควอเทียร์
689 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ชั้น 5 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
สาขาสยามพารากอน
991/1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 4 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
สาขาเทอร์มินอล 21
88 ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ชั้น 3 ซอยสุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
สาขาพระนครศรีอยุธยา
99/9 ถนนโรจนะ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
สาขาลพบุรี
88/8 ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
สาขาสิงห์บุรี
168/8 ถนนธรรมโชติ ตำบลบางพุทรา อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16000
สาขาชัยนาท
235/5 ถนนพรหมประเสริฐ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 17000
สาขาสระบุรี
165/22 ถนนสุดบรรทัด ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000
สาขาชลบุรี
279/58 ถนนสุขุมวิท ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
สาขาระยอง
144/59 ถนนสุขุมวิท ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21000
สาขาจันทบุรี
87/99 ถนนตรีรัตน์ ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 22000
สาขาตราด
90/115 ถนนสุขุมวิท ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด 23000
สาขาฉะเชิงเทรา
111/78 ถนนศุขประยูร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
สาขาปราจีนบุรี
125/88 ถนนราษฎรดำริ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25000
สาขานครนายก
148/55 ถนนสุวรรณศร ตำบลนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000
สาขาสระแก้ว
352/41 ถนนสุวรรณศร ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000
สาขาภูเก็ต
83/47 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
สาขาสุราษฎร์ธานี
209/88 ถนนชนเกษม ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
สาขานครศรีธรรมราช
89/122 ถนนพัฒนาการคูขวาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
สาขาสงขลา
155/78 ถนนราชดำเนิน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
สาขาตรัง
69/45 ถนนห้วยยอด ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000
สาขาพัทลุง
122/89 ถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 93000
สาขาปัตตานี
166/45 ถนนหนองจิก ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
สาขายะลา
95/88 ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
สาขานราธิวาส
178/92 ถนนพิชิตบำรุง ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส 96000
สาขาระนอง
123/77 ถนนท่าเมือง ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000
สาขาชุมพร
111/89 ถนนกรมหลวง ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000
สาขากระบี่
88/96 ถนนมหาราช ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 81000
สาขาพังงา
145/67 ถนนเพชรเกษม ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา 82000
สาขาสตูล
199/88 ถนนสตูลธานี ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล 91000
สาขาถนนสีลม
87/123 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 5 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
สาขาเซ็นทรัลเวิลด์
999/9 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 4 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
สาขาเอ็มควอเทียร์
689 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ชั้น 5 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
สาขาสยามพารากอน
991/1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 4 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
สาขาเทอร์มินอล 21
88 ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ชั้น 3 ซอยสุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
สาขาเชียงราย - เซ็นทรัลพลาซา
99/9 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงราย ชั้น 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000
สาขาอุดรธานี - UD Town
88/8 ศูนย์การค้า UD Town ชั้น 2 ถนนทองใหญ่ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
สาขาขอนแก่น - เซ็นทรัลพลาซา
99/9 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ชั้น 2 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
สาขาอุบลราชธานี - เซ็นทรัลพลาซา
311 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี ชั้น 2 ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
สาขาพัทยา - เซ็นทรัลเฟสติวัล
333/99 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช ชั้น 3 หมู่ 9 ถนนพัทยาสาย 2 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
สาขาแม่สอด
222/2 ถนนอินทรคีรี ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
สาขาหัวหิน - มาร์เก็ตวิลเลจ
234/1 ศูนย์การค้าหัวหิน มาร์เก็ตวิลเลจ ชั้น 2 ถนนเพชรเกษม ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110
สาขานครสวรรค์ - บิ๊กซี
320/10 ศูนย์การค้าบิ๊กซี นครสวรรค์ ชั้น 1 ถนนสวรรค์วิถี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
สาขาสมุย - เซ็นทรัลวิลเลจ
209/1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลวิลเลจ เกาะสมุย ชั้น 1 หมู่ 2 ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84320
สาขาเชียงใหม่ - มายา
55/5 ศูนย์การค้ามายา ชั้น 2 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
สาขาเชียงใหม่ - นิมมาน
1 วัน นิมมาน ชั้น 2 ซอยนิมมานเหมินท์ 1 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
สาขาหาดใหญ่ - เซ็นทรัลเฟสติวัล
1518 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ชั้น 3 ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
สาขาอยุธยา - อยุธยาซิตี้พาร์ค
126 ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค ชั้น 2 ถนนโรจนะ ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
สาขาระยอง - พาสซิโอ
888/1 ศูนย์การค้าพาสซิโอ พาร์ค ชั้น 2 ถนนสุขุมวิท ตำบลเนินพระ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000
สาขาเกาะช้าง
99/9 หมู่ 4 ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 23170
สาขาเกาะพีพี
125 หมู่ 7 ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000
สาขาเกาะพงัน
155/15 หมู่ 1 ตำบลเกาะพงัน อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84280
สาขาเชียงราย - เมืองเก่า
222/2 ถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000
สาขาเขาหลัก
88/8 หมู่ 5 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82220
สาขาเชียงคาน
199 หมู่ 1 ถนนชายโขง ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 42110
สาขาปาย
99/9 หมู่ 3 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58130
สาขาบางนา - เมกาบางนา
39 ศูนย์การค้าเมกาบางนา ชั้น 3 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
สาขารังสิต - ฟิวเจอร์พาร์ค
94 ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ชั้น 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130
สาขานวนคร
98/49 นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
สาขานิคมอมตะนคร
700/75 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร หมู่ 1 ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
สาขาแหลมฉบัง
89/10 ถนนสุขุมวิท ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
สาขานิคมมาบตาพุด
168/88 ถนนสุขุมวิท ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21150
สาขาบ่อวิน
299/89 หมู่ 6 ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
สาขาลาดกระบัง - ลำลูกกา
999/99 ซอยลาดกระบัง 20 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
สาขาบางพลี - บางบ่อ
222/29 หมู่ 1 ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10570
สาขาสำโรง - เคหะ
999/1 ซอยสุขุมวิท 64 ตำบลบางนา อำเภอบางนา จังหวัดสมุทรปราการ 10260
สาขาบางปู
888/199 หมู่ 1 นิคมอุตสาหกรรมบางปู ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10280
สาขาโรจนะ
144/98 หมู่ 4 นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ตำบลอุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13210
สาขาลำพูน - บ้านกลาง
168/88 นิคมอุตสาหกรรมลำพูน ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
สาขาเขาใหญ่
222/99 ถนนธนะรัชต์ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130
สาขาเชียงราย - แม่สาย
959/9 หมู่ 1 ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 57130
สาขามุกดาหาร - สะพานมิตรภาพ
789/2 ถนนชยางกูร ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร 49000
สาขาหนองคาย - สะพานมิตรภาพ
369/99 หมู่ 10 ถนนมิตรภาพ ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 43000
สาขานครพนม - สะพานมิตรภาพ
459/1 ถนนนครพนม-ท่าอุเทน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000
สาขาปราณบุรี
888/88 ถนนเพชรเกษม ตำบลเขาน้อย อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77120
สาขากบินทร์บุรี
147/7 ถนนทางหลวง 304 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25110
สาขาแกลง
99/9 ถนนสุขุมวิท ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 21110
สาขาเกาะสีชัง
99/8 หมู่ 5 ตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี 20120
สาขาเกาะล้าน
89/7 หมู่ 7 ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
สาขาเกาะเสม็ด
99/99 หมู่ 4 ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21160
สาขาเขาค้อ
88/8 หมู่ 5 ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67280
สาขาวังน้ำเขียว
199/2 หมู่ 1 ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา 30370
สาขาเชียงของ
888/1 หมู่ 8 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 57140
สาขาน้ำโจน - อุ้มผาง
123/4 หมู่ 1 ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก 63170
สาขาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
99/9 หมู่ 8 ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี 15140
สาขาเขาใหญ่ - ปากช่อง
299/2 ถนนมิตรภาพ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130
สาขาดอยอินทนนท์
777/7 หมู่ 7 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160
สาขาเชียงแสน
999/9 หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 57150
สาขาสังขละบุรี
88/88 หมู่ 3 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71240
สาขาเกาะกูด
55/5 หมู่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด 23000
สาขาเกาะหมาก
111/1 หมู่ 1 ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด 23000
สาขาพิษณุโลก - สนามบิน
99/99 หมู่ 4 ตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
สาขาสุโขทัย - อุทยานประวัติศาสตร์
123/45 หมู่ 3 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 64000
สาขากำแพงเพชร - อุทยานประวัติศาสตร์
88/12 ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000
สาขาพิมาย - อุทยานประวัติศาสตร์
333/9 ถนนท่าสงกรานต์ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110
สาขาพนมรุ้ง - อุทยานประวัติศาสตร์
199/2 ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 31110
สาขาลพบุรี - พระนารายณ์
111/8 ถนนพระยาพหล ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000
สาขาเพชรบุรี - พระนครคีรี
89/7 ถนนราชวิถี ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000
สาขาราชบุรี - โพธาราม
299/1 ถนนโพธาราม-บ้านเลือก ตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
สาขาประจวบคีรีขันธ์ - เมืองเก่า
55/9 ถนนสู้ศึก ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
สาขาสุพรรณบุรี - อู่ทอง
456/7 ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72160
สาขาน่าน - พระธาตุแช่แห้ง
99/9 ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000
สาขาแพร่ - เมืองเก่า
159/3 ถนนคุ้มเดิม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
สาขาลำปาง - พระธาตุลำปางหลวง
889/1 ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 52130
NYC Visa Translation
nycvisa-translation.com
Global Translation
globaltranslation.online
Translaingo
translaingo.ltd
iTranslation
itranslation.me
NYC Visa
nycvisa.org
Number1 Visa
number1visaservice.com
NYC Language
nyclanguageinstitute.com
Notary Public
notarypublic.ltd
NAATI
naati.me
NAATI Services
naati.site
NAATI Thailand
naatithailand.com
Notary Blog
notarypublic.blog
Notary Thailand
notarypublicthailand.ltd
แปลภาษา
แปลภาษา.online
ตรวจประวัติอาชญากรรม
ตรวจประวัติอาชญากรรม.online
ILC
ilc.ltd
IVC
ivc.ltd
NYC School
nyc-school.com
ILC Thailand
ilcthailand.com
Number1 Translator
number1translator.com
NYC Translation
nyctranslation.online
Global Visa
globalvisa.ltd
NYC Visa
nycvisa.ltd
ABB Notary Public
abbnotarypublic.com
NAATI Blog
naati.blog
สถาบันภาษา NYC
สถาบันภาษาเอ็นวายซี.com
Number1 Visa
number1visa.com
NAATI LTD
naati.ltd
Translingo
translingo.online
Notary Public Blog
notarypublic.blog
ตรวจประวัติ
ตรวจประวัติ.online
Translingo LTD
translingo.ltd
ตรวจประวัติอาชญากร
ตรวจประวัติอาชญากร.online
ตรวจประวัติ
ตรวจประวัติ.online
สถาบันภาษาเอ็นวายซี
สถาบันภาษาเอ็นวายซี.online
Contact
บริษัท เอ็นวายซีวีซ่าแอนด์ทรานสเลชั่น จำกัด
NYC Visa & Translation Co., Ltd.
เปิดทำการ วันจันทร์-เสาร์ เวลา 09:00-18:00